หัวเมืองลาวอีสาน หมายถึงบรรดาหัวเมืองเดิมทั้งหลายที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของสยามในอดีต และบรรดาหัวเมืองเก่าแก่ทั้งหลายที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรล้านช้างโบราณ มาแต่ตั้งสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณีมหาราช ซึ่งหัวเมืองลาวอีสานเหล่านี้ตั้งอยู่สองฟากฝั่งแม่น้ำโขงทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา กินอาณาเขตตั้งแต่ภาคอีสานของประเทศไทยไม่ทั้งหมด และอาณาเขตของประเทศลาว หัวเมืองเหล่านี้ประกอบด้วยประชาชนจากหลากหลายชาติพันธุ์ ซึ่งส่วนมากมักเป็นชาติพันธุ์ลาว หรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับอิทธิพลทางความคิด ความเชื่อ และวัฒนธรรมลาว พร้อมทั้งอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้านายจากราชวงศ์ลาวเป็นส่วนใหญ่ ชาติพันธุ์อื่นๆ เหล่านี้ประกอบด้วย ลาวไทอีสาน ลาวลุ่ม ลาวเทิง ลาวสูง ซึ่งแตกออกไปเป็นหลายพวก อาทิ ขะมุ (ขมุ) ข่าแจะ กระโซ่ (โซ่) กะเลิง กะตัง กะตู กะแสง (กะเสง) กะตาง กายัก ไทส่งดำ (ไททรงดำ) ไทดำ ไทแดง ไทเหนือ ไทขาว ไทภู (ผู้ไท หรือภูไท) ไทพวน ไทลื้อ บรู ลั๊วะ (ละว้า) ย้อ (ญ้อ) โย้ย โยน (ยวน) เย้า (ย้าว) แสก ข่า มอย ม้ง งวน บิด ดำ หอก ฮ้อ แซ ออง แงะ ก่อ กุ่ย เจง อิน (โอย) ละแว ละแนด ละเม็ด ละเวน ละแง แลนแตน ตะโอย ตาเลียง (ตาเหลียง) สีดา บ่าแวะ มะกอง มูเซอ สามหาง ผู้น้อย ผู้เทิงไฟ เขลา ปันลุ อาลัก เทิงน้ำ เทิงบก เทิงโคก อินทรี ยาเหียน ชะนุ ม้งลาย ม้งขาว ม้งดำ โซโล รุนี ลาวส่วย ยาเหิน ขะแมลาว แกนปานา เป็นต้น นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยชาติพันธุ์เขมร ส่วย กูย ไทยโคราช (ไทเดิ้ง) ไทยสยาม ไทยอยุธยาเดิม ญวน (เวียดนามหรือแกว) หรือแกวลาว และประกอบไปด้วย ไทมลายู ที่อพยพ มาจากภาคใต้ของไทย อาจมีเชื้อสายอินเดียและคนมลายูปะปนอยู่บางส่วนใน นครศรีธรรมราช ด้วยบางส่วน
บรรดาหัวเมืองเหล่านี้ มีลักษณะทางพัฒนาการที่ยาวนาน หลากหลาย เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เต็มไปด้วยสีสันทางการเมือง พหุลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี ศาสนา ลัทธิพิธีกรรม กระบวนการทางความคิดเชิงอำนาจของนักปกครอง ระบบการปกครอง และความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ หัวเมืองเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างมหคุณูปการในการวางรากฐานของความเป็นรัฐชาติให้แก่สยาม แต่ยังสร้างความน่าตื่นเต้นและความวุ่นวายทางการเมืองการปกครองให้แก่สยามอีกด้วย เนื่องจากเจ้านายที่ปกครองบรรดาหัวเมืองเหล่านี้ มากกว่าร้อยละ ๘๐ ไม่ใช่เจ้านายในราชวงศ์ไทยสยาม และช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์ประเทศมหาอำนาจตะวันตกอย่างฝรั่งเศส ได้มีความพยายามเข้ามาแทรกแซงกิจการทางการเมืองการปกครองในดินแดนหัวเมืองเหล่านี้นั่นเอง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
