สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ เป็นอดีตสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ซึ่งเป็นทีมเดิมจากจังหวัดศรีสะเกษแล้วเปลี่ยนชื่อพร้อมกับย้ายสนามเหย้าไปอยู่จังหวัดอุบลราชธานี ในชื่อ "อีสาน ยูไนเต็ด"และในปี 2556 ได้ย้ายกลับคืนสู่จังหวัดศรีสะเกษ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | Sisaket Football Club สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | กูปรีอันตราย | |||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2542 (ในชื่อ "ศรีสะเกษ สตีลร็อค") พ.ศ. 2555 (ในชื่อ "อีสาน ยูไนเต็ด") พ.ศ. 2556 (ในชื่อ "ศรีสะเกษ เอฟซี") | |||
สนาม | สนามศรีนครลำดวน | |||
ความจุ | 11,200 ที่นั่ง | |||
เจ้าของ | บริษัท ศรีสะเกษ เอฟซี จำกัด | |||
ประธาน | ธเนศ เครือรัตน์ | |||
2564–65 | ไทยลีก 3 อันดับที่ 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | |||
|
ประวัติสโมสร
ยุคโปรลีก (ศรีสะเกษ สตีลร็อก)
สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ ก่อตั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2542 เพื่อทำการแข่งขันรายการ ไทยแลนด์โปรวินเชียล ลีก ซึ่งก่อตั้งโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมมือกันสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย โดยจัดเป็นโครงการนำร่อง 5 ปี โดยครั้งนั้นมี บุญชง วีสมหมาย เป็นประธานสโมสร และแค่ปีแรกที่ก่อตั้ง ก็ได้รางวัลชนะเลิศการแข่งขันไทยแลนด์โปรวินเชียล ลีกทันที
หลังจากนั้น สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ ก็เข้าร่วมแข่งขันไทยแลนด์โปรวินเชียล ลีกทุกครั้ง ในชื่อ "ศรีสะเกษ สตีลร็อก" แต่ก็ไม่สามารถชนะเลิศได้เพิ่มเติม โดยทำได้ดีทีสุด คือ ปี 2546 จบฤดูกาลที่ลำดับที่ 5
เข้าสู่ระบบลีก
ปี 2550 สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ ได้เปลี่ยนชื่อของสโมสรมาเป็น "ศรีสะเกษ เมืองไทย เอฟซี" ในการแข่งขัน ในปีนี้ได้มีการรวมลีกทั้งสอง คือ ไทยแลนด์ลีกและ ไทยแลนด์โปรวินเชียลลีก ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย โดยสโมสรศรีสะเกษ ถูกจัดอยู่ในไทยลีกดิวิชัน 1 กลุ่ม B ร่วมกับอีก 12 ทีม เมื่อจบฤดูการได้อันดับ 10 ทำให้ต้องตกชั้นไปเล่นใน ไทยลีกดิวิชัน 2
ปี 2551 ในการเล่นไทยลีกดิวิชัน 2 สโมสรศรีสะเกษจบการแข่งขันได้อันดับ 4 จึงสามารถพาตัวเองกลับมาเล่นในไทยลีกดิวิชัน 1
ปี 2552 ในการเล่นไทยลีกดิวิชัน 1 เป็นปีที่การแข่งขันลีกอาชีพในประเทศไทยกำลังได้รับความนิยมอย่างสูง รวมทั้งใน จังหวัดศรีสะเกษ ด้วยจึงได้รับการสนับสนุนจากกองเชียร์และมีการจัดการที่เป็นรูปแบบ มีการเก็บค่าเข้าชม และขายของที่ระลึก รวมทั้งการถ่ายทอดสดการแข่งขันผ่านอินเทอร์เน็ต ในปีนี้สโมสรศรีสะเกษ สามารถจบการแข่งขันได้อันดับที่ 3 ทำให้ได้เลื่อนชั้นขึ้นไปเล่น ไทยพรีเมียร์ลีก สโมสรศรีสะเกษ มีกองเชียร์กลุ่มหนึ่งพยายามมีส่วนช่วยเหลือในการสนับสนุนทีมและได้จัดตั้งเว็บไซต์ขึ้น รวมทั้งตามเชียร์ ทีมทั้งในนัดเหย้าและเยือน ในช่วงที่ สโมสรศรีสะเกษได้ทำการแข่งขันอยู่ในระดับ ไทยลีกดิวิชัน 1 ใน 2551 มีกองเชียร์ให้การสนับสนุนทีมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและได้เกิดกลุ่มกองเชียร์ที่ออกจากถิ่นฐานบ้านเกิดไปทำงานหรือไปศึกษาเล่าเรียนยังกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ โดยใช้ชื่อเรียกกลุ่มตัวเองว่า "กูปรีพลัดถิ่น" ตามเชียร์และให้กำลังใจทีม ในระหว่างที่ออกไปทำการแข่งขันนอกบ้านโดยตลอดและคาดว่าอีกไม่นานจะมีกองเชียร์หลายหมื่นคนมาเป็นแฟนคลับของสโมสร ยิ่งการที่สโมสรได้เล่นใน ไทยพรีเมียร์ลีก ในปี พ.ศ. 2553 ด้วย
