Loading AI tools
ชุดของคลื่นน้ำที่เกิดจากการกระจัดของปริมาณมากของน้ำ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สึนามิ (ญี่ปุ่น: 津波; โรมาจิ: tsunami; "คลื่นที่ท่าเรือ" หรือ "คลื่นชายฝั่ง"[1], ออกเสียง [t͡sɨᵝna̠mʲi]) เป็นกลุ่มคลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ของปริมาตรน้ำก้อนใหญ่ คือ มหาสมุทรหรือทะเลสาบขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟและการระเบิดใต้น้ำอื่น ๆ (รวมทั้งการจุดวัตถุระเบิดหรือวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่แน่ชัดว่าการจุดระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำทำให้เกิดสึนามิจริงไหม จากการวิจัยพบเพียงแค่ผลกระทบเล็กน้อยที่ชายฝั่ง และแรงของแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟใต้น้ำระเบิดก็ยังมีแรงมหาศาลมากกว่าระเบิดปรมาณูที่ถูกจุดติดใต้น้ำ 10,000 ลูก) ดินถล่ม ธารน้ำแข็งไถล อุกกาบาตตกและการรบกวนอื่น ไม่ว่าเหนือหรือใต้น้ำ ล้วนอาจก่อให้เกิดเป็นคลื่นสึนามิได้ทั้งสิ้น[2]
คลื่นสึนามิไม่เหมือนกับคลื่นทะเล (tidal wave) ตามปกติ เพราะมีความยาวคลื่นยาวกว่ามาก แทนที่จะเป็นคลื่นหัวแตก (breaking wave) ตามปกติ[3] คลื่นสึนามิเริ่มแรกอาจดูเหมือนกับว่าคลื่นน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว[4] และด้วยเหตุนี้ คลื่นสึนามิจึงมักเรียกว่าเป็นคลื่นยักษ์/คลื่นชายฝั่ง[5] ถึงแม้ว่าชุมชนนักวิทยาศาสตร์ไม่นิยมใช้คำนี้ เนื่องจากศัพท์นี้อาจเป็นความประทับใจเท็จในความสัมพันธ์ทั่วไประหว่างกระแสน้ำกับสึนามิ[6] โดยทั่วไป คลื่นสึนามิประกอบด้วยกลุ่มคลื่นซึ่งมีคาบเป็นนาทีหรืออาจมากถึงชั่วโมง มากันเรียกว่าเป็น "คลื่นขบวน" (wave train)[7] ความสูงของคลื่นหลายสิบเมตรนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ขนาดใหญ่ แม้ผลกระทบของคลื่นสึนามินั้นจะจำกัดอยู่แค่พื้นที่ชายฝั่ง แต่อำนาจทำลายล้างของมันสามารถมีได้ใหญ่หลวงและสามารถมีผลกระทบต่อทั้งแอ่งมหาสมุทร คลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ค.ศ. 2004 เป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คน ใน 14 ประเทศที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย
ธูซิดดิดีส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก เสนอเมื่อ 426 ปีก่อนคริสตกาล ว่า คลื่นสึนามิเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวใต้ทะเล[8][9] แต่ความเข้าใจในธรรมชาติของคลื่นสึนามิยังมีเพียงเล็กน้อยกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 และยังมีอีกมากที่ยังไม่ทราบในปัจจุบัน ขณะที่แผ่นดินไหวที่รุนแรงน้อยกว่ามากกลับก่อให้เกิดคลื่น พยายามพยากรณ์เส้นทางของคลื่นสึนามิข้ามมหาสมุทรอย่างแม่นยำ และยังพยากรณ์ว่าคลื่นสึนามิจะมีปฏิสัมพันธ์กับชายฝั่งแห่งหนึ่ง ๆ อย่างไร
สึนามิ | |||||
"สึนามิ"ในอักษรคันจิ | |||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||
---|---|---|---|---|---|
คันจิ | 津波 | ||||
|
สึนามิ ออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นคือ /tsunami/ สึนามิ ซึ่งต่างกันเล็กน้อยกับการออกเสียงในภาษาอังกฤษว่า /suːnɑːmi (ː) / สึนามิ หรือ /tsuːnɑːmi (ː) / (ทซู) นามิ (ท ควบ ซ ในเสียงญี่ปุ่น) คำว่า "สึนามิ" มีความหมายว่า "ท่าเรือ" (津 สึ) และ "คลื่น" (波/浪 นามิ)
