Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโมสรฟุตบอลพัทยา ยูไนเต็ด (อังกฤษ: Pattaya United Football Club) เป็นอดีตสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยจากเมือง พัทยา จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันย้ายที่ตั้งและเปลี่ยนชื่อเป็น สมุทรปราการ ซิตี้
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลพัทยายูไนเต็ด | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | โลมาน้ำเงิน | |||
ชื่อย่อ | PUTD | |||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2532 (ในชื่อ โค้ก-เทศบาลตำบลบางพระ) พ.ศ. 2551 (ในชื่อ พัทยา ยูไนเต็ด) | |||
ยุบ | พ.ศ. 2561 (เปลี่ยนแปลงเป็น สมุทรปราการ ซิตี้) | |||
สนาม | สนามกีฬาเทศบาลเมืองหนองปรือ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี | |||
ความจุ | 5,500 | |||
| อันดับที่ 8 | |||
|
ก่อตั้งโดยนายพันธ์ศักดิ์ เกตุวัตถา อดีตนักฟุตบอลซึ่งเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลตำบลบางพระในขณะนั้น ได้ส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ง. ในนามทีมสโมสรสุขาภิบาลตำบลบางพระในปี พ.ศ. 2530 และได้แข่งขันจนสามารถเลื่อนขึ้นมาเล่นในระดับ ประเภท ค. และประเภท ข. ตามลำดับ และในปี พ.ศ. 2542 รัฐบาลมีนโยบายยกฐานะสุขาภิบาลทั่วประเทศให้เป็นเทศบาล ทีมสุขาภิบาลตำบลบางพระ จึงเปลี่ยนชื่อทีมเป็นทีมสโมสรฟุตบอลเทศบาลตำบลบางพระตามการยกระดับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนับตั้งแต่นั้นมา
ปี พ.ศ. 2544 สโมสรฟุตบอลเทศบาลตำบลบางพระ คว้าแชมป์ถ้วยพระราชทาน ประเภท ข. ได้สำเร็จ พร้อมกับได้ก้าวขึ้นมาเล่นในลีกดิวิชั่น 1 ของเมืองไทย ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทีมอย่างจริงจัง โดยมี วิทยา คุณปลื้ม อดีต ส.ส. ชลบุรี และสนธยา คุณปลื้ม อดีต รมต.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เข้ามาให้การสนับสนุนทีม โดยสโมสรได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในช่วงที่พันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถาได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบางพระ เพราะนอกจากจะสามารถจัดสรรงบประมาณในการพัฒนากีฬาได้แล้ว นักฟุตบอลของทีมยังมีความมั่นคงด้านการสร้างฐานะ เนื่องจากนักฟุตบอลบางส่วนจะได้รับการบรรจุให้เป็นเจ้าหน้าที่ของเทศบาลจึงเป็นเครื่องการันตีได้ว่าเมื่อเลิกเล่นฟุตบอลแล้วยังมีงานราชการรองรับ ต่อมาเครื่องดื่มโค้กได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักจึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลโค้ก-เทศบาลตำบลบางพระ เพื่อลงเล่นในดิวิชั่น 1 และประสบความสำเร็จเมื่อฤดูกาล 2550 ทีมจบฤดูกาลด้วยตำแหน่งรองแชมป์ของสาย A และได้อันดับ 3 ในรอบสุดท้าย จึงได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาลต่อมา
ฤดูกาล 2551 สโมสรฟุตบอลโค้ก-เทศบาลตำบลบางพระ ได้เล่นในลีกสูงสุดเป็นฤดูกาลแรก และจบฤดูกาลด้วยอันดับ 11 อย่างเหนือความคาดหมาย
