Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอคอยบาเบล (อังกฤษ: Tower of Babel; ฮีบรู: מִגְדַּל בָּבֶל, อักษรโรมัน: Miḡdal Bāḇel; กรีกโบราณ: Πύργος τῆς Βαβέλ, อักษรโรมัน: Pýrgos tês Babél; ละติน: Turris Babel) เป็นตำนานต้นกำเนิดและนิทานคติสอนใจในหนังสือปฐมกาลเพื่ออธิบายว่าทำไมถึงมีภาษาและวัฒนธรรมหลายแบบ[1][2][3][4][5]
หอคอยบาเบล | |
---|---|
מִגְדַּל בָּבֶל | |
หอคอยบาเบล โดยปีเตอร์ เบรอเคิล ผู้พ่อ (1563) | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | หอคอย |
ที่ตั้ง | บาบิโลน อิรัก |
ความสูง | ดู§ ความสูง |
ในเรื่องราวนี้ มนุษยชาติที่พูดภาษาเดียวกัน อพยพกันเป็นกลุ่มไปที่ชินาร์ (เมโสโปเตเมียตอนล่าง)[a] โดยทั้งหมดตกลงกันสร้างเมืองใหญ่ที่มีหอคอยสูงเทียมฟ้า พระยาห์เวห์ทรงสังเกตความพยายามเหล่านี้ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพลังของมนุษยชาติในความสามัคคี ทำให้คำพูดของพวกเขาสับสนจนไม่สามารถเข้าใจกันได้อีกต่อไป และทำให้พวกเขากระจัดกระจายไปทั่วโลก ทิ้งเมืองนี้ไว้โดยที่ยังสร้างไม่เสร็จ
นักวิชาการสมัยใหม่บางคนเชื่อมโยงหอคอยบาเบลเข้ากับโครงสร้างและบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ โดยเฉพาะข้อมุลจากเมโสโปเตเมียโบราณ อาคารที่มีการยอมรับมากที่สุดคือเอเตเมนอันกี ซิกกูแรตที่อุทิศแด่เทพเจ้ามาร์ดุกในบาบิโลน[6] ซึ่งในภาษาฮีบรูเรียกว่า บาเบล[7] เรื่องราวที่คล้ายกันก็พบในตำนานซูเมอร์โบราณชื่อ เอ็นเมร์การ์และเจ้าแห่งอารัตตา ซึ่งอธิบายเหตุการณ์และสถานที่ในเมโสโปเตเมียตอนใต้[8]
วลี "หอคอยบาเบล" ไม่ปรากฏในหนังสือปฐมกาลหรือในคัมภีร์ไบเบิล แต่ใช้คำว่า "เมืองกับหอคอยนั้น"[b] หรือสั้น ๆ แค่ "เมืองนั้น"[c] เสมอ ที่มาของชื่อบาเบล ซึ่งเป็นชื่อภาษาฮีบรูของบาบิโลน ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน ชื่อเมืองในภาษาแอกแคดคือ บาบ-อิลิม หมายถึง "ประตูของพระเจ้า" อย่างไรก็ตาม รูปแบบและการตีความนั้นโดยทั่วไปคาดว่าได้รับมาจากนิรุกติศาสตร์พื้นบ้านภาษาแอกแคด เพื่อใช้กับชื่อ "บาบิลลา" ที่ไม่ทราบความหมายและน่าจะมีต้นตอที่ไม่ได้มาจากกลุ่มภาษาเซมิติก[9][10]
ตามเรื่องราวในหนังสือปฐมกาล เมืองนี้ได้รับ "บาเบล" จากคำกริยาฮีบรู บาลัล[d] หมายถึง ทำให้ปนเปหรือสับสน หลังจากพระยาห์เวห์ทรงบิดเบือนภาษาสามัญของมนุษยชาติ[11] Encyclopædia Britannica ระบุว่า คำนี้สะท้อนถึงการเล่นคำ เนื่องจากคำว่าบาบิโลนและ "สับสน" ในภาษาฮีบรูออกเสียงคล้ายกัน[7]
1 และทั่วแผ่นดินโลกมีภาษาเดียวและมีสำเนียงเดียวกัน
2 และต่อมาเมื่อพวกเขาเดินทางจากทิศตะวันออก พวกเขาก็พบที่ราบในแผ่นดินแห่งชินาร์และพวกเขาอาศัยอยู่ที่นั่น
3 และพวกเขาต่างคนต่างก็พูดกันว่า “มาเถิด ให้พวกเราทำอิฐและเผามันให้แข็ง” และพวกเขามีอิฐใช้แทนหินและมียางมะตอยใช้แทนปูนขาว
4 และเขาทั้งหลายพูดว่า “มาเถิด ให้พวกเราสร้างเมืองขึ้นเมืองหนึ่งและก่อหอคอยให้ยอดของมันไปถึงฟ้าสวรรค์ และให้พวกเราสร้างชื่อเสียงของพวกเราไว้ เกรงว่าพวกเราจะกระจัดกระจายไปทั่วพื้นแผ่นดินโลก”
5 และพระเยโฮวาห์เสด็จลงมาทอดพระเนตรเมืองและหอคอยนั้นซึ่งบุตรทั้งหลายของมนุษย์ได้ก่อสร้างขึ้น
6 และพระเยโฮวาห์ตรัสว่า “ดูเถิด คนเหล่านี้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และพวกเขาทั้งปวงมีภาษาเดียว และพวกเขาเริ่มทำเช่นนี้แล้ว และบัดนี้จะไม่มีอะไรหยุดยั้งพวกเขาได้ในสิ่งที่พวกเขาคิดจะทำ