การจำแนกกลุ่มหัวเมืองลาวอีสานดังต่อไปนี้ จะเป็นการจำแนกกลุ่มตามลักษณะที่ตั้ง ภูมิศาสตร์ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มเมือง ซึ่งต่างจากการจำแนกเป็นหัวเมืองลาวฝ่ายต่าง ๆ เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 เพราะการจำแนกในสมัยนั้นก็เพื่อความสะดวกในการจัดการปกครอง หัวเมืองต่าง ๆ นั้น มีดังนี้
- เมืองนครกาลจำบากนัคบุรีศรี (เมืองนครกาลจำบากนาคบุรีศรี) เจ้าผู้ครองนครคือ พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร
- เมืองนครจำปาศักดิ์ (เมืองเก่าคันเกิง เมืองป่าศักดิ์ หรือเมืองนครจำปาบาสัก) เจ้าประเทศราชผู้ครองนครคือ พระวิไชยราชสุริยวงศ์ขัติยราช
- เมืองกุสุมาลย์คีรี (เมืองกุสุมาคีรี หรือเมืองกุสุมานคีรี)
- เมืองธาราบริวัตร (เมืองธาราบริรักษ์) เจ้าเมืองคือ พระยาภักดีศรีสิทธิสงคราม
- เมืองมธุรสาผล เจ้าเมืองคือ พระจันทร์ศรีสุราช
- เมืองศิริจำบัง (เมืองศรีจำบัง) เจ้าเมืองคือ เจ้าโพธิสารราชบุตร
- เมืองสะพังภูผา (เมืองสะพังภูษา) เจ้าเมืองคือ พระราชฤทธิ์บริรักษ์
- เมืองสุวรรณคีรี เจ้าเมืองคือ พระสุริยวงศา
- เมืองวาปีไพรบูรณ์ (เมืองวาปีไพบูลย์) เจ้าเมืองคือ พระพิศาลสุรเดช
- เมืองบัวบุณฑริก (เมืองบัว) เจ้าเมืองคือ พระอภัยธิเบศร์วิเศษสงคราม
- เมืองอุทุมธารา เจ้าเมืองคือ พระสุริยวงศา
- เมืองมูลปาโมกข์ เจ้าเมืองคือ พระวงศาสุรเดช
- เมืองนครเพ็ง (เมืองคันซมซัว) เจ้าเมืองคือ พระจันทสุริยวงศ์
- เมืองคำทองน้อย เจ้าเมืองคือ พระพุทธพรหมวงศา
- เมืองคำทองใหญ่ (เมืองคำทองหลวง) เจ้าเมืองคือ พระสุวรรณราชวงศา
- เมืองสูตนคร (เมืองสุดนคร)
- เมืองสูตวารี (เมืองสุดวารี)
- เมืองสีทันดร (เมืองสี่พันดอน) เจ้าเมืองคือ พระอภัยราชวงศา
- เมืองสาละวัน (เมืองสาระวัน หรือเมืองมั่น) เจ้าเมืองคือ พระเอกราชา
- เมืองเซลำเภา (เมืองเซลำเพา) เจ้าเมืองคือ พระณรงค์ภักดีหรือพระณรงค์ลำเพา
- เมืองโดมประดิษฐ์ (เมืองโดดประดิษฐ์) เจ้าเมืองคือ พระดำรงสุริยเดช
- เมืองอัตตะปือ (เมืองอิดกระบือ)
- เมืองโพนทอง เจ้าเมืองคือ พระอินทร์ศรีเชียงใหม่
- เมืองเชียงแตง (เมืองสตึงแตรง เมืองสตึงเตร็ง เมืองหางโขง หรือเมืองหางโค) เจ้าเมืองคือ พระอุดมเดช
- เมืองแสนปาง เจ้าเมืองคือ พระศรีมหาเทพ
- เมืองสะพาด
- เมืองปากแซง
- เมืองบังพวน เจ้าเมืองคือ พระจันทสุริยวงศ์
- เมืองเรแดว (เมืองระแด)
- เมืองโสก
- เมืองซุง
- เมืองโขง (เมืองดอนโขง) เจ้าเมืองคือ พระศรีเชียงใหม่
- เมืองเจียม
- เมืองนครบุรีราชธานี (เมืองนครพนม เมืองลครพนม เมืองนคร หรือเมืองละคร) เจ้าผู้ครองเมืองคือ พระเจ้าขัติยวงศาราชบุตรมหาฤๅไชย ไตรทศฤๅเดช เชษฐบุรีศรีโคตรบูรณ์หลวง หรือ พระยาพนมนครานุรักษ์ สิทธิศักดิ์เทพฤๅยศ ทศบุรีศรีโคตรบูรหลวง
- เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี (เมืองไชยบุรี หรือเมืองชัยบุรี) เจ้าเมืองคือ พระไชยราชวงศา
- เมืองพาลุกากรภูมิ เจ้าเมืองคือ พระอมรฤทธิธาดา