ฤดูกาล 2552 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น สโมสรพัทยา ยูไนเต็ด และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามข้อกำหนดของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย พร้อมทั้งเปลี่ยนสนามเหย้าของทีมจากสนามโค้ก - จำลอง เสมอวงษ์ เป็นสนามเทศบาลหนองปรือ แต่กลับมีผลงานในลีกช่วงครึ่งฤดูกาลแรกไม่ค่อยดีนัก โดยลงแข่ง 14 นัด ชนะเพียง 2 นัด และแพ้ไปถึง 6 นัด เก็บได้เพียง 12 คะแนน ทำให้ พันธ์ศักดิ์ เกตุวัตถา ผู้จัดการทีมที่ควบตำแหน่งกุนซือมาหลายปี จึงประกาศลาออกจากการเป็นผู้ฝึกสอนและทำหน้าที่ผู้จัดการอย่างเดียว และได้วิสูตร วิชายา อดีตกุนซือทีมธนาคารกรุงเทพมาเป็นผู้ฝึกสอนคนใหม่ แต่คุมทีมได้เพียง 1 นัด โดยเป็นการออกไปเสมอกับทีมจุฬาฯ ยูไนเต็ด 1-1 โดยต่อมาสโมสรได้ทำการแต่งตั้งจเด็จ มีลาภ อดีตกุนซือผู้พาทีม ชลบุรี คว้าแชมป์ลีกในฤดูกาล 2550 มาทำหน้าที่แทน
ปี พ.ศ. 2558 กลุ่มบริษัทอีนิกมา สปอร์ต เวนเจอส์ (ESV) ได้เข้ามาดูแลกิจการสโมสร โดยมีนายพรรณธฤต เนื่องจำนงค์ เข้ามาเป็นประธานบริหารสโมสรคนใหม่ พร้อมทั้งแต่งตั้งฌอน ลุค เซนต์บิวรี กุนซือชาวอังกฤษมาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทีม ทำศึกยามาฮ่าลีกวัน 2558 ต่อมาได้เปลี่ยนกุนซือเป็น ลิม จอง เฮือน ชาวเกาหลีใต้ ในเวลาต่อมา และประสบความสำเร็จ ด้วยตำแหน่งรองแชมป์ จึงได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก ปี 2559
ต่อมาเนื่องจากมีปัญหาเรื่องสิทธิในการทำทีมกับทางเจ้าของสิทธิ์อย่าง ชลบุรี ทำให้นายพรรณธฤต เนื่องจำนงค์ ยุติบทบาทในการทำทีม และได้ทำการก่อตั้ง อินเตอร์ พัทยา ขึ้นมาเพื่อลงแข่งขันในลีกภูมิภาคต่อไป
ปี พ.ศ. 2559 เนื่องจากมีปัญหาในการทำทีมเจ้าของสิทธิ์อย่าง ชลบุรีเอฟซี จึงทำการประกาศขายทีมเป็นมูลค่า 60 ล้านบาท โดยมีกลุ่มทุนจากจังหวัดอุดรธานีให้ความสนใจแต่การเจรจาไม่เป็นผลจึงได้ล้มเลิกไปทำให้กลุ่มทุนจากอุดรธานีได้เข้าไปเทคโอเวอร์สโมสร บีอีซี เทโรศาสน แทนในขณะที่สโมสรพัทยา ยูไนเต็ดได้กลุ่มทุนจากสนามกอล์ฟเกียรติธานีเข้ามาเทคโอเวอร์
พ.ศ. 2561 สโมสรได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็นสโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ซิตี้และย้ายสนามเหย้าไปที่สนามกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย บางพลี[1][2][3]
ดอลฟินสเตเดียม เป็นสนามฟุตบอลตั้งอยู่ที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของ สโมสรฟุตบอลพัทยา ยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลจาก ไทยพรีเมียร์ลีก มีความจุทั้งหมด 6,000 ที่นั่ง
ในปี พ.ศ. 2558 หลังจากมีการเข้าซื้อกิจการสโมสร สนามแห่งนี้ได้มีการปรับภูมิทัศน์โดยรวมสนามทั้งหมดและเพิ่มอัฒจรรย์หลังประตูทั้ง 2 ด้าน พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อสนามเป็น ดอลฟินสเตเดียม
ช่วงเวลา | ผู้ผลิตเสื้อ | ผู้สนับสนุน |
---|---|---|
2008–2014 | แกรนด์สปอร์ต | โคคา-โคล่า |
ช้าง | ||
โอเชียนวัน|ช้าง | ||
ทรู|ช้าง | ||
ทรู|ช้าง | ||
ทรู|คิง เพาเวอร์|ช้าง | ||
ช้าง | ||
2015 | วาริกซ์ | แบง & โอลุฟเซน |
2016 | ตามูโด้ | น้องนะคะ |
2017 | อาริ | ซันวา |
ฤดูกาล | ฟุตบอลลีก | เอฟเอคัพ | ควีนสคัพ | ลีกคัพ | ผู้ทำประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลีก | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | แต้ม | อันดับ | ชื่อ | ประตู | ||||