บางครั้งคลื่นสึนามิเรียกว่า คลื่นยักษ์[10] แต่ในช่วงปีหลัง คำนี้ค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงวิทยาศาสตร์ เพราะคลื่นสึนามิไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับกระแสน้ำเลย คำว่า "คลื่นยักษ์" ที่ครั้งหนึ่งเคยนิยมใช้นี้ มาจากลักษณะปรากฏทั่วไปที่สุด ซึ่งคือ คลื่นทะเลหนุน (tidal bore) สูงผิดปกติ ทั้งคลื่นสึนามิและกระแสน้ำต่างก็ก่อให้เกิดคลื่นน้ำที่พัดพาเข้าสู่ฝั่ง แต่ในกรณีของคลื่นสึนามิ การเคลื่อนที่ของน้ำในแผ่นดินนั้นยิ่งใหญ่กว่าและกินเวลานานกว่ามาก จึงให้ความรู้สึกของกระแสน้ำสูงอย่างน่าเหลือเชื่อ คำว่า "คลื่นสึนามิ" เองก็ไม่ถูกต้องนักเมื่อเทียบกับ "คลื่นยักษ์" เพราะคลื่นสึนามิไม่จำกัดอยู่เฉพาะกับท่าเรือ บรรดานักธรณีวิทยาและนักสมุทรศาสตร์ต่างไม่เห็นด้วยกับคำว่าคลื่นยักษ์ แต่เห็นว่าชื่อคลื่นตามลักษณะของคลื่นนั้นธรรมดาควรแทนชื่อด้วยศัพท์ทางธรณีวิทยาและสมุทรศาสตร์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คลื่นสึนามิแตกต่างจากคลื่นน้ำธรรมดามาก ตัวคลื่นนั้นสามารถเดินทางได้เป็นระยะทางไกล โดยไม่สูญเสียพลังงาน และสามารถเข้าทำลายชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลจากจุดกำเนิดหลายพันกิโลเมตรได้ โดยทั่วไปแล้วคลื่นสึนามิซึ่งเป็นคลื่นในน้ำ จะเดินทางได้ช้ากว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เป็นคลื่นที่เดินทางในพื้นดิน ดังนั้น คลื่นอาจเข้ากระทบฝั่งภายหลังจากที่ผู้คนบริเวณนั้นรู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวเป็นเวลาหลายชั่วโมง
คลื่นโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติสำคัญที่วัดได้อยู่สองประการคือ คาบ ซึ่งจะเป็นเวลาระหว่างลูกคลื่นสองลูก และ ความยาวคลื่น ซึ่งเป็นระยะห่างระหว่างลูกคลื่นสองลูก ในทะเลเปิดคลื่นสึนามิมีคาบที่นานมาก โดยเริ่มจากไม่กี่นาทีไปจนเป็นชั่วโมง ในขณะเดียวกันก็มีความยาวคลื่นที่ยาวมาก โดยอาจยาวถึงหลายร้อยกิโลเมตร ในขณะที่คลื่นทั่วไปที่เกิดจาก ลมที่ชายฝั่งนั้นมีคาบประมาณ 10 วินาที และมีความยาวคลื่นประมาณ 150 เมตรเท่านั้น ความสูงของคลื่นในทะเลเปิดมักน้อยกว่าหนึ่งเมตร ซึ่งทำให้ไม่เป็นที่สังเกตของผู้คนบนเรือ คลื่นสึนามิจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วตั้งแต่ 500 ถึง 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ชายฝั่งที่มีความลึกลดลง คลื่นจะมีความเร็วลดลงและเริ่มก่อตัวเป็นคลื่นสูง โดยอาจมีความสูงมากกว่า 30 เมตร
คลื่นสึนามิจะเคลื่อนตัวออกจากแหล่งกำเนิด ดังนั้น ชายฝั่งที่ถูกกำบังโดยแผ่นดินส่วนอื่น ๆ มักปลอดภัยจากคลื่น อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสที่คลื่นจะสามารถเลี้ยวเบนไปกระทบได้ นอกจากนี้ คลื่นไม่จำเป็นต้องมีความแรงเท่ากันในทุกทิศทุกทาง โดยความแรงจะขึ้นกับแหล่งกำเนิดและลักษณะของภูมิประเทศแถบนั้น[ต้องการอ้างอิง]
