หวดเจ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หวดเจ้ง

หวดเจ้ง หรือในภาษาจีนกลางว่า ฝ่า เจิ้ง (ค.ศ. 176–220)[a] ชื่อรอง เสี่ยวจื่อ เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของขุนศึก เล่าปี่ ในช่วงปลาย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เกิดในตระกูลที่มีฐานะทางสังคมสูงและสืบเชื้อสายมาจากชนชั้นสูง หวดเจ้ง เดินทางไปยัง เอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมมณฑลเสฉวนและฉงชิ่งในปัจจุบัน) ในช่วงปลายทศวรรษ 190 และกลายเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ เล่าเจี้ยง ผู้ว่าการมณฑล อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกแปลกแยกและการรับรู้ของเขาที่มีต่อเล่าเจี้ยง ในฐานะผู้ว่าการที่ไร้ความสามารถ ในที่สุดทำให้เขาทรยศเล่าเจี้ยง และเสียเปรียบเล่าปี่ ในปี ค.ศ. 211 ระหว่างปี ค.ศ. 211 ถึง ค.ศ. 214 หวดเจ้งช่วยเล่าปี่ในการเอาชนะเล่าเจี้ยง และ ควบคุมการปกครองของเอ๊กจิ๋ว และกลายเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาที่เชื่อถือได้มากที่สุดของเล่าปี่ ในปี ค.ศ. 217 เขาเรียกร้องให้เล่าปี่เริ่ม ยุทธการที่ฮันต๋ง เพื่อยึดเมืองฮันต๋งเชิงยุทธศาสตร์จากขุนศึกคู่แข่ง โจโฉ แต่เสียชีวิตหนึ่งปีหลังจากที่เล่าปี่ได้รับชัยชนะในการรบครั้งนี้

ข้อมูลเบื้องต้น หวดเจ้ง, หัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令) ...
หวดเจ้ง
法正
ภาพวาดหวดเจ้งสมัยราชวงศ์ชิง
หัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 219 (219)  ค.ศ. 220 (220)
กษัตริย์เล่าปี่
ถัดไปเล่าป๋า
ขุนพลพิทักษ์ทัพ (護軍將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 219 (219)  ค.ศ. 220 (220)
ขุนพลเชิดชูยุทธ
(揚武將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 215 (215)  ค.ศ. 219 (219)
เจ้าเมืองสู่จวิ้น
(蜀郡太守)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 215 (215)  ค.ศ. 219 (219)
ถัดไปเอียวฮอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 176[a]
อำเภอเหมย์ มณฑลชานซี
เสียชีวิตค.ศ. 220 (44 ปี)[a]
บุตรฝา เหมี่ยว
บุพการี
  • ฝา เหยี่ยน (บิดา)
ญาติ
  • ฝ่า สฺยง (ทวด)
  • ฝ่า เจิน (ปู่)
อาชีพขุนนาง, ที่ปรึกษา
ชื่อรองเสี่ยวจื่อ (孝直)
ชื่อหลังเสียชีวิตอี้โหว (翼侯)
ปิด

การมองการณ์ไกลและความเฉลียวฉลาดของหวดเจ้งในการกำหนดกลยุทธ์ทำให้เขาได้รับการยกย่องจากคนรุ่นเดียวกัน เช่น จูกัดเหลียง และ เฉินโซ่ว ในเวลาไม่ถึงทศวรรษภายใต้การปกครองของเล่าปี่ หวดเจ้งได้แสดงความสามารถที่ไม่มีใครเทียบได้ โดยที่อัจฉริยะทางการทหารอย่างโจโฉและที่ปรึกษาที่ดีที่สุดของเขาตกเป็นเหยื่อของแผนการของเขา อย่างไรก็ตาม เขายังมีชื่อเสียงในเรื่องความพยาบาทของเขา เมื่อดำรงตำแหน่งได้ใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยการแก้แค้นบรรดาผู้ที่เคยล่วงเกินเขามาก่อนแล้วฆ่าโดยไร้เหตุผล อย่างไรก็ตาม เขายังคงได้รับการยกย่องและไว้วางใจอย่างสูงจากเล่าปี่จนถึงจุดที่จูกัดเหลียงเคยกล่าวไว้ว่าหวดเจ้งอาจเป็นคนเดียวที่สามารถป้องกันเล่าปี่จากการเริ่ม ยุทธการที่อิเหลง อันหายนะในปี ค.ศ. 221 ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่