ปี 2553 เป็นปีแรกที่สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ ได้เล่นในไทยพรีเมียร์ลีก ผลงานของสโมสรไม่เป็นที่น่าพอใจ จบฤดูการรั้งอันดับ 14 ต้องตกชั้นไปเล่น ไทยลีกดิวิชัน 1 แต่ในปีนั้น สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย และ บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก ต้องการเพิ่มทีมในลีกเป็น 18 สโมสร เพื่อให้ลีกมีความแข็งแกร่งและผลักดันให้เป็นลีกชั้นนำของเอเชีย ซึ่งผลการคัดเลือกปรากฏว่าสโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ ผ่านการเล่นเพลย์ออฟ ทำให้ยังคงทำการแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2554
ปี 2555 สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษเอฟซีได้ย้ายที่ตั้งสโมสรไปยังจังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากทางจังหวัดศรีสะเกษได้ตัดสินใจก่อตั้งสโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ ยูไนเต็ด ทำให้สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษเอฟซี ต้องเปลี่ยนชื่อเป็นสโมสรฟุตบอลอีสาน ยูไนเต็ด
ปี 2556 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พบว่าสโมสรอีสาน ยูไนเต็ด มีความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร ทำให้สโมสรต้องย้ายกลับมาอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ เนื่องจากปัญหาทางกฎหมาย สโมสรศรีสะเกษ ถูกสั่งพักการแข่งขันตลอดช่วงที่เหลือของฤดูกาล แต่ยังไม่ตกชั้น[1]
ปี 2557 สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษได้กลับมาแข่งขันในไทยลีกอีกครั้งโดยกลับไปใช้ชื่อ ศรีสะเกษ เอฟซี และใช้สนามศรีนครลำดวนเป็นสนามเหย้าของพวกเขา
ปี 2558 สโมสรสร้างประวัติศาสตร์แห่งวงการฟุตบอลไทยและให้กับสโมสรเอง โดยเป็นทีมเล็กจากฟุตบอลโตโยต้าไทยพรีเมียร์ลีก สร้างความฮือฮาหลังจากที่สามารถผ่านทะลุเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศรายการ โตโยต้า ลีก คัพ 2558 โดยเข้าไปชิงชนะเลิศกับ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ณ สนามศุภชลาศัย เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 แต่น่าเสียดายพลาดท่าแพ้ 0-1 เป็นการทำประตูของ โก ซุล กิ นักเตะเกาหลีใต้ ของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ส่งผลทำให้คว้าแค่รองแชมป์
ตกชั้น
ในไทยลีก ฤดูกาล 2560 ศรีสะเกษจบอันดับที่ 17 ของตาราง ทำให้ต้องตกชั้นไปเล่นในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2561 ต่อมาในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563–64 ศรีสะเกษจบอันดับที่ 16 ทำให้ต้องตกชั้นไปเล่นในไทยลีก 3 ฤดูกาล 2564–65
คืนสิทธิ์
