Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียน เป็นสโมสรฟุตบอล ในประเทศไทย ปัจจุบันเล่นใน ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก (โซนกรุงเทพและปริมณฑล) โดยเคยร่วมแข่งขันในไทยลีก 1 ครั้ง
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย | ||
---|---|---|---|
ฉายา | ชงโคม่วงทอง | ||
ก่อตั้ง | 1997 | ||
สนาม | สนามทีโอที แจ้งวัฒนะ (ความจุ:5,000) | ||
ประธาน | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | ||
ผู้จัดการ | พงษ์กฤษณ์ โอถาวร | ||
ลีก | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก | ||
|
สโมสรฯ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 โดย ประกอบ พรหมบุตร อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนในขณะนั้น ได้ปรึกษากับ ปานทอง สมุทรประภูติ นายกสมาคมศิษย์เก่าฯ[1] โดยแบ่งแยกออกจากทีมโรงเรียน และบริหารเป็นระบบสโมสร โดยในช่วงแรก มี พ.อ.ฐิติวัจน์ กำลังเอก เป็นผู้จัดการทีมตั้งแต่ก่อตั้ง ก่อนที่จะส่งเข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. และในปีแรกที่เข้าแข่งขันสโมสรฯ ก็สามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศได้ ภายใต้การคุมทีมของ อ.ฤทธิ์ ชมน้อย พร้อมกับเลื่อนชั้นมาเล่น ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ในปี พ.ศ. 2541 ในปี พ.ศ. 2541 ทางสโมสรฯได้เปลี่ยนแปลงผู้ฝึกสอนเป็น วราศักดิ์ อุปถัมภ์นรากร และทางสโมสรในชุดนี้ประกอบด้วยนักฟุตบอลที่เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนและศิษย์ปัจจุบันมาร่วมทีม ซึ่งก็ทำผลงานได้ดีโดยชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ได้สำเร็จพร้อมกับเลื่อนชั้นสู่ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ในปี พ.ศ. 2542 ตามแผนการบันได 4 ขั้นของสโมสรฯ ในปีถัดมา สโมสรฯ ได้รับการจับตามองจากสื่อมากขึ้น และในปีนั้นสโมสรประสบความสำเร็จในการคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. พร้อมกับสร้างประวัติศาสตร์ให้ฟุตบอลไทย ด้วยการชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน 3 ปี 3 ถ้วยเป็นสโมสรแรกในประเทศอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2543 สโมสรฯ ได้เลื่อนชั้นมาเล่นใน ดิวิชั่น 1 ในปีนั้นสโมสรฯ ทำผลงานได้น่าพอใจ แต่ด้วยที่ทำคะแนนพลาดไปหลายเกม ทำให้ได้แค่รองชนะเลิศ โดยมี สโมสรพนักงานยาสูบ คว้าตำแหน่งชนะเลิศ โดยที่สโมสรฯ ต้องไปเพลย์ออฟ เลื่อนชั้น/ตกชั้น กับ สโมสรสินธนา ซึ่งก็ไม่สามารถเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดได้ จากการแพ้ประตูรวม 3-2[2] ในปีถัดมา (พ.ศ. 2544) สโมสรฯ ได้เตรียมพร้อมการแข่งขันอย่างดี โดยได้งบประมาณเพื่อบริหารทีมถึงเกือบ 5 ล้านบาทและยังได้เสริมทีมผู้ฝึกสอนโดยได้ ชาญวิทย์ ผลชีวิน และ ทองสุข สัมปหังสิต เข้ามาเป็นที่ปรึกษาทีม โดยในปีนี้สโมสรทำผลงานได้ดี โดยชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2544/45 มาครอง พร้อมกับคว้าสิทธิ์ลงเล่นฟุตบอลลีกสูงสุดของประเทศอย่าง ไทยลีก ได้สำเร็จ และเป็นสถาบันการศึกษาแรกที่ได้เลื่อนชั้นมาเล่นในลีกสูงสุด
