Loading AI tools
บริษัทสิ่งพิมพ์ในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Amarin Corporations Public Company Limited) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อมรินทร์ (AMARIN) เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ที่ประกอบธุรกิจรับจ้างพิมพ์งานสิ่งพิมพ์สอดสีให้แก่บริษัท ห้างร้าน หน่วยราชการ และสถาบันเอกชนต่าง ๆ ในรูปของหนังสือ แผ่นพับ แคตตาลอค ปฏิทิน โฟลเดอร์ โปสการ์ด
ประเภท | บริษัทมหาชนจำกัด |
---|---|
การซื้อขาย | SET:AMARIN |
อุตสาหกรรม |
|
ก่อนหน้า | ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ |
ก่อตั้ง | 29 กันยายน พ.ศ. 2519 |
สำนักงานใหญ่ | 378 ถนนชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน, , |
จำนวนที่ตั้ง | 7 |
พื้นที่ให้บริการ | ไทย |
บุคลากรหลัก |
|
ผลิตภัณฑ์ | |
สินทรัพย์ |
|
เจ้าของ | บริษัท อเดลฟอส จำกัด ถือหุ้นทางอ่อมรวม 904,368,591หุ้น หรือคิดเป็น 90.59% ผ่าน 3 บริษัทลูก 1 บริษัท วัฒนภักดี จำกัด ถือหุ้นอยู่ 602,427,400 หรือคิดเป็น 60.35% 2 บริษัท สิริวัฒนภักดี จำกัด ถือหุ้นอยู่ 163,554,139 หรือคิดเป็น 16.38% 3 บริษัท สิริภักดีธรรม จำกัด ถือหุ้นอยู่ 138,387,052 หรือคิดเป็น 13.86% |
เว็บไซต์ | amarin |
บริษัทก่อตั้งโดยชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ในชื่อ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วารสารบ้านและสวน เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2519 เพื่อผลิตนิตยสาร "บ้านและสวน" ก่อนก่อตั้งโรงพิมพ์ของตนเองขึ้นในชื่อ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อมรินทร์การพิมพ์ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2520 จากนั้นยกระดับเป็นบริษัทจำกัดในชื่อ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2530 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในชื่อย่อหลักทรัพย์ APRINT เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2535 ก่อนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดพร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) จากนั้นเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์เป็น AMARIN เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 อเดลฟอส ในเครือกลุ่มทีซีซี เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ AMARIN ในทางอ้อมผ่านบริษัท วัฒนภักดี จำกัด ต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) จากนั้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ได้เข้าซื้อหุ้นจากระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ในขณะนั้น ผ่านบริษัท สิริภักดีธรรม จำกัด ก่อนที่ตระกูลอุทกพันธุ์จะลาออกจากทุกตำแหน่งในอีกสิบสองวันต่อมา และตระกูลอุทกพันธุ์ได้จำหน่ายหุ้นอมรินทร์ให้อเดลฟอสในทางอ้อมทั้งหมดผ่านบริษัท สิริวัฒนภักดี จำกัด เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2567
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2567) มี สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานกรรมการ, ฐาปน สิริวัฒนภักดี เป็นรองประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร, นรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ เป็นรองประธานกรรมการบริหาร และศิริ บุญพิทักษ์เกศ เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่
อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ ที่รากฐานจากการที่ ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ รวบรวมเพื่อนร่วมงานและพนักงานไม่กี่คนมาร่วมกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดในชื่อ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วารสารบ้านและสวน เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2519[1] โดยมีจุดประสงค์เพื่อผลิตนิตยสาร "บ้านและสวน" ฉบับแรกออกวางจำหน่ายในเดือนเดียวกัน แต่ในสมัยนั้นต้องเดินทางไปพิมพ์หนังสือที่โรงพิมพ์ภายนอก เนื่องจากไม่มีโรงพิมพ์ของตัวเอง จึงเกิดความยากลำบาก ปีถัดมาคือเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2520 จึงได้มีการก่อตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในชื่อ "ห้างหุ้นส่วนจำกัด อมรินทร์การพิมพ์"[2] เพื่อจัดพิมพ์นิตยสารของตน ขณะเดียวกันก็รับจ้างงานพิมพ์อื่นด้วย
ระยะต่อมา เมื่อกิจการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น หจก.อมรินทร์การพิมพ์ จึงระดมทุนเพิ่ม และต่อมาเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2530 ได้ต่อยอดธุรกิจออกมาจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดในชื่อ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด (อังกฤษ: Amornrin Printing Group Co., Ltd.)[3] และเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในชื่อย่อหลักทรัพย์ APRINT เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2535 อย่างไรก็ตาม ต่อมามีการบังคับใช้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และในบทเฉพาะกาล มาตรา 334 ระบุให้บริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ภายใน 2 ปีนับตั้งแต่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์บังคับใช้ อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พจึงแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Amarin Printing and Publishing Public Co., Ltd.) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2536[4]
