Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้าต่างชีวิต ชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเรื่อง Rear Window ออกฉายในปี ค.ศ. 1954 นำแสดงโดย เจมส์ สจ๊วต, เกรซ เคลลี, เธลม่า ริตเตอร์, เวนเดลล์ คอรีย์, เรย์มอนด์ เบอร์ กำกับการแสดงโดย อัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
หน้าต่างชีวิต | |
---|---|
กำกับ | อัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก |
เขียนบท | ต้นฉบับ: คอร์เนล วูลริช บทภาพยนตร์ จอห์น ไมเคิล เฮย์ส |
อำนวยการสร้าง | อัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก |
นักแสดงนำ | เจมส์ สจ๊วต เกรซ เคลลี เธลม่า ริตเตอร์ เวนเดลล์ คอรีย์ เรย์มอนด์ เบอร์ |
กำกับภาพ | โรเบิร์ต เบิร์คส์ |
ตัดต่อ | จอร์จ โทมาชินี่ |
ดนตรีประกอบ | ลินน์ เมอร์เรย์ |
ผู้จัดจำหน่าย | พาราเมาท์ พิคเจอร์ |
วันฉาย | 1 สิงหาคม ค.ศ. 1954 |
ความยาว | 112 นาที |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
ข้อมูลจาก IMDb |
กลางฤดูร้อนอันอบอ้าวที่นิวยอร์ก แอล.บี.เจฟฟรีย์ส (เจมส์ สจ๊วต) หรือ เจฟฟ์ ตากล้องหนุ่มประสบอุบัติเหตุขาหัก ต้องเข้าเฝือกบนรถเข็น จากการถ่ายภาพการแข่งขันรถยนต์ เจฟฟ์จึงได้แต่นอนพักในห้องของอพาร์ตเมนต์ของตน โดยไปไหนไม่ได้ เจฟฟ์ฆ่าเวลาอันน่าเบื่อหน่ายนี้ด้วยการใช้กล้องส่องทางไกลส่องมองพฤติกรรมของผู้คนที่อาศัยในอพาร์ตเมนต์ตรงข้ามกับตน ซึ่งมีหญิงวัยกลางคนที่อยู่อย่างเปลี่ยวเหงา ที่เจฟฟ์เรียกเธอว่า มิสโลนลี่ ฮาร์ท, นักบัลเล่ต์สาวที่มีผู้ชายมาติดพันมากมาย ที่เจฟฟ์เรียกเธอว่า มิสทอร์โซ่ และเซลล์แมนวัยกลางคน Lars Thorwald (เรย์มอนด์ เบอร์) ซึ่งดูแลภรรยาที่ป่วยซึ่งใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนเตียง
ทุก ๆ วัน เจฟฟ์จะได้รับการทำกายภาพบำบัดจาก สเตลล่า (เธลม่า ริตเตอร์) พยาบาลประจำตัวของเขา และได้รับการเตือนจากสเตลล่าว่าไม่ควรไปยุ่งกับเรื่องชาวบ้าน ต่อมา ลิซ่า (เกรซ เคลลี) แฟนสาวของเจฟฟ์ก็ย่องเข้ามาหาเขาในยามดึกโดยที่เขาไม่รู้ตัว เธอบอกว่าจะทำให้สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่ลืมไม่ลงสำหรับเจฟฟ์ จู่ ๆ คืนหนึ่งที่อพาร์ตเมนต์ฝั่งตรงข้ามก็มีเสียงผู้หญิงกรีดร้องพร้อมเสียงแก้วแตก และในช่วงดึกสงัดในคืนนั้น Lars Thorwald ก็ได้นำกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ออกไปข้างนอกถึงสองครั้ง ทำให้เจฟฟ์สรุปโดยสมมติฐานของตนเองว่า อาจเกิดฆาตกรรมขึ้นแล้ว เจฟฟ์พยายามเล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนที่เป็นนักสืบของเขาฟัง แต่ไม่เป็นผล เพราะเพื่อนนักสืบไม่เชื่อและหาว่าเจฟฟ์เหลวไหล ท้ายที่สุด ลิซ่า แฟนสาวของเจฟฟ์จำต้องบุกเข้าไปในห้องของเซลล์แมนคนนี้โดยลำพัง จากความช่วยเหลือของอย่างไม่เต็มใจนักของเขาและสเตลล่า ซึ่งนั่นทำให้เขาถูกเอาคืนจากเซลล์แมนที่เขาคิดว่าคือฆาตรกร จนต้องตกลงมาและขาหักไปอีกข้าง
Rear Window นับเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากอีกเรื่องของอัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก ฮิตช์ค็อกเริ่มต้นงานภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยที่ยังถ่ายทำ Dial M For Murder ภาพยนตร์เรื่องก่อนหน้านี้ไม่เสร็จด้วยซ้ำ บทภาพยนตร์เขียนมาจากเรื่องสั้นของคอร์เนล วูลริช ที่ชื่อ It Had to Be Murder โดยที่เล่นกับพฤติกรรมชอบสอดรู้สอดเห็นของมนุษย์ แบบที่อาจเรียกได้ว่า "ถ้ำมอง" จนท้ายที่สุด ตัวของผู้ที่แอบไปมองเรื่องของคนอื่นเขาก็ต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้ายอย่างเดียวกัน
ภาพยนตร์ถูกถ่ายทำในพื้นที่จำกัด แต่ฮิตช์ค็อกกลับใช้มุมกล้องโดยผ่านทางมุมมองของเจฟฟ์ตลอดทั้งเรื่อง ซึ่งนับเป็นการใช้ภาษาภาพยนตร์อย่างเต็มที่ และได้รับการวิเคราะห์ว่า มีเนื้อหาที่เสียดสีคนในสังคมเมืองใหญ่ที่อยู่ด้วยกัน แต่ไม่มีใครสนใจกันและกัน ซึ่งสาระสำคัญของการเอาตัวเองเข้าไปพัวพันกับเรื่องเล็ก ๆ แต่ขยายลุกลามกลายเป็นเรื่องใหญ่โตนั้น ก็ได้กลายเป็นแนวทางของภาพนตร์ในยุคต่อมาอีกหลายเรื่อง เช่น Chinatown ของโรมัน โปลันสกี้ ในปี ค.ศ. 1974 หรือ All The President's Men ในปี ค.ศ. 1976 เป็นต้น
ในปี ค.ศ. 1998 ได้มีการสร้าง Real Window ขึ้นมาอีกครั้งเป็นภาพยนตร์สำหรับฉายทางโทรทัศน์ นำแสดงโดย คริสโตเฟอร์ รีฟ นักแสดงผู้เป็นอัมพาตตัวจริงที่เคยรับบทซูเปอร์แมนมาก่อน โดยมีการดัดแปลงเนื้อหาและชื่อตัวละครบางตัวเสียใหม่ สำหรับในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2546 ทางบริษัท ซีวีดี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ก็ได้ผลิตวีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์เรื่องนี้ ในฉบับของอัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก ออกมาทั้งจำหน่ายและให้เช่า
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.