สโมสรกรุงเทพคริสเตียน เริ่มต้นการแข่งขัน ไทยลีก ฤดูกาล 2545/46 ด้วยการพบกับ สโมสรบีอีซี เทโรศาสน ซึ่งเป็นแชมป์ไทยลีก ฤดูกาลก่อน ซึ่งเป็นเกมลีกสูงสุดครั้งแรกของสโมสร แต่จุดอ่อนของทีมคือ สโมสรฯได้ประสบปัญหาในด้านงบประมาณ และประกอบกับกระแสฟุตบอลอาชีพในขณะนั้นไม่ได้รับความนิยม ทำให้ผลงานของทีมกลับไม่ดีนัก โดยตกชั้นในที่สุดด้วยการมีเพียง 9 คะแนน จาก 18 นัด อย่างไรก็ดีสโมสรมีจุดเด่นสำคัญ คือ ทีมสปิริต โดยการที่ทั้งสตาฟโค้ช นักเตะ และกองเชียร์มีความผูกพันกันอย่างใกล้ชิด โดยมีสถาบันอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเขาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว อีกทั้งเป็นทีมที่มีกองเชียร์คอยติดตามตลอดในการแข่งขันทุกนัดโดยที่ไม่ได้มีการนัดหมายมาก่อน ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ในวงการฟุตบอลไทยในขณะนั้น[3]
หลังการตกชั้นของสโมสร ผลงานของสโมสรไม่ดีจนต้องตกชั้นลงไปถึง ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ในปี พ.ศ. 2546 และในปี พ.ศ. 2549 สโมสรได้ทำการเปลื่ยนชื่อจาก สโมสรฟุตบอลโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็น สโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เพื่อรองรับ การปรับตัวสู่ความเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างเต็มตัว[3] และต่อมาทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างฟุตบอลลีก โดยการเพิ่ม ไทยลีกดิวิชัน 2 ขึ้นมาเพื่อรองรับ โดยสโมสรฯ เป็นหนึ่งใน 10 สโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน โดยสโมสร ใช้วิธีการระดมทุนโดยการขายของที่ระลึก ขายป้ายสปอนเซอร์ข้างสนาม ให้กับศิษย์เก่าและแฟนบอล
ในปี พ.ศ. 2557 ทางสโมสรฯ ได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับทาง สโมสรบีอีซี เทโรศาสน พร้อมกับเปลี่ยนชื่อทีมเป็น สโมสรฟุตบอล BCC-Tero เพื่อลงทำการแข่งขัน ฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพมหานคร และ ภาคกลาง โดยนักฟุตบอลส่วนใหญ่เป็นนักฟุตบอลของทาง ทีมเยาวชนของสโมสรบีอีซี เทโรศาสน ผสมกับนักฟุตบอลของโรงเรียน[4]
|
|
Goodboys (กู๊ดบอยส์) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มกองเชียร์ฟุตบอลของทีมกรุงเทพคริสเตียน มีกำเนิดมาจากกองเชียร์กรุงเทพคริสเตียน (ชื่อเรียก "กองเชียร์คริสเตียน" ในขณะนั้น) เป็นการรวมตัวของศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันหลายๆรุ่นที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่ทุกคนมีใจรักในการเชียร์ฟุตบอล BCC เหมือนๆกัน ได้พบปะกันตามสนามกีฬาฟุตบอล ติดตามเชียร์ทั้งบอลสโมสรและบอลระดับนักเรียนมาอย่างยาวนาน ด้วยระบบการเชียร์ที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่วัยเยาว์การร่วมกันร้องเพลงเชียร์อย่างเป็นหนึ่งจึงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรสำหรับกองเชียร์คริสเตียน ซึ่งกองเชียร์คริสเตียนในขณะนั้นได้ขึ้นชื่อว่ามีลีลาการเชียร์ที่เอาจริงเอาจัง ดุดันทั้งการร้องเพลงเชียร์และการกระตุ้นนักเตะในสนาม จนบางครั้งด้วยความมุ่งมั่นที่มากเกินไปจึงอาจมีการกระทบกระทั่งกับคนอื่นไปบ้าง ทางแกนนำกองเชียร์จึงได้กลับมาทบทวนบทบาทของกองเชียร์คริสเตียน ว่าพวกเรามีจุดมุ่งหมายในการเชียร์เพื่อให้กำลังใจนักกีฬาในสนามให้เล่นอย่างสุภาพบุรุษและสง่างามเป็นหลัก จึงได้ก่อให้เกิดเป็นกลุ่มกองเชียร์กู๊ดบอยส์ขึ้นมาเมื่อปี 2549 ซึ่งมีแนวคิดของกลุ่มกองเชียร์จะร่วมเชียรร่วมร้องเพลงเชียร์กันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ชื่อโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และเป็นการให้กำลังใจนักกีฬาอย่างถูกต้อง
รองชนะเลิศ: 2553