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ศาลปกครองอุบลราชธานี ศาลปกครองสูงสุด ได้นัดฟังคำพิพากษาให้สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป์ คืนสิทธิ์ทีมฟุตบอลศรีสะเกษ ให้ทีมอีสาน ยูไนเต็ด และชดใช้ค่าเสียหายให้ อีสาน ยูไนเต็ด[2]
สัญลักษณ์ของสโมสร
- พ.ศ. 2546 - 2547
- พ.ศ. 2550 - 2551
- พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน
รายชื่อผู้ฝึกสอน
ชื่อ | สัญชาติ | ระยะเวลา | ความสำเร็จ |
---|---|---|---|
ชาติกล้า ทรัพย์ทรงพล | 2549 - พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 | อันดับ 3 ไทยลีกดิวิชัน 1 2552 (เลื่อนชั้น) | |
สมชาติ ยิ้มศิริ | ธันวาคม พ.ศ. 2552 - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 | ไม่ได้คุมทีมลงแข่งอย่างเป็นทางการ | |
แฟรจี มาริญญู | กุมภาพันธ์ - มีนาคม พ.ศ. 2553 (1 นัด) | ||
คิม คึง จู | เมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (4 นัด) | ||
วิสูตร วิชายา | พฤษภาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2553 | ||
เดวิด บูธ | ธันวาคม พ.ศ. 2553 - เมษายน พ.ศ. 2554 | ||
รอยเตอร์ โมไรรา | พฤษภาคม พ.ศ. 2554 - เมษายน พ.ศ. 2555 | ||
พยงค์ ขุนเณร (สมัยอีสาน ยูไนเต็ด) | เมษายน พ.ศ. 2555 - ธันวาคม พ.ศ. 2555 | ||
วรวรรณ ชิตะวณิช (สมัยอีสาน ยูไนเต็ด) | มกราคม พ.ศ. 2556 - 2556 | ||
ณรงค์ สุวรรณโชติ | มกราคม พ.ศ. 2556 | ||
พนิพล เกิดแย้ม | มกราคม พ.ศ. 2557 - มิถุนายน พ.ศ. 2557 | ||
เฉลิมวุฒิ สง่าพล | มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 2558 | รองชนะเลิศ โตโยต้า ลีกคัพ 2558 | |
โบซีดาร์ บันโดวิช | พ.ศ. 2558 - 2559 | ||
มาซาฮิโระ วาดะ | พ.ศ. 2559 | ||
ดุสิต เฉลิมแสน | พ.ศ. 2560 | ||
เวลิซาร์ โปปอฟ | พ.ศ. 2560 | ||
เฉลิมวุฒิ สง่าพล | พ.ศ. 2560 | ||
โรแบร์ต โชเซ ดา ซิลวา | พ.ศ. 2561 | ||
สมชาย ชวยบุญชุม | พ.ศ. 2561 - 2562 | ||
วรชัย สุรินทร์ศิริรัฐ | พ.ศ. 2562 - 2563 | ||
ชูศักดิ์ ศรีภูมิ | พ.ศ. 2563 | ||
ปรีดา จันครา (รักษาการ) | พ.ศ. 2563 | ||
วรวุฒิ ศรีมะฆะ | พ.ศ. 2563 - 2564 | ||
สันติ ไชยเผือก | พ.ศ. 2564 - 2565 | ||
ชุดที่ใช้สำหรับการแข่งขัน
# | ช่วงเวลา | ผู้ผลิตชุดกีฬา | ผู้สนับสนุน |
---|---|---|---|
1 | 2009 | เอฟบีที | ฟอร์ด |
2 | 2010 | คูล สปอร์ต | เมืองไทยประกันชีวิต , เบียร์อาชา , เบทาโกร , ชุดนักเรียนตราราชพฤกษ์ , ชุดนักเรียนตราชัยพฤกกษ์ , ชุดนักเรียนตราสามทหาร |
3 | 2011 | เอฟบีที | เมืองไทยประกันชีวิต , เบทาโกร , เบียร์อาชา , ชุดนักเรียนตราราชพฤกษ์ , ชุดนักเรียนตราชัยพฤกกษ์ , ชุดนักเรียนตราสามทหาร |
4 | 2012
(สมัยอีสาน ยูไนเต็ด) |
เมืองไทยประกันชีวิต , คูโบต้า เจริญชัย , เบียร์อาชา , สบายดี TV , medicare | |
5 | 2013 | โจมา | เมืองไทยประกันชีวิต |
6 | 2014 | เมืองไทยประกันชีวิต , เบทาโกร , เบียร์ลีโอ | |
7 | 2015 | วอริกซ์ | เมืองไทยประกันชีวิต , เบทาโกร , ท่าทรายรุ่งอรุณ , แอร์เอเชีย , เบียร์ลีโอ |
8 | 2016 | ผลิตเอง | เมืองไทยประกันชีวิต , เบทาโกร , เบียร์ลีโอ , ท่าทรายรุ่งอรุณ |
9 | 2017 | อาริ | เมืองไทยประกันชีวิต , เบทาโกร , เบียร์ลีโอ , ท่าทรายรุ่งอรุณ , Home one , โตโยต้า ศรีสะเกษ , Five star unicorn |