ในปี พ.ศ. 2536 บริษัทได้ขยายกิจการไปสู่ด้านการจัดจำหน่าย โดยก่อตั้งบริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด เพื่อดูแลการจำหน่ายสิ่งพิมพ์ทั้งหมด รวมถึงจัดตั้งร้านค้าปลีกชื่อ "ร้านนายอินทร์"
ต่อมาปริมาณผู้อ่านนิตยสารมีมากขึ้น และประเภทของผู้อ่านมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น บริษัทจึงเริ่มผลิตนิตยสารอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อ่าน โดยมีนิตยสารแนวผู้หญิงออกตามมาคือ แพรว และ สุดสัปดาห์ และผลิตนิตยสารอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน[5]
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จาก APRINT เป็น AMARIN โดยมีผลเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์[6]
ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 บริษัท วัฒนภักดี จำกัด ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยบริษัท อเดลฟอส จำกัด ของ ฐาปน สิริวัฒนภักดี และ ปณต สิริวัฒนภักดี จากกลุ่มทีซีซี ได้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำนวน 200,000,000 บาท คิดเป็น 47.62% เพื่อนำเงินไปลงทุนเพิ่มเติม เช่น ชำระค่าใบอนุญาต เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจทีวีดิจิทัล โดยเฉพาะการผลิตรายการโทรทัศน์ให้แก่ช่องอมรินทร์ทีวี รวมทั้งชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน[7]
ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 คณะกรรมการบริษัทได้บรรจุวาระการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)" ให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณา[8] และเมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์[9] บริษัทจึงได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Amarin Corporations Public Co., Ltd.) ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม[10] และมีผลในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม[11]
ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นอันดับที่ 2 ได้ขายหุ้นที่ตนถือทั้งหมดในอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำนวน 138,387,052 หุ้น คิดเป็น 13.86% ให้บริษัท สิริภักดีธรรม จำกัด[12] ซึ่งเป็นอีกบริษัทที่ถือหุ้นโดยอเดลฟอส ส่งผลให้กลุ่มทีซีซีถือหุ้นในอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ ในทางอ้อมผ่านอเดลฟอสรวมมากกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด[13] ต่อมาเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม กรรมการและผู้บริหารจากตระกูลอุทกะพันธุ์ที่เหลืออยู่ทั้ง 3 คน คือ เมตตา อุทกะพันธุ์ ประธานกรรมการ, ระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่และเลขานุการ และ โชคชัย ปัญจรุ่งโรจน์ สามีของระริน ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท ได้ลาออกจากตำแหน่งทั้งหมดในอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ โดยมีผลทันที ทำให้ในปัจจุบันไม่มีบุคลากรจากกลุ่มของผู้ก่อตั้งดำรงตำแหน่งในอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ แล้ว โดยคณะกรรมการบริหารได้แต่งตั้งให้ศิริ บุญพิทักษ์เกศ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่เป็นการชั่วคราว[14] ส่งผลให้อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ อยู่ภายใต้การบริหารของกลุ่มทีซีซีอย่างเต็มรูปแบบจนถึงปัจจุบัน[15]
ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทชุดใหม่ โดยแต่งตั้งสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานกรรมการและกรรมการอิสระ และศิริ บุญพิทักษ์เกศ เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่และเลขานุการ[16]
ต่อมาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2567 บริษัท สิริวัฒนภักดี จำกัด ซึ่งเป็นอีกบริษัทที่ถือหุ้นใหญ่โดยอเดลฟอส ได้เข้าซื้อหุ้นของอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ ที่ถือโดยบุคคลตระกูลอุทกะพันธุ์ที่เหลือทั้งหมด คือ จากระพี อุทกะพันธุ์ จำนวน 42,248,130 หุ้น คิดเป็น 4.2321% และจาก เมตตา อุทกะพันธุ์ อีกจำนวน 36,671,791 หุ้น คิดเป็น 3.6735% รวมเป็น 78,919,921 หุ้น คิดเป็น 7.9056% ส่งผลให้ตระกูลอุทกพันธุ์สิ้นสุดอำนาจควบคุมในอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ และยังทำให้ บจก.สิริวัฒนภักดี มีหน้าที่ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดของอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ เนื่องจากอเดลฟอสถือหุ้นทางอ้อมในอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ ผ่าน 3 บริษัทย่อย รวมกันมากกว่า 75%[17]
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
---|---|---|---|
1 | บริษัท วัฒนภักดี จำกัด | 602,427,400 | 60.35% |
2 | บริษัท สิริวัฒนภักดี จำกัด | 163,554,139 | 16.38% |
3 | บริษัท สิริภักดีธรรม จำกัด | 138,387,052 | 13.86% |
4 | โสภณ มิตรพันธ์พานิชย์ | 21,095,900 | 2.11% |
5 | นายสมชัย สวัสดีผล | 15,000,000 | 1.50% |
6 | บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) | 6,449,473 | 0.65% |
7 | นายเฉลิมพล โสภณกิจการ | 4,000,000 | 0.40% |
8 | นางลี่ซา โสภณกิจการ | 3,170,000 | 0.32% |
9 | นายชนะชัย ภู่ระหงษ์ | 1,990,000 | 0.20% |
10 | นายพิเชฐ ตันติศรีเจริญกุล | 1,755,600 | 0.18% |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.