ภูมิหลังครอบครัว

บ้านบรรพบุรุษของหวดเจ้งอยู่ที่อำเภอเหมย์ (郿縣) โย่วฝูเฟิงจฺวิ้น (右扶風郡) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอเหมย์ มณฑลชานซี บรรพบุรุษของเขาคือเถียน ฝ่าจาง ตามประวัติศาสตร์รู้จักในพระนามฉีเซียงหวังแห่งยุครณรัฐ ลูกหลานของเถียน ฝ่าจางเปลี่ยนชื่อสกุลจาก "เถียน" เป็น "ฝ่า" หลังการล่มสลายของรัฐฉีเมื่อ 221 ปีก่อน ค.ศ.[1]

ทวดของหวดเจ้งชื่อฝ่า สฺยง เคยดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง (太守) หนานจฺวิ้น (南郡; บริเวณจิงโจว มณฑลหูเป่ย์) ในรัชสมัยจักรพรรดิอันแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ปู่ของหวดเจ้งคือฝ่า เจิน เป็นนักปราชญ์สันโดษที่มีลักษณะเด่นคือมีอุปนิสัยสูงส่ง แม้ว่าเขาจะเป็นผู้มีความรู้มาก แต่เขาก็ใช้ชีวิตอย่างสมถะและปฏิเสธข้อเสนอในการรับราชการซ้ำแล้วซ้ำเล่า[Sanguozhi 2] บิดาของหวดเจ้งคือฝา เหยี่ยน (法衍) ชื่อรอง จี้โหมว (季謀) ก็รับราชการและดำรงตำแหน่งผู้ช่วยราชการในเจ้ากรมการศึกษา (司徒) และรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม (廷尉)[Sanguozhi zhu 1]

รับใช้เล่าเจี้ยง

รับใช้เล่าปี่

เสียชีวิตและเหตุการณ์หลังเสียชีวิต

ใน ค.ศ. 219 หลังเล่าปี่ได้รัยชัยชนะในยุทธการที่ฮันต๋ง เขาประกาศตนเองเป็น "อ๋องแห่งฮันต๋ง" (漢中王) และแต่งตั้งหวดเจ้งเป็นราชเลขาธิการ (尚書令) และขุนพลพิทักษ์ทัพ (護軍將軍) หวดเจ้งเสียชีวิตในปีถัดมาด้วยอายุ 45 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) เล่าปี่ร่ำไห้เป็นเวลาหลายวันเมื่อหวดเจ้งเสียชีวิต และพระราชทานหวดเจ้งด้วยตำแหน่งหลังเสียชีวิตเป็น "อี้โหว" (翼侯).[Sanguozhi 3]

ในรัชสมัยอันสั้นของเล่าปี่ เพื่อนร่วมทางและขุนพลที่มีชื่อเสียงหลายคนของเขาเสียชีวิตไปแล้ว ได้แก่ กวนอู, เตียวหุย, ม้าเฉียว, บังทอง และฮองตง กระนั้นมีเพียงหวดเจ้งเท่านั้นที่ได้รับตำแหน่งหลังเสียชีวิต นี่คือระดับที่เล่าปี่ให้คุณค่ากับหวดเจ้งมากขนาดนั้น ฝา เหมี่ยว (法邈) บุตรชายของหวดเจ้ง ได้รับตำแหน่งกวานเน่ย์โหว (關內侯) และดำรงตำแหน่งนายกองร้อยราชรถ (奉車都尉) และเจ้าเมืองฮั่นหยางจฺวิ้น (漢陽郡) ในรัฐจ๊กก๊กที่เล่าปี่สถาปนาใน ค.ศ. 221[Sanguozhi 4]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

Thumb
รูปหวดเจ้งจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI

หวดเจ้งเป็นตัวละครที่เล่นได้ในไดนาสตีวอริเออส์ 8: เอ็กซ์ตรีมเลเจนด์สของโคเอ

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. ชีวประวัติหวดเจ้งในสามก๊กจี่ระบุว่า เขาเสียชีวิตปีเดียวหลังเล่าปี่ประกาศตนเองเป็น "อ๋องแห่งฮันต๋ง" ใน ค.ศ. 219 เขามีอายุ 45 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ตอนเสียชีวิต[Sanguozhi 1] เมื่อคำนวณแล้ว ปีเกิดของหวดเจ้งน่าจะอยู่ในช่วง ค.ศ. 176

อ้างอิง

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.