10 | 2018 | ผลิตเอง | เมืองไทยประกันชีวิต , เบทาโกร , เบียร์ลีโอ , ท่าทรายรุ่งอรุณ , โตโยต้า ศรีสะเกษ , Five star unicorn , แอร์เอเชีย |
11 | 2019 | วอริกซ์ | เมืองไทยประกันชีวิต , เบทาโกร , Home One , ท่าทรายรุ่งอรุณ , โตโยต้า ศรีสะเกษ , Five star unicorn |
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอ คัพ | ลีกคัพ | ผู้ทำประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับลีก | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | แต้ม | อันดับ | ชื่อ | ประตู | |||
2542-43 | โปรวินเชียลลีก | 22 | 14 | 5 | 3 | 50 | 25 | 47 | ชนะเลิศ | – | – | นัฐวุฒิ กิ่งพิลา | 17 |
2543-44 | โปรวินเชียลลีก | 22 | 7 | 5 | 10 | 37 | 37 | 26 | อันดับ 8 | – | – | สุรศักดิ์ จุมพลศรี | 13 |
2545 | โปรวินเชียลลีก | 10 | 2 | 5 | 3 | 8 | 12 | 11 | อันดับ 5 (สาย A) | – | – | สัมฤทธิ์ ด้วงนิล สุรศักดิ์ จุมพลตรี |
2 |
2546 | โปรวินเชียลลีก | 22 | 10 | 2 | 10 | 54 | 43 | 32 | อันดับ 5 | – | – | สัมฤทธิ์ ด้วงนิล | 19 |
2547 | โปรวินเชียลลีก | 18 | 7 | 7 | 4 | 34 | 27 | 28 | อันดับ 4 | – | – | สุรศักดิ์ จุมพลตรี | 9 |
2548 | โปรวินเชียลลีก | 22 | 9 | 5 | 8 | 37 | 39 | 32 | อันดับ 6 | – | – | 14 | |
2549 | โปรวินเชียลลีก | 30 | 9 | 6 | 15 | 47 | 59 | 33 | อันดับ 12 | – | – | 17 | |
2550 | ไทยลีกดิวิชัน 1 | 22 | 7 | 6 | 9 | 36 | 38 | 27 | อันดับ 10 (กลุ่ม B) | – | – | ไพโรจน์ อนันตณรงค์ | 7 |
2551 | ไทยลีกดิวิชัน 2 | 20 | 10 | 7 | 3 | 40 | 19 | 37 | อันดับ 4 | – | – | 19 | |
2552 | ไทยลีกดิวิชัน 1 | 30 | 15 | 13 | 2 | 53 | 26 | 58 | อันดับ 3 | รอบสาม | – | 17 | |
2553 | ไทยพรีเมียร์ลีก | 30 | 6 | 8 | 16 | 36 | 54 | 26 | อันดับ 14 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | รอบก่อนรองชนะเลิศ | ปิยะวัฒน์ ทองแม้น | 8 |
2554 | ไทยพรีเมียร์ลีก | 34 | 9 | 12 | 13 | 33 | 39 | 39 | อันดับ 13 | รอบห้า | รอบสาม | วุฒิชัย ทาทอง วิคเตอร์ อมาโร |
5 |
2555 | ไทยพรีเมียร์ลีก | 34 | 11 | 14 | 9 | 41 | 42 | 47 | อันดับ 6 (ในชื่อ อีสาน ยูไนเต็ด) | รอบสาม | รอบแรก | ธนา ชะนะบุตร | 15 (9 ประตู อีสาน ยูไนเต็ด) +(6 ประตู เพื่อนตำรวจ) |
2556 | ไทยพรีเมียร์ลีก | ถูกพักการแข่งขัน | – | – | |||||||||
2557 | ไทยพรีเมียร์ลีก | 38 | 12 | 10 | 16 | 48 | 59 | 46 | อันดับ 12 | รอบห้า | รอบแรก | ศรายุทธ ชัยคำดี | 9 |
2558 | ไทยพรีเมียร์ลีก | 34 | 9 | 9 | 16 | 30 | 47 | 36 | อันดับ 13 | รอบสี่ | รองชนะเลิศ | อเดโฟลาริน ดูโรซินมี | 13 |
2559 | ไทยลีก | 31 | 8 | 9 | 14 | 41 | 52 | 33 | อันดับ 13 | รอบสี่ | รอบก่อนรองชนะเลิศ | อันทอน เซมลิอานุกกิน | 8 |
2560 | ไทยลีก | 34 | 6 | 5 | 23 | 43 | 90 | 23 | อันดับ 17 | รอบสอง | รอบแรก | มาเรียโน่ เบอร์รีเอ็กซ์ | 7 |
2561 | ไทยลีก 2 | 28 | 8 | 10 | 10 | 29 | 32 | 34 | อันดับ 8 | รอบรองชนะเลิศ | รอบแรก | คริสเตียโน่ ดาซิลวา | 8 |
2562 | ไทยลีก 2 | 33 | 20 | 11 | 2 | 54 | 18 | 59 | อันดับ 4 | รอบแรก | รอบแรก | วิลเลี่ยน โมต้า | 18 |
2563–64 | ไทยลีก 2 | 34 | 9 | 9 | 16 | 34 | 44 | 36 | อันดับ 16 | รอบคัดเลือก | งดจัดการแข่งขัน | เอฟจีนี่ กาบาเยฟ | 8 |