2007 | DIV1 | 22 | 11 | 8 | 3 | 30 | 14 | 41 | 2 | |||||
2008 | TPL | 30 | 8 | 11 | 11 | 24 | 27 | 35 | 11 | ธนา ชะนะบุตร | 4 | |||
2009 | TPL | 30 | 7 | 11 | 12 | 27 | 33 | 32 | 11 | รอบ 4 | รอบรองชนะเลิศ | แอนเดอร์สัน มาเชโด้ | 4 | |
2010 | TPL | 30 | 12 | 9 | 9 | 43 | 38 | 45 | 6 | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | ลูโดวิด ทาคาม | 17 | |
2011 | TPL | 34 | 14 | 11 | 9 | 38 | 27 | 53 | 4 | รอบ 5 | กาบรีแอล โอบาโตลา | 8 | ||
2012 | TPL | 34 | 9 | 10 | 15 | 35 | 47 | 37 | 15 | รอบ 3 | ลูโดวิด ทาคาม | 10 | ||
2013 | TPL | 32 | 9 | 2 | 21 | 39 | 66 | 29 | 17 | รอบ 3 | ร็อด ไดเชนโก | 7 | ||
2014 | DIV 1 | 34 | 12 | 5 | 17 | 42 | 53 | 41 | 14 | คริสเตียโน โลเปส | 14 | |||
2015 | DIV 1 | 38 | 18 | 11 | 9 | 77 | 40 | 65 | 2 | รอบแรก | มีลาน บูบาโล | 20 | ||
2016 | TL | 31 | 9 | 7 | 15 | 46 | 66 | 34 | 12 | รอบ 2 | – | รอบ 3 | ฌูนีโอร์ เนเกรา | 20 |
2017 | T1 | 34 | 15 | 6 | 13 | 60 | 53 | 51 | 8 | รอบ 2 | – | รอบ 2 | มีลอส สตอยานอวิช | 15 |
2018 | T1 | 34 | 13 | 7 | 14 | 50 | 62 | 46 | 8 | รอบ 2 | – | รอบ 2 | ลูเคียน | 18 |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น
|
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
รายชื่อผู้ฝึกสอน (2550 - 2561)
ชื่อ | สัญชาติ | ระยะเวลา | ความสำเร็จ |
---|---|---|---|
วิสูตร วิชายา | 2550 – มิถุนายน 2552 | ||
จเด็จ มีลาภ | มิถุนายน 2552 – พฤศจิกายน 2552 | ||
ธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล | มกราคม 2553 – พฤศจิกายน 2553 | ||
จตุพร ประมลบาล | ธันวาคม 2553 – พฤศจิกายน 2554 | ||
เฉลิมวุฒิ สง่าพล | ธันวาคม 2554 – เมษายน 2556 | ||
ชัชชัย พหลแพทย์ | เมษายน 2556 – มิถุนายน 2556 | ||
จเด็จ มีลาภ | มิถุนายน 2556 – พฤศจิกายน 2556 | ||
ทรงยศ กลิ่นศรีสุข | ธันวาคม 2556 – พฤศจิกายน 2557 | ||
ฌอน ลุค เซนต์บิวรี | มกราคม 2558 – เมษายน 2558 | ||
สุรพงษ์ คงเทพ | เมษายน 2558 – มิถุนายน 2558 | ||
ลิม จ็อง-เฮือน | มิถุนายน 2558 – ธันวาคม 2558 | ||
มีลอช ยอกซิช | มกราคม 2559 – พฤษภาคม 2559 | ||
เจษฎา จิตสวัสดิ์ (ชั่วคราว) | พฤษภาคม 2559 – มิถุนายน 2559 | ||
คิม ฮัก-ชุล | มิถุนายน 2559 – ธันวาคม 2559 | ||
สุรพงษ์ คงเทพ | ธันวาคม 2559 – ตุลาคม 2561 |
ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
ประธานอำนวยการ | ธเนศ พานิชชีวะ |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร | Quang Minh Do |
ผู้อำนวยการสโมสร | ศิริมา พานิชชีวะ |
ผู้จัดการ | สุภัทร อ้นทอง |
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | สุรพงษ์ คงเทพ |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | วรวุฒิ วังสวัสดิ์ |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนการออกกำลังกาย | มนัสวิน คติกำจร |
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู | Vardi Bardi |
ผู้ฝึกสอนการออกกำลังกาย | Jihoon Chun |
นักกายภาพบำบัด | ธีรธาร บุญแก้ว |
ผู้อำนวยการสถาบัน | |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.