7 มาเถิด ให้พวกเราลงไปและทำให้ภาษาของพวกเขาสับสนที่นั่น เพื่อไม่ให้พวกเขาพูดเข้าใจกันได้”
8 ดังนั้น พระเยโฮวาห์จึงทรงทำให้พวกเขากระจัดกระจายจากที่นั่นไปทั่วพื้นแผ่นดินโลก และพวกเขาก็เลิกสร้างเมืองนั้น9 เหตุฉะนั้น จึงเรียกชื่อเมืองนั้นว่า บาเบล เพราะว่าที่นั่นพระเยโฮวาห์ทรงทำให้ภาษาของทั่วทั้งแผ่นดินโลกสับสน และ ณ จากที่นั่นพระเยโฮวาห์ได้ทรงทำให้พวกเขากระจัดกระจายออกไปทั่วพื้นแผ่นดินโลก
— ปฐมกาล 11:1–9[12]
หอคอยบาเบลเป็นตำนานประเภทสมุฏฐานวิทยาที่ใช้อธิบายต้นกำเนิดความหลากหลายของภาษา[13]: 426 ความสับสนของภาษา (confusio linguarum) เป็นผลจากการก่อสร้างหอคอยบาเบล ทำให้ภาษาของมนุษย์แตกออกเป็นเสี่ยง ๆ: พระเจ้าทรงกังวลว่ามนุษย์ดูหมิ่นพระเจ้าด้วยการสร้างหอคอยเพื่อหลีกเลี่ยงน้ำท่วมครั้งที่สอง ดังนั้น พระเจ้าจึงสร้างภาษาต่าง ๆ ขึ้นมาหลายภาษา ทำให้มนุษย์ไม่สามารถเข้าใจกันได้[13]: 51
ก่อนหน้าเหตุการณ์นี้ มนุษยชาติพูดภาษาเดียวกัน แม้ว่าในปฐมกาล 10:5 ระุว่าลูกหลานยาเฟท โกเมอร์ และยาวานกระจายไป "ตามภาษาตามตระกูลตามชาติของพวกเขา"[14] ออกัสตินอธิบายความขัดแย้งที่เห็นได้ชัดนี้ โดยโต้แย้งว่าเรื่องราวนี้ "เล่าย้อนกลับไปว่าเหตุใดภาษาเดียวที่มนุษย์ทุกคนใช้ร่วมกันจึงแตกออกเป็นภาษาหลายภาษาโดยไม่กล่าวถึงเรื่องนั้น" ("without mentioning it, goes back to tell how it came about that the one language common to all men was broken up into many tongues")[15] นักวิชาการสมัยใหม่ถือว่าบททั้งสองนี้เขียนขึ้นจากแหล่งที่มาที่แตกต่างกัน 2 แห่ง อันแรกมาจาก Priestly source และอันหลังมาจาก Jahwist อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ที่ผ่านมา บรรดานักวิชาการถกเถียงกันเรื่องทฤษฎีนี้[16]
แก่นเรื่องการแข่งขันระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ปรากฏทั้งหนังสือปฐมกาล เช่น ในเรื่องราวอาดัมกับเอวาในสวนเอเดน[17]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หนังสือปฐมกาลไม่ได้ระบุถึงความสูงของหอคอยอย่างชัดเจน วลี "สูงเทียมฟ้า" (v.4) เป็นเพียงสำนวนสำหรับความสูงอันน่าทึ่ง มากกว่าจะสื่อถึงความเย่อหยิ่ง[18]: 37 หนังสือยูบิลีกล่าวถึงความสูงของหอคอยที่ 5,433 คิวบิตและ 2 ฝ่ามือ หรือ 2,484 m (8,150 ft) ประมาณสามเท่าของความสูงบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ หรือเกือบ 1.6 ไมล๋ (10:21)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นักวิชาการพระคัมภีร์มองหนังสือปฐมกาลเป็นเรื่องราวปรัมปรา ไม่ใช่บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์[19] หนังสือปฐมกาลได้รับการอธิบายว่าเริ่มต้นด้วยตำนานที่เป็นประวัติศาสตร์และจบลงด้วยประวัติศาสตร์ที่เป็นตำนาน[20] ถึงกระนั้น เรื่องราวบาเบลสามารถตีความได้ตามบริบท เช่น ในหนังสือปฐมกาลส่วนอื่น ๆ ระบุไว้ว่าบาเบล (LXX: Βαβυλών) อยู่ในอาณาจักรของนิมโรด ซึ่งอยู่ในเมโสโปเตเมียตอนล่าง[21] คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้ระบุเป็นการเฉพาะว่านิมโรดเป็นผู้สั่งให้สร้างหอคอย แต่ข้อมูลอื่น ๆ หลายแห่งเชื่อมโยงกับพระองค์[22] ปฐมกาล 11:9 อ้างถึงชื่อบาเบลในภาษาฮีบรูมาจากคำกริยา บาลัล ซึ่งแปลว่า ทำให้ปนเปหรือสับสน[23] ฟลาวีอุส โยเซพุส นักเขียนชาวโรมัน-ยิวในคริสต์ศตวรรษที่ อธิบายว่า ชื่อนี้มาจากศัพท์ฮีบรูว่า Babel (בבל) หมายถึง "ความสับสน"[24]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.