- เมืองมุกดาหารบุรี (เมืองมุกดาหาร หรือเมืองบังมุก) เจ้าเมืองคือ เจ้าพระยาจันทศรีสุราชอุปราชามันธาตุราช, เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ ดำรงรัฐสีมา มุกดาหาราธิบดี หรือ พระยาศศิวงศ์ประวัติ
- เมืองมรุกขนคร (เมืองมฤคนคร) เจ้าเมืองคือ พระยานันทเสนหรือพระบรมราชา
- เมืองกุสุมาลย์มณฑล เจ้าเมืองคือ พระอรัญอาสา หรือพระนรินทรภักดีศรีสิทธิสงคราม
- เมืองโพธิไพศาลนิคม (เมืองโพธิสาร หรือเมืองโพธิ์อาศาล) เจ้าเมืองคือ พระไพศาลเสนานุรักษ์ หรือ ท้าวเสมาอนุรักษ์
- เมืองภูวดลสอาง (เมืองภูวดลสะอาง หรือเมืองภูวดลสอางค์)
- เมืองจำปาชนบท (เมืองพังโคน) เจ้าเมืองคือ พระบำรุงนิคมเขต หรือพระปทุมเทวาพิทักษ์
- เมืองรัตนวาปี เจ้าเมืองคือ พระรัตนเขตรักษา
- เมืองกุมภวาปี (เมืองเอกชะทีตา หรือเมืองทีตานคร) เจ้าเมืองคือ พระวรฤทธิฤๅไชย
- เมืองบึงกาฬวาปี (เมืองบึงกาฬ หรือเมืองบึงกาจน์)
- เมืองสว่างแดนดิน เจ้าเมืองคือ พระสิทธิศักดิ์
- เมืองสกลนคร (เมืองสกลทวาปี หรือเมืองหนองหารเชียงใหม่) เจ้าเมืองคือ พระยาประจันตประเทศธานี ศรีสกลานุกรักษ์ อรรคเดโชชัย อภัยพิริยากรมพาหุ หรือ พระยาประเทศธานี
- เมืองเรณูนคร (เมืองเว) เจ้าเมืองคือ พระแก้วโกมล (ท้าวสาย)
- เมืองวาริชภูมิ เจ้าเมืองคือ พระสุรินทรบริรักษ์ (ท้าวพรหมสุวรรณ)
- เมืองวานรนิวาส เจ้าเมืองคือ พระราชประชาราฎร์รักษา
- เมืองอากาศอำนวย เจ้าเมืองคือ หลวงผลานุกุล
- เมืองพรรณานิคม (เมืองพันนานิคม) เจ้าเมืองคือ พระเสนาณรงค์ (ท้าวโฮงกลาง)
- เมืองอาจสามารถ (เมืองอาฑมาต) เจ้าเมืองคือ หลวงเอกอาสา
- เมืองโพนพิสัย เจ้าเมืองคือ พระยาโพนพิสัยสรเดช หรือพระยาสุนทรธรรมธาดา
- เมืองศรีเชียงใหม่
- เมืองหนองหารใหญ่ (เมืองหนองหานหลวง) เจ้าเมืองคือ พระพิทักษ์เขื่อนขันธ์
- เมืองหนองหารน้อย (เมืองหนองละหาร หรือเมืองหนองหาร) เจ้าเมืองคือ พระพิทักษ์เขตต์ขันธ์
- เมืองธาตุพนม (เมืองปะนม เมืองพนม หรือเมืองโคตะปุระ) เจ้าเมืองคือ เจ้าขุนรามราชรามางกูร หรือหลวงปราณีพุทธบริษัท
- เมืองท่าอุเทน เจ้าเมืองคือ พระศรีวรราช
- เมืองท่าบ่อเกลือ (เมืองท่าบ่อ) เจ้าเมืองคือ พระกุประดิษฐ์บดี
- เมืองรามราช (เมืองลำ) เจ้าเมืองคือ พระอุทัยประกาศ, พระอุทัยวิเศษสุนทร หรือพระไชยกุมาร
- เมืองคำผักแพรว เจ้าเมืองคือ เจ้าฟ้าแหล่
- เมืองหนองสูง เจ้าเมืองคือ พระไกรสรราช
- เมืองหนองคาย (เมืองลาหนองคาย หรือเมืองหล้าหนองคาย) เจ้าเมืองคือ พระปทุมเทวาภิบาล
- เมืองโพนแพน (เมืองโพนแพง) เจ้าเมืองคือ พระพิชัยสุริยวงศ์
- เมืองพานพร้าว (เมืองพันพร้าว เมืองธารพร้าว หรือเมืองพั่งพ่าว)
- เมืองพะโค (เมืองปะโค) เจ้าเมืองคือ พระยามาลัย
- เมืองกาสี (เมืองแมด)
- เมืองเวียงคุก (เวียงคุคำ หรือเวียงคำ) เจ้าเมืองคือ หมื่นกางโฮง
- เมืองเวียงงัว
- เมืองเวียงนกยูง (เวียงปากห้วยโมง)
- เมืองปากก่ำ เจ้าเมืองคือ หลวงป่าศักดิ์สิทธิผล
- เมืองคาง
- เมืองฮาม เจ้าเมืองคือ ท้าวบัว