2564–65 | ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 24 | 17 | 2 | 5 | 52 | 28 | 53 | รองชนะเลิศ | ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขัน | รอบคัดเลือกรอบสอง | เสกสิทธิ์ ศรีใส | 13 |
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก | 5 | 1 | 0 | 4 | 8 | 15 | 3 | อันดับ 5 | |||||
2565–66 | ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ไม่ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น/ถูกพักการแข่งขัน |
- ฤดูกาล 2562 ศรีสะเกษถูกตัด 12 คะแนนตามคำสั่งฟีฟ่าจากกรณีพิพาทกับผู้เล่นจำนวน 2 คดี คดีละ 6 คะแนน
- N/A = ไม่ทราบข้อมูล
รายละเอียดการแข่งขันฟุตบอลลีก
- ไทยแลนด์โปรวินเชียล ลีก ครั้งที่ 1 ชนะเลิศ
- ไทยแลนด์โปรวินเชียล ลีก ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2543 /44 ได้อันดับที่ 8
- ไทยแลนด์โปรวินเชียล ลีก ครั้งที่ 3 ปี 2545 ในฤดูกาลนี้ ทางฝ่ายจัดการแข่งขันได้ปรับรูปแบบการแข่งขันใหม่ โดยจะการแข่งขันออกเป็น 2 รอบ โดยรอบแรกแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ทีม แบ่งตามโซนบนและโซนล่างของประเทศ โดยโซนบนของประเทศ สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ จบการแข่งขันฤดูการนี้ได้อันดับ 5 ของกลุ่ม A ไม่ผ่านการคัดเลือกไปเล่นรอบสุดท้าย
- ไทยแลนด์โปรวินเชียล ลีก ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2546 ได้อันดับที่ 5
- ไทยแลนด์โปรวินเชียล ลีก ครั้งที่ 5 ปี พ.ศ. 2547 กกท. ได้มีมติในที่ประชุมให้มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันเพียง 10 ทีม สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ ได้อันดับที่ 4
- ไทยแลนด์โปรวินเชียล ลีก ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2548 ได้อันดับ 6
- ไทยแลนด์โปรวินเชียล ลีก ครั้งที่ 7 ปี พ.ศ. 2549 กกท. ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อการแข่งขันฟุตบอลโปรวินเชียล ลีก เป็น การแข่งขันฟุตบอลโปรเฟรสน่อล ลีก เพื่อพัฒนาเป็นการแข่งขันฟุตบอลอาชีพอย่างเต็มรูปแบบ สโมสรฟุตบอลฟุตบอลจังหวัดศรีสะเกษ จบฤดูกาลแข่งขัน ในอันดับที่ 12
- การแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์ดิวิชัน 1 ปี พ.ศ. 2550 สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ ได้อันดับ 10 ของกลุ่ม B ตกชั้นไป การแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์ดิวิชัน 2
- การแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์ดิวิชัน 2 ปี พ.ศ. 2551 สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ ได้อันดับ 2 กลุ่ม B เลื่อนชั้นไปเล่นใน การแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์ดิวิชัน 1
- การแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์ดิวิชัน 1 ปี พ.ศ. 2552 สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ ได้อันดับ 3 เลื่อนชั้นไปเล่นในไทยพรีเมียร์ลีกในปี 2553
ฟุตบอลถ้วย
- โตโยต้า ลีกคัพ 2558: รองชนะเลิศ [3]
เกียรติประวัติ
- ชนะเลิศ (1) : 2542/43
- อันดับ 3 (1) : 2552
- รองชนะเลิศ (1) : 2558
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.