Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโมสรฟุตบอลสยาม หรือ สยาม เอฟ.ซี. เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันเล่นในไทยแลนด์ เซมิโปรลีก
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลสยาม (Siam Football Club) | ||
---|---|---|---|
ฉายา | สยามสปิริต (Siam Spirit) | ||
ก่อตั้ง | 2006 | ในชื่อ “สมาคมกีฬาบางกอกกล๊าส” (Bangkok Glass Sport Association)||
สนาม | สนามกีฬามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต อำเภอธัญบุรี ปทุมธานี | ||
ประธาน | เทวิน นฤหล้า | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | มาตู กอนเด | ||
ลีก | ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก | ||
2565–66 | ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล, อันดับที่ 14 (ตกชั้น) | ||
|
สโมสรฟุตบอลสยามก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549 ในชื่อแรกเริ่มคือ สมาคมกีฬาบางกอกกล๊าส เป็นสโมสรฟุตบอลของโรงงานบางกอกกล๊าส ซึ่งเป็นโรงงานในเครือของสิงห์ คอร์เปอเรชั่น เพื่อส่งเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลดิวิชั่นถ้วยพระราชทานฯ เป็นฟุตบอลลีกสมัครเล่นของทางสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยในขณะนั้น หลังจากที่ฝ่ายบริหารสมาคมกีฬาบางกอกกล๊าสได้เข้าเทคโอเวอร์สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทยจากไทยพรีเมียร์ลีกในปี พ.ศ. 2552 และได้เปลี่ยนแปลงสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทยเป็นสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส สมาคมกีฬาบางกอกกล๊าสที่อยู่ในดิวิชั่นถ้วยพระราชทานฯก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นสโมสรฟุตบอลรังสิต หรือ รังสิต เอฟ.ซี. และเป็นทีมน้องของสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ต่อมา รังสิต เอฟ.ซี. ได้เปลี่ยนแปลงชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลธนบุรี บีจี ยูไนเต็ด และเปลี่ยนแปลงกลับมาใช้ชื่อ รังสิต เอฟ.ซี. ตามลำดับ
หลังจากที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งเป็นผู้จัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบลีกอาชีพและให้สโมสรระดับอาชีพสามารถส่งทีมสำรองหรือทีมบีเข้าร่วมการแข่งขันไทยลีก 4 ผู้บริหารสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าสจึงเปลี่ยนแปลง รังสิต เอฟ.ซี. เป็น สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ทีมบี หรือ บางกอกกล๊าส เอฟ.ซี. บี เพื่อเป็นทีมสำรองของ บีจีเอฟซี ต่อมาสโมสรได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นสโมสรฟุตบอลบีจีซี หรือ บีจีซี เอฟ.ซี. และในปี พ.ศ. 2562 สโมสรเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่เป็นสโมสรฟุตบอลสยาม หรือ สยาม เอฟ.ซี. และได้แยกทีมออกจากการเป็นทีมน้องและทีมสำรองของสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส หรือ สโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ในปัจจุบัน[1]
ในฤดูกาล 2019 สโมสรได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านกีฬาฟุตบอลกับวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม[2]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ผู้ยิงประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | จำนวนประตู | |||
2564–65 | ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล |
26 | 8 | 11 | 7 | 26 | 32 | 35 | อันดับที่ 6 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | ซาร์โฟ โอทิส อัดเจ | 9 |
2565–66 | ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล |
26 | 4 | 8 | 14 | 17 | 38 | 20 | อันดับที่ 14 | รอบแรก | รอบคัดเลือกรอบสอง | ซาร์โฟ โอทิส อัดเจ | 8 |
แชมป์ | รองแชมป์ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.