- เมืองภูเงิน เจ้าเมืองคือ ท้าวจารย์โคตร
- เมืองสุวรรณภูมิราชบุรียประเทศราช (เมืองสุวรรณภูมิ) เจ้าประเทศราชผู้ครองเมือง คือ เจ้าพระรัตนาวงษามหาขัติยราช
- เมืองจตุรพักตร์พิมาน (เมืองหงษ์) เจ้าเมืองคือ พระธาดาอำนวยเดช
- เมืองพยัคฆภูมิพิสัย (เมืองเสือ หรือเมืองพยัคฆภูมิ) เจ้าเมืองคือ พระศรีสุวรรณวงศา
- เมืองพนมไพรแดนมฤค เจ้าเมืองคือ พระดำรงฤทธิไกร
- เมืองมหาสารคาม (เมืองตักสิลานคร) เจ้าเมืองคือ พระเจริญราชเดชวรเชษฐมหาขัติยพงศ์ รวิวงศ์สุรชาติ ประเทศราชธำรงค์รักษ์ศักดิ์กิติยศไกร ศรีพิชัยเทพวรฤทธิ์พิษณุพงศ์ปรีชา สิงหาบุตรสุวัฒนานคราภิบาล
- เมืองกันทรวิชัย (เมืองคันธารราษฎร์) เจ้าเมืองคือ พระปทุมวิเศษ
- เมืองกุลุนทนคร
- เมืองชลบถวิบูลย์ (เมืองชนบถ หรือเมืองชลบถ) เจ้าเมืองคือ พระยาจันตประเทศ
- เมืองเสลภูมินิคม (เมืองเสลภูมิ) เจ้าเมืองคือ พระนิคมบริรักษ์
- เมืองรัตนนคร เจ้าเมืองคือ เพียเมืองแพน หรือท้าวแพ
- เมืองอุตรนคร เจ้าเมืองคือ พระยาอุตรนคร หรือท้าวเพีย
- เมืองเกษตรวิสัย เจ้าเมืองคือ พระศรีเกษตราธิไชย
- เมืองโกสุมพิสัย (เมืองกุสุมพิสัย) เจ้าเมืองคือ พระสุนทรพิพิธ
- เมืองกมลาไสย (เมืองกมลาสัย) เจ้าเมืองคือ พระราษฎรบริหาร หรือพระราชบริหารเกษ
- เมืองกุดสิมนารายณ์ (เมืองกุฉินารายณ์ หรือเมืองกุสินนาราย) เจ้าเมืองคือ พระธิเบศรวงศา
- เมืองอำนาจเจริญ เจ้าเมืองคือ พระอมรอำนาจ
- เมืองอุดรธานี
- เมืองบำเหน็จณรงค์ เจ้าเมืองคือ พระฤทธิฤๅชัย
- เมืองมัญจาคีรี เจ้าเมืองคือ จางวางเอกพระยาพฤติคุณธนะเชษ
- เมืองธวัชบุรี เจ้าเมืองคือ พระธำรงไชยธวัช หรือพระธำนงไชยธวัช
- เมืองสหัสขันธ์ เจ้าเมืองคือ พระประชาชนบาล
- เมืองวาปีปทุม เจ้าเมืองคือ พระพิทักษ์นรากร
- เมืองฟ้าแดดสูงยางเมืองฟ้าแดด เจ้าเมืองคือ พระยาฟ้าแดด/เมืองสงยาง เจ้าเมืองคือ พระยาสงยาง
- เมืองกาฬสินธุ์ เจ้าเมืองคือ พระยาไชยสุนทร
- เมืองท่งศรีภูมิ (เมืองทุ่ง เมืองท่ง หรือเมืองทุ่งศรีขรภูมิ) เจ้าเมืองคือ เจ้าจารย์แก้วมงคล
- เมืองท่าขอนยาง เจ้าเมืองคือ พระสุวรรณภักดี
- เมืองคำเขื่อนแก้ว เจ้าเมืองคือ พระรามนรินทร์
- เมืองคำพองน้อย (เมืองน้ำพอง)
- เมืองภูแล่นช้าง (เมืองภูแดนช้าง หนือเมืองภูแลนค้าง) เจ้าเมืองคือ พระพิไชยอุดมเดช
- เมืองภูวานเถ้า (เมืองภูพานเถ้า)
- เมืองภูวานปาว (เมืองภูพานปาว)
- เมืองแซงบาดาล เจ้าเมืองคือ พระศรีสุวรรณ
- เมืองสี่มุม (เมืองจัตุรัส หรือเมืองแก้วจตุ) เจ้าเมืองคือ พระนรินทร์สงคราม
- เมืองชัยภูมิ (เมืองไชยพูม หรือเมืองไชยภูมิ์) เจ้าเมืองคือ พระยาภักดีชุมพล
- เมืองภูเวียง (เมืองกู่เวียง หรือเมืองภูเวียน)
- เมืองภูเขียว (เมืองยาง เมืองเกษตรสมบูรณ์ เมืองผักปัง) เจ้าเมืองคือ พระไกรสิงหนาท
- เมืองผ้าขาว
- เมืองพันนา
- เมืองขอนแก่น (เมืองขามแก่นนคร) เจ้าเมืองคือ พระยานครศรีบริรักษ์บรมราชภักดี ศรีศุภสุนทร หรือพระนครบุรีรักษ์
- เมืองโขงเจียง (เมืองโขงเจียม) เจ้าเมืองคือ พระกำแหงสงคราม
