สโมสรฟุตบอลไดสตาร์ กรุงเทพฯ โดยเริ่มแรกได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในนามของ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2542 จึงได้เปลื่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลไดสตาร์ กรุงเทพฯ และได้ยุบสโมสรหลังจากที่ตกชั้นใน ไทยลีก ฤดูกาล 2542

ข้อมูลเบื้องต้น ชื่อเต็ม, ฉายา ...
ไดสตาร์กรุงเทพ
Thumb
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลไดสตาร์ กรุงเทพฯ พาณิชย์การ
ฉายาสตางค์รู
ก่อตั้งพ.ศ. 2533 (ในนาม สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ)
ยุบพ.ศ. 2542[1]
ประธานพงศ์พินิจ อินทรทูต
ผู้จัดการวรวรรณ ชิตะวณิช
ฤดูกาลสุดท้าย
2542

อันดับที่ 12
พ้นสมาชิกภาพสมาคมฯและยุบสโมสร
Thumb
Thumb
สีชุดทีมเยือน
ปิด

ประวัติสโมสร

สโมสรฟุตบอลไดสตาร์กรุงเทพ ในอดีตได้ส่งลงแข่งขันครั้งแรกในนาม สโมสรธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ โดยในช่วงก่อตั้งสโมสรใหม่ๆ ทางสโมสรฯได้ ดึงตัว ประวิทย์ ไชยสาม อดีตผู้ฝึกสอน ทีมชาติไทย มาดูแลทีมร่วมกับ สุรินทร์ เข็มเงิน ผู้ฝึกสอนฟุตบอลของ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยนักฟุตบอลส่วนใหญ่ของทีมมีเกียรติประวัติ ติดทีมชาตินักเรียนไทย และทีมชาติไทย ชุดเยาวชนแทบทั้งสี้น โดยในปี พ.ศ. 2533 สโมสรฯ ได้ส่งเข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. และเข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย ทำให้ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นมาเล่นใน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. [2]

ถ้วย ค. และควีนส์คัพ

หลังจากที่ทีมได้เลื่อนชั้นมาเล่นใน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ในปี 2534 ทางผลงานของสโมสรกลับไม่สู้ดีเท่าไรนักโดย ผลงานของสโมสรต้องอยู่ใน ถ้วย ค. ถึง ปี 2537 สโมสรสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ และเลื่อนชั้นมาเล่นใน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. อนึ่งในช่วงปี 2534 และ 2535 ทางสโมสรฯ ได้ส่งเข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ควีนสคัพ ในนามของ สโมสรฟุตบอลราชวิถี และทำผลงานได้เป็นที่น่าจับตามองจากสื่อมวลชนกีฬาสมัยนั้น

ถ้วย ข. และ ถ้วย ก.

หลังจากที่สโมสรคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานประเภท ค. และเลื่อนชั้นมาได้แล้วนั้น สโมสรเองได้รับการจับตามองจากสื่อกีฬาในสมัยนั้นอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้ จากการที่สโมสรมีนักฟุตบอลระดับทีมชาติไทย ในระดับเยาวชน หลายรายเช่น อาทิตย์ ธนูศร, ตะวัน ศรีปาน, วัชรกร อันทะคำภู รวมไปถึงนักฟุตบอลตัวหลักๆในทีม ที่มีประสบการณ์ในฟุตบอลไทยมาก่อนหน้าเช่น ชลอ หงษ์ขจร, อดุลย์ มหาเรือนลาภ, ดนัย วิสุทธิแพทย์ เป็นต้น[2] และสโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นมาเล่นใน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ก. ได้สำเร็จ[3]