ปี | ประธานสโมสร | ผู้จัดการทีม | ผู้ฝึกสอน | รายการ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน
(แต้ม) |
อันดับ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
2566 | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก (โซนกรุงเทพ) |
2 | 0 | 1 | 1 | 0 | 3 | 1 | ||||
2562 | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก (โซนกรุงเทพและปริมณฑล) |
5 | 1 | 1 | 3 | 5 | 12 | 4 | อันดับ 4 (รอบมินิลีก) | |||
2561 | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก (โซนกรุงเทพ) |
2 | 0 | 2 | 0 | 2 | 2 | 2 | อันดับ 4 (รอบคัดเลือก) | |||
2560 | ไทยลีก 4 (โซนกรุงเทพและปริมณฑล) |
30 | 12 | 9 | 9 | 49 | 36 | 45 | 4 | |||
2559 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | พงษ์กฤษณ์ โอถาวร | จักรราช โทนหงษา | ดิวิชั่น 2 | 20 | 6 | 4 | 10 | 18 | 33 | 22 | 8 |
2558 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | พงษ์กฤษณ์ โอถาวร | Bertrand Crasson | ดิวิชั่น 2 | 26 | 14 | 7 | 5 | 37 | 22 | 49 | 2 |
2557 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | พงษ์กฤษณ์ โอถาวร | Bertrand Crasson | ดิวิชั่น 2 | 26 | 15 | 8 | 3 | 35 | 15 | 53 | 5* |
2556 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | พงษ์กฤษณ์ โอถาวร | ณรงค์ ตราบดี | ดิวิชั่น 2 | 26 | 14 | 4 | 8 | 35 | 27 | 46 | 3 |
2555 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | พงษ์กฤษณ์ โอถาวร | รักพงษ์ แก้วแท้ | ดิวิชั่น 2 | 34 | 5 | 13 | 16 | 28 | 53 | 9 | 17 |
2554 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | หัสชัย ลีนะวัฒนา/ภาคภูมิ เกียรติศรีชาติ | สุวิทย์ หวัดแท่น/แบ เมียง โฮ | ดิวิชั่น 2 | 30 | 10 | 11 | 9 | 41 | 34 | 9 | |
2553 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | หัสชัย ลีนะวัฒนา | นพพร เอกศาสตรา | ดิวิชั่น 2 | 24 | 11 | 8 | 5 | 34 | 20 | 36 | 5 |
2552 | กู้ศักดิ์ สาระกิตติพันธ์ | วิรัช วงษ์สูง | ณรงค์ ตราบดี | ดิวิชั่น 2 | 18 | 7 | 3 | 8 | 24 | 25 | 22 | 5 |
2551 | กฤติเดช ชัยสิงหาญ | ฉัตรชัย ชุมนานนท์ | รักษ์พงษ์ แก้วแท้/ณรงค์ ตราบดี | ดิวิชั่น 2 กลุ่ม B | 20 | 8 | 7 | 5 | 31 | 22 | 31 | 4 |
2550 | กฤติเดช ชัยสิงหาญ | ประสิทธิ์ อิทธิกำจร | ณรงค์ ตราบดี | ดิวิชั่น 2 | 22 | 12 | 4 | 6 | 39 | 28 | 40 | 4 |
2549* | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | จิระยศ ภูมิจิตร | ณรงค์ ตราบดี | ดิวิชั่น 2 | 20 | 6 | 8 | 6 | 24 | 29 | 26 | 6 |
2548 | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | จิรชัย เงินมีศรี | ฤทธิ์ ชมน้อย | ถ้วย ข | 3 | 1 | - | 2 | รอบแรก | |||
2547 | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | วราศักดิ์ อุปถัมภ์นรากร | ดิวิชั่น 1 | 22 | 3 | 7 | 12 | 15 | 34 | 16 | 11 | |
2545/46 | พลเอก ม.ล.วิชัย ชยางกูร | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | วราศักดิ์ อุปถัมภ์นรากร | ไทยลีก | 18 | 2 | 3 | 13 | 16 | 44 | 9 | 10 |
2544 | เรวัติ ฉ่ำเฉลิม | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | วราศักดิ์ อุปถัมภ์นรากร | ดิวิชั่น 1 | 20 | 14 | 3 | 3 | 44 | 14 | ชนะเลิศ | |
2543 | ประกอบ พรหมบุตร | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | วราศักดิ์ อุปถัมภ์นรากร | ดิวิชั่น 1 | 16 | 9 | 4 | 3 | 24 | 13 | รองชนะเลิศ | |