- เมืองขามเฒ่า เจ้าเมืองคือ เจ้าเมืองแสน
- เมืองคอนสาร เจ้าเมืองคือ หลวงวิชิตสงคราม
- เมืองร้อยเอ็ด (เมืองร้อยเอ็ดประตู เมืองเวียงฮ้อยเอ็ดประตู หรือเมืองสาเกตนคร) เจ้าเมืองคือ พระยาขัติยวงศา พิสุทธาธิบดี หรือพระยาขัติยวงศา เอกาธิกะสตานันต์
- เมืองเสมียะ (เมืองเสมียร์ หรือเมืองเสมี๊ยะ)
- เมืองเปือยใหญ่
- เมืองเชียงเครือ (เมืองยางเครือ) เจ้าเมืองคือ พระยาเชียงเครือ
- เมืองเชียงโสม เจ้าเมืองคือ พระยาจันทราช หรือ พระยาเชียงโสม
- เมืองเชียงสาเจ้าเมืองคือ พระยาเชียงสา
- เมืองเชียงสร้อยเจ้าเมืองคือ พระยาเชียงสร้อย
- เมืองเชียงเหียนเจ้าเมืองคือ พระยาเชียงเหียน
- เมืองเชียงขวง (เมืองเชียงขวาง)
- เมืองเชียงดี
- เมืองสีแก้ว เจ้าเมืองคือ ขุนจอม น้องพญาขอม หรือ พระยาสีแก้ว
- เมืองเพ็ง
- เมืองเพ็ญ
- เมืองพล
- เมืองไพ
- เมืองเสียบ (เมืองเขียบ)
- เมืองคอง
- เมืองทอง
- เมืองบัว
- เมืองหงษ์
- เมืองเปือย
- เมืองวิเชียรบุรี (เมืองศรีเทพ เมืองศรีถมอรัตน์ เมืองท่าโรง หรือเมืองอภัยสาลี) เจ้าเมืองคือ พระศรีถมอรัตน์, พระยาประเสริฐสงคราม หรือพระยาเลิศสงคราม
- เมืองเพชรบูรณ์ เจ้าเมืองคือ พระเพชรพิชัยปลัด หรือพระเพชรพิชภูมิปลัด
- เมืองภูทุ่ง(เมืองภูเรือ) เจ้าเมืองคือ เจ้าพระยาศรีโทน(เจ้าศรีโทน)
- เมืองวังสะพุง (เมืองสะพุง)
- เมืองไชยบาดาล (เมืองชัยบาดาล) เจ้าเมืองคือ พระชัยบาดาล
- เมืองเซไล (เมืองเลย) เจ้าเมืองคือ หลวงศรีสงคราม
- เมืองทรายขาว (เมืองซายขาว หรือเมืองซาย)
- เมืองเชียงคาน (เมืองเซียงคาน) เจ้าเมืองคือ พระศรีอรรคฮาต หรือขุนคาน
- เมืองแก่นท้าว(สกุล "วรบุตร")
- เมืองด่านซ้าย เจ้าเมืองคือ เจ้าเมืองวัง ,พระแก้วอาสา (ท้าวกองแสง)
- เมืองหล่มสัก (เมืองลม หรือเมืองลุ่ม) เจ้าเมืองคือ พระยาสุริยวงษา
- เมืองหล่มสัก (เมืองหล่ม)
- เมืองปากเหือง เจ้าเมืองคือ พระอนุพินาศ
- เมืองบัวชุม (เมืองบวชชุม) เจ้าเมืองคือ พระนครไชยสินนรินท
- เมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช (เมืองอุบลราชธานี) เจ้าประเทศราชผู้ครองเมืองคือ พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ เเละ เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ ดำรงรัฐสีมา อุบลราชธานีบาล
- เมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (เมืองหนองบัวลำภู เมืองหนองบัวลุ่มภู หรือเมืองกมุทธาสัย) เจ้าผู้ครองนครคือ เจ้านอง หรือ พระวรราชปิตา
- เมืองยศสุนทร (เมืองยโสธร) เจ้าเมืองคือ พระสุนทรราชวงศา มหาขัตติยชาติ ประเทศราชทวาเวียง ดำรงรักษ์ศักดิยศทศทิศฤๅไกร ศรีพิไชยสงคราม
- เมืองเสนางคนิคม เจ้าเมืองคือ พระศรีสินธุสงคราม
- เมืองเขมราษฎร์ธานี (เมืองเขมราฐ) เจ้าเมืองคือ พระเทพวงศา
- เมืองพิมูลมังษาหาร (เมืองพิบูลมังสาหาร) เจ้าเมืองคือ พระบำรุงราษฎร์
- เมืองตระการพืชผล เจ้าเมืองคือ พระอมรดลใจ
- เมืองชานุมานมณฑล เจ้าเมืองคือ พระผจญจตุรงค์
- เมืองมหาชนะชัย เจ้าเมืองคือ พระเรืองไชยชำนะ