ระบบลีกอาชีพ

หลังจากที่สโมสรลงเล่นใน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ก. ฤดูกาล 2538 ต่อมาทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำริที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอลในระบบ ลีกอาชีพขึ้น โดยได้นำ 18 สโมสรที่ลงเล่น มาแข่งขันในนามของ 2539/40 ซึ่งสโมสร ก็นับว่าเป็นหนึ่งสโมสรที่ก่อตั้งลีกสูงสุดด้วย โดยเกมในลีกอาชีพเกมแรกของสโมสร คือเกมที่แข่งกับ สโมสรราชวิถี โดย ธเนศ บุญลาภ ได้ถูกบันทึกว่าเป็นนักเตะคนแรกของสโมสรที่ยิงประตูได้ในระบบฟุตบอลลีก[4] แต่อย่างไรก็ดี ด้วยการที่ผลงานของสโมสรไม่สม่ำเสมอ และประกอบกับทางสมาคมฯ ในยุคนั้นเปลื่ยนแปลงสโมสรที่ตกชั้น โดยให้ตกชั้น ถึง 5 สโมสร ทำให้สโมสรตกชั้นแบบไม่ได้รับความเป็นธรรมนัก

จุดจบสโมสร

หลังจากที่ตกชั้นจาก ไทยลีก ฤดูกาล 2539/40 สโมสรได้สิทธิ์ลงเล่นในการแข่งขัน ไทยแลนด์ลีก ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2540 โดยในปีนั้น สโมสรจบฤดูกาลที่ อันดับที่ 5 ก่อนที่ใน ฤดูกาล 2541 สโมสรสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ลีกได้สำเร็จ แต่ทว่า ใน ฤดูกาล 2542 สโมสรได้ทำการเปลื่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลไดสตาร์ กรุงเทพฯ พาณิชย์การ เนื่องเพราะในช่วงนั้น ทางองค์กรที่สนับสนุนสโมสรอย่าง ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ เริ่มมีปัญหาทางการเงินอย่างหนัก และผลงานของสโมสรกลับแย่ไปมาก โดยเมื่อจบฤดูกาลนั้น สโมสร แพ้ไปถึง 20 นัด และมีแค่ 2 คะแนน และนอกเหนือจากนี้ ในเกมนัดสุดท้ายของฤดูกาลนั้น (11 ธันวาคม พ.ศ. 2542) สโมสรต้องพบกับ สโมสรทหารอากาศ ซึ่งในเกมนัดนั้น สโมสรแพ้ ถึง 10 ประตูต่อ 0 ซึ่งกลายเป็นกรณีข้อสงสัย จนทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต้องมาสอบสวนว่าเป็นการล๊อคผลหรือไม่ ซึ่งในเวลาต่อมา คณะกรรมการสอบสวนฯ ที่นำโดย วิรัช ชาญพานิชย์ มีมติให้สโมสร พ้นจากสมาชิกภาพของสมาคมฟุตบอลฯ[5] (จากเดิม ที่ตกชั้นใน ไทยลีกดิวิชัน 1) และลงโทษ พงศ์พินิจ อินทรทูต และ วรวรรณ ชิตะวณิช ในฐานะ ผู้จัดการทีมและผู้ฝึกสอน ห้ามยุ่งเกี่ยวกับฟุตบอล เป็นเวลา 1 ปี และ 6 เดือนตามลำดับ [6]แต่ต่อมาสโมสรฯได้ยุบทีมเนื่องจากปัญหาทางการเงินในท้ายที่สุด

ชื่อของสโมสร

  • สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ (2533-2541)
  • สโมสรฟุตบอลไดสตาร์ กรุงเทพฯ พาณิชย์การ (2542)

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ


  • อาทิตย์ ธนูศร
  • ธชตวัน ศรีปาน
  • ธเนศ บุญลาภ
  • ชลอ หงษ์ขจร
  • อดุลย์ มหาเรือนลาภ
  • ดนัย วิสุทธิแพทย์
  • อดุลย์ ลือกิจนา
  • วัชรกร อันทะคำภู
  • ชลอ หงษ์ขจร
  • เฟลมมิ่ง โทมัสเซ่น

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.