2542 | ประกอบ พรหมบุตร | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | วราศักดิ์ อุปถัมภ์นรากร | ถ้วย ข | 7 | 6 | - | 1 | 17 | 3 | ชนะเลิศ | |
2541 | ประกอบ พรหมบุตร | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | วราศักดิ์ อุปถัมภ์นรากร | ถ้วย ค | 7 | 7 | - | - | 10 | 3 | ชนะเลิศ | |
2540 | ประกอบ พรหมบุตร | พ.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก | ฤทธิ์ ชมน้อย | ถ้วย ง | 7 | 7 | - | - | 15 | 7 | ชนะเลิศ |
หมายเหตุ
ครั้งที่ | ปี | ผู้อำนวยการโรงเรียน | หัวหน้าผู้ฝึกสอน | อันดับ |
---|---|---|---|---|
1 | พ.ศ. 2507 | อ.อารีย์ เสมประสาท | ||
2 | พ.ศ. 2508 | อ.อารีย์ เสมประสาท | ชนะเลิศอันดับ 1 ร่วม(เทพศิรินทร์) | |
5 | พ.ศ. 2513 | อ.อารีย์ เสมประสาท | ชนะเลิศอันดับ 1 | |
8 | พ.ศ. 2521 | อ.อารีย์ เสมประสาท | อ.วิโรจน์ ภิญโภบริสุทธิ์ | รองชนะเลิศอันดับ 2 |
9 | พ.ศ. 2524 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | อ.ประเดิม ม่วงเกษม | รองชนะเลิศอันดับ 2 ร่วม(อัสสัมชัญ) |
10 | พ.ศ. 2525 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | ||
11 | พ.ศ. 2526 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | ||
12 | พ.ศ. 2527 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | รองชนะเลิศอันดับ 1 | |
13 | พ.ศ. 2528 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | ||
14 | พ.ศ. 2530 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | ||
15 | พ.ศ. 2532 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | อ.ภูษิต จันทร์จิเรศรัศมี | รองชนะเลิศอันดับ 3 |
16 | พ.ศ. 2534 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | อ.เสนอ ไชยยงค์ | ชนะเลิศอันดับ 1 |
17 | พ.ศ. 2536 | อ.บุญเกียรติ นิลมาลย์ | อ.ธวัชชัย มิ่งมงคล | รองชนะเลิศอันดับ 2 |
18 | พ.ศ. 2538 | อ.บุญเกียรติ นิลมาลย์ | อ.ภูษิต จันทร์จิเรศรัศมี | รองชนะเลิศอันดับ 2 |
19 | พ.ศ. 2540 | อ.บุญเกียรติ นิลมาลย์ | อ.วิโรจน์ มูฮำหมัด | ชนะเลิศอันดับ 1 ร่วม(เทพศิรินทร์) |
20 | พ.ศ. 2542 | อ.ประกอบ พรหมบุตร | อ.วิโรจน์ มูฮำหมัด | ชนะเลิศอันดับ 1 ร่วม(เทพศิรินทร์) |
21 | พ.ศ. 2544 | ดร.จารีต องคะสุวรรณ | อ. ฤทธิ์ ชมน้อย | ชนะเลิศอันดับ 1 ร่วม(สวนกุหลาบ) |
22 | พ.ศ. 2546 | ดร.จารีต องคะสุวรรณ | อ. ณรงค์ ตราบดี | ชนะเลิศอันดับ 1 |
23 | พ.ศ. 2548 | ดร.วรนุช ตรีวิจิตรเกษม | อ. ณรงค์ ตราบดี | ชนะเลิศอันดับ 1 ร่วม(อัสสัมชัญ) |
24 | พ.ศ. 2550 | ดร.วรนุช ตรีวิจิตรเกษม | อ.จักรราช โทนหงษา | รองชนะเลิศ |
25 | พ.ศ. 2552 | ดร.วรนุช ตรีวิจิตรเกษม | อ.จักรราช โทนหงษา | ชนะเลิศอันดับ 1 |
26 | พ.ศ. 2555 | ดร.วรนุช ตรีวิจิตรเกษม | อ.ประจักษ์ เวียงสงค์ | ชนะเลิศอันดับ 1 ร่วม(สวนกุหลาบ) |
27 | พ.ศ. 2557 | ดร.วรนุช ตรีวิจิตรเกษม | อ.ประจักษ์ เวียงสงค์ | ชนะเลิศอันดับ 1 ร่วม(อัสสัมชัญ) |
28 | พ.ศ. 2560 | อ.ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ | รองชนะเลิศอันดับ 1 | |
29 | พ.ศ. 2562 | อ.ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ | รองชนะเลิศอันดับ 1 | |
30 | พ.ศ. 2566[5] | อ.วราภรณ์ ทรัพย์สมบูรณ์ | ธนพัต ณ ท่าเรือ | ชนะเลิศอันดับ 1 ร่วม(สวนกุหลาบ) |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.