- เมืองพนานิคม เจ้าเมืองคือ พระจันทรวงศา
- เมืองวารินชำราบ เจ้าเมืองคือ พระกำจรจตุรงค์
- เมืองเกษมสีมา (เมืองเสมสีมา หรือเมืองม่วงสามสิบ) เจ้าเมืองคือ พระพิไชยชาญณรงค์
- เมืองสะพังสี่แจ (เมืองสระสี่แจ่ง)
- เมืองจำปานคร
- เมืองเดชอุดม เจ้าเมืองคือ พระศรีสุระ หรือพระศรีสุริยะ
- เมืองดอนมดแดง
- เมืองเซซะนาด
- เมืองโพนผิงแดด (เมืองโพนพิงแดด)
- เมืองพระนาราย เจ้าเมืองคือ เจ้านาราย
- เมืองพะนาเทียน
- เมืองพะสะเขียน
- เมืองพะสาด
- เมืองพะลง
ตระกูลเจ้านายฝ่ายอีสาน
เจ้านายฝ่ายอีสาน หมายถึง เจ้านายผู้สืบเชื้อสายในราชวงศ์ หรือสายสกุลที่เคยปกครองหัวเมืองในอาณาจักรล้านช้างเดิมมาก่อน ซึ่งเข้ามาเป็นประเทศราชของอาณาจักรรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 อันได้แก่ เจ้านายในราชวงศ์แสนทิพย์นาบัวซึ่งสืบเชื้อสายมาจากวงศ์สามัญชนชาวไทพวน สถาปนาแต่งตั้งขึ้นเป็นราชวงศ์ในภายหลังจากก่อตั้งเมืองหนองบัวลุ่มภูขึ้น สายนี้ปกครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน เมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช เมืองยศสุนทร เมืองเขมราษฎร์ธานี เมืองหนองคาย และเมืองอำนาจเจริญ ส่วนราชวงศ์เจ้าวิชัยเเห่งอาณาจักรล้านช้างสายนี้ปกครองเมืองสุวรรณภูมิราชบุรียประเทศราช เมืองขอนแก่น เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองชลบถวิบูลย์ และเมืองมุกดาหาร
ในอดีตเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ มีอำนาจสิทธิ์ขาดปกครองดินแดนของตน แต่มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องบรรณาการถวายราชสำนักสยามเพื่อแสดงความจงรักภักดีเท่านั้น อย่างไรก็ตามราชสำนักสยามได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในราชสำนักประเทศราชหลายครั้ง จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงยกเลิกการปกครองแบบประเทศราชเพื่อรวมศูนย์อำนาจการปกครองไว้ที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะ ตำแหน่งเจ้าประเทศราชก็ให้สิ้นสุดเมื่อเจ้าผู้ครองเมืองนั้นถึงแก่พิราลัย
- ณ อุบล - สกุลนี้สืบเชื้อสายพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ และเจ้าอุปราชธรรมเทโวแห่งนครจำปาศักดิ์ ทางฝ่ายพระมารดา สายอุปฮาด (สุดตา) และอุปฮาด (โท) ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุลสายนี้คือ พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) กรมการเมืองพิเศษเมืองอุบลราชธานีในสมัยรัชกาลที่ 5
- สุวรรณกูฏ - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่3 บุตรของพระประทุมฯ ,พระบริคุฏคามเขต (โหง่นคำ สุวรรณกูฏ) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล
- สิงหัษฐิต - สายนี้สืบเชื้อสายมาจากพระเกษโกมลสิงห์ขัตติยะ หลานของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล คือ พระวิภาคย์พจนกิจ (หนูเล็ก สิงหัษฐิต - บิดาของเติม วิภาคย์พจนกิจ ผู้เขียนหนังสือ ประวัติศาสตร์อีสาน)
- ทองพิทักษ์ - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางอุปฮาด (สุดตา) พี่ชายของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) บุตรของพระประทุมฯ ท้าวไกรยราช (พู) บุตรของอุปฮาด (สุดตา) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล
- อมรดลใจ - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระอมรดลใจ (ท้าวสุริยวงศ์ อ้ม) เจ้าเมืองตระการพืชผลคนแรก ท่านนี้เป็นบุตรพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 และเป็นเขยเจ้าครองนครจำปาศักดิ์
- โทนุบล - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าเมืองมหาชนะชัย (คำพูน สุวรรณกูฏ) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามท้าวคำพูนว่า "พระเรืองไชยชำนะ" เมืองมหาชนะชัยขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี โดยต่อมาภายหลังเมืองมหาชนะชัยได้ถูกลดฐานะเป็นอำเภอภายใต้เมืองอุบลราชธานี โดยหลวงวัฒนวงศ์ โทนุบล (โทน สุวรรณกูฏ) ผู้เป็นหลานของพระเรืองชัยชนะ เป็นนายอำเภอคนแรก
- บุตโรบล - สายนี้สืบมาจากราชบุตร (สุ่ย) และราชบุตร (คำ) บุตรของเจ้าสีหาราช (พลสุข) และท้าวโครต ทั้งสองท่านเป็นบุตรของพระตา และเป็นอนุชาของพระปทุมฯ ผู้รับพระราชทานสกุลคือ พระอุบลกิจประชากร (บุญเพ็ง บุตโรบล) สายสกุลนี้เป็นสายสกุลของอัญญานางเจียงคำ บุตโรบล (หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
- ณ หนองคาย - คือ พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) มีพระยาวุฒาธิคุณ(แพ) รับพระราชทานนามสกุล จาก ร.6
- รักขพันธ์ ณ หนองคาย - คือ ลูกหลานพระยาวุฒาธิคุณ (แพ) ซึ่งจัดตั้งนามสกุลนี้ขึ้นมาใหม่
- วุฒาธิวงศ์ ณ หนองคาย - คือ บุตรชายของพระยาวุฒาธิคุณ(แพ) ได้จัดตั้งใหม่ โดยนำนามของบิดาคือ พระยาวุฒาธิคุณ(แพ)มาบวกกับคำว่า อนุวงศ์
- โพธิเสน ณ หนองคาย - คือ ลูกหลานพระยาวุฒาธิคุณ (แพ) ซึ่งจัดตั้งนามสกุลนี้ขึ้นมาใหม่ [1]
- โพธิเสน สืบสายมาจาก พระยาวุฒิธรรมมประดิษฐ์ (มั่น)
- สุริยวงศ์ - พระปทุมสุริยวงศ์ บุตรชายคือ เจ้าคุณพระนคร มีบุตรสาวคือ สุข สุริยวงศ์ (หม่อมสุข ทองใหญ่) ซึ่งเป็นหม่อมใน กรมหลวงประจักษ์ฯ
- สิงหศิริ - พระยาสุนทรธรรมธาดา (ผู้บริหารราชการในหัวเมืองโพนพิสัย)
- นาครทรรพ - เจ้าคุณอุ้ย นาคทรรรพ
- วัฒนสุข - เจ้าคุณสุข วันสุข
- สีมะสิงห์ - ขุนธนาภาลบริรักษ์ ภูไท
- โทธิเบศร์วงษา สายท้าวราชวงศ์กอ ภูไท เจ้าเมืองกุดสิมนารยณ์
- วุฒิสาร ท้าวสาร ท้าวเพียในเจ้าเมืองกุดสิมนารยณ์ ภูไท
- ไชยขันธุ์, ไชยเขตุขันธุ์ ท้าววรเสนไชยะ ท้าวเพียในเจ้าเมืองกุดสิมนารยณ์ ภูไท
- ศรีหลิ่ง, ศรีหริ่ง ท้าวหลอยหลิ่ง ท้าวเพียในเจ้าเมืองกุดสิมนารยณ์ ภูไท
- วงศ์ปัดสา - สายสกุล วงศ์ปัดสา สืบสายสกุลมาจากเจ้าเมืองขมราฐ คือพระเทพวงศา (พ่วย) ต้นปฐมสายนี้คือพระเทพวงศา (ก่ำ) ผู้เป็นบุตรพระวอ
- พรมประกาย ณ นครพนม
- สูตรสุคนธ์ ณ นครพนม
- พิมพานนท์ ณ นครพนม
- กิติศรีวรพันธุ์ (เจ้าเมืองท่าอุเทน นครพนม)
- วัฒนศักดิ์ (เจ้านายฝ่ายอีสานสืบเชื้อพระวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง)
- แก้วมณีชัย (เจ้าเมืองเรณูนคร นครพนม)
- เตโช (อุปราชเมืองเรณูนคร นครพนม)
- พรหมสาขา ณ สกลนคร
- จันทรสาขา (เจ้าเมืองมุกดาหาร)
- ยอดเพ็ช (พระยอดเมืองขวาง หรือขำ เจ้าเมืองคำม่วน ลาว)
- ณ จำปาศักดิ์
- ณ พล ( เจ้าเมืองพล ขอนแก่น)
- สุวรรณเลิศ (เจ้าเมืองกันทรวิชัยหรือคันธารวิไชย์ มหาสารคาม)
- สุวรรณวงศ์ (สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ราชอาณาจักรลาว)
- เรืองสุวรรณ (เจ้านายฝ่ายอีสานที่มีเชื้อสายพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง)
- ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม
- ณ เมืองแปะ (เจ้าเมืองบุรีรัมย์)
- ราชาโคตร (เจ้าเขมรหนีมาอยู่อีสานล่าง)
- วรบุตร (เจ้าเมืองแก่นท้าว เลย ปัจจุบันอยู่ลาว นามสกุลหลวงปู่หลุย จันทสโร)
- แก่นแก้ว ( เพียแก่นท้าวเปนต้นตระกูล นามสกุลหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
- ลาวัณบุตร (เจ้าเมืองสี่มุม จัตุรัส ชัยภูมิ)
- ศรีสุระ (เจ้าเมืองเดชอุดม)
- พรหมวงศานนท์ (เจ้าอุบล เชื้อสายเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์)
- เสนจันทฒิไชย (เจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมืองไชยบุรี นครพนม)
- อินทร์เอี่ยม ณ จำปาศักดิ์
สายสกุลทายาทเจ้าแก้วมงคล
- แก้วมงคล
- ธนสีลังกูร (พระราชทาน)
- ณ ร้อยเอ็จ (พระราชทาน)
- ขัติยวงศ์
- ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม (พระราชทาน)
- สุวรรณเลิศ
- เรืองสุวรรณ
- เจริญศิริ
- อัตถากร
- รักษิกกะจันทน์ หรือ รักษิกจันทร์ (พระราชทาน)
- รัตนะวงศะวัต (พระราชทาน)
- รัตนวงศา
- ประจันตเสน (พระราชทาน)
- เสนอพระ
- นครศรีบริรักษ์
- อุปฮาด
- สุนทรพิทักษ์
- สุนทรพิพิธ
- สุวรรณธาดา (พระราชทาน)
- สิงหศิริ (พระราชทาน)
- สิงคศิริ
- สิงคสิริ
- สิมะสิงห์
- สิริสิงห์
- สิระสิงห์
- สังขศิลา
- พิสัยพันธ์
- พงษ์สุวรรณ
- ไชยสุกา
- เรืองสนาม
- วลัยศรี
- แสงสุระ
- รักษาเมือง
- พิทักษ์เขื่อนขันธุ์
- วรฉัตร
- วงศ์ณรัตน์
- พระวงศ์รัตน์
- สุวรรณวิเศษ[2]
- จันทรศร (พระราชทาน)[3]
- อินตะนัย[4]
- รัตนเวฬุ
- อัคฮาด
- อรรคฮาด
- วงศ์วรบุตร
- พึ่งมี
- วรแสน
- สิงห์ธวัช
- เเพนพา
- เศรษฐภูมิรินทร์
- ธรรมเสนา
อ้างอิง
- ประวัติศาสตร์ลาว ของมหาสิลาวีระวงศ์
- ประวัติศาสตร์อีสาน ของเติม วิภาคย์พจนกิจ
- เมืองในมณฑลอีสาน ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- อ้างอิง "คลิกดูแหล่งที่มาสายสกุลทายาทเจ้าแก้วมงคล"
- เทศาภิบาล ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน ของหม่อมอมรวงศ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ ปฐม คเนจร)
- โขงสองฝั่ง ของสมคิด สิงสง
- นามเมืองในภาคอีสาน ของบุญจิตต์ ชูทรงเดช
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.