คลื่นจะมีพฤติกรรมเป็น "คลื่นน้ำตื้น" เมื่ออัตราส่วนระหว่างความลึกของน้ำและขนาดของคลื่นนั้นมีค่าต่ำ ดังนั้น เนื่องจากมีขนาดของคลื่นที่สูงมาก คลื่นสึนามิจึงมีคุณสมบัติเป็นคลื่นน้ำตื้นแม้อยู่ในทะเลลึกก็ตาม คลื่นน้ำตื้นนั้นมีความเร็วเท่ากับรากที่สองของผลคูณระหว่างความเร่งจากสนามแรงโน้มถ่วง (9.8 เมตร/วินาที2) และความลึกของน้ำ ตัวอย่างเช่น ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร คลื่นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 200 เมตรต่อวินาที หรือ 720 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนที่ชายฝั่งที่มีความลึก 40 เมตร คลื่นจะมีความเร็วช้าลงเหลือ 20 เมตรต่อวินาที หรือ 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมากเกิดการเคลื่อนตัว เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิดใต้มหาสมุทร หรืออุกกาบาตพุ่งชน
เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกะทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้เช่นกัน[ต้องการอ้างอิง]
นอกจากการกระทบกระเทือนที่เกิดใต้น้ำแล้ว การที่พื้นดินขนาดใหญ่ถล่มลงทะเล หรือการตกกระทบพื้นน้ำของวัตถุ ก็สามารถทำให้เกิดคลื่นได้ คลื่นสึนามิที่เกิดในรูปแบบนี้จะลดขนาดลงอย่างรวดเร็วและไม่มีผลกระทบต่อชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลมากนัก อย่างไรก็ตาม ถ้าแผ่นดินมีขนาดใหญ่มากพอ อาจทำให้เกิด เมกะสึนามิ ซึ่งอาจมีความสูงร่วมร้อยเมตรได้[ต้องการอ้างอิง]
เป็นคลื่นสึนามิที่เกิดจากระบวนการทางอุตุนิยมวิทยา อาจเกิดได้หลายสาเหตุเช่น ลมพายุขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศเหนือน้ำอย่างทันที ส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง ลมกรรโชก และเกิดแรงกดของน้ำ มักเกิดขึ้นในทะเลสาบทั้ง 5 ของสหรัฐอเมริกา ทะเลสาบฮูรอน สุพีเรีย และออนแทรีโอ มีโอกาสเกิดเมทิโอสึนามิความสูง 40-50 เซนติเมตร ในทุก ๆ ปี[11]
มีหลักฐานว่าเมกะสึนามิที่มีความสูงมากกว่า 100 เมตรนั้นเกิดขึ้นได้ เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นจากเนื้อที่ขนาดใหญ่บางส่วนของเกาะพังทลายลงสู่ทะเล หรืออุกกาบาตตกลงสู่ทะเล เมกะสึนามิจะสามารถทำอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อพื้นที่ชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลออกไปได้
ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสึนามิคือ คลื่นเซช (seiche) แผ่นดินไหวที่รุนแรงมักทำให้เกิดทั้งคลื่นสึนามิและคลื่นเซช มีหลักฐานว่าคลื่นเซชอาจเกิดจากคลื่นสึนามิได้เช่นกัน
คลื่นสึนามิที่สูงที่สุดที่เคยมีการบันทึกไว้มีความสูงกว่า 500 เมตร โดยเกิดจากแผ่นดินถล่มที่รัฐอลาสกาในปี ค.ศ. 1958 อย่างไรก็ตาม เมื่อคลื่นไปถึงทะเลเปิดมันได้สลายตัวไปอย่างรวดเร็ว ความสูงของคลื่นสึนามินั้นกำหนดโดยลักษณะของพื้นที่มากกว่าพลังงานที่เกิดจากแผ่นดินถล่ม
ส่วนค่าของความดันน้ำแบบ static หาได้จากสมการ
เมื่อ
P = ความดัน มีหน่วยเป็น นิวตัน/ตารางเมตร,
= ความหนาแน่นของน้ำทะเลมีค่า = 1.1 x 103 kg/m3
g = ค่าความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงซึ่งมีค่า = 9.8 m/s2
h = ความสูงของน้ำ
น้ำที่มีความลึกประมาณ 10 เมตร ดังนั้น ความดันของน้ำจะมีค่าเท่ากับ
หรือประมาณ 11 ตันต่อตารางเมตร[ต้องการอ้างอิง]
ขณะที่จุดต่ำสุดของคลื่นเคลื่อนเข้าสู่ฝั่ง ระดับน้ำทะเลจะลดลงและทำให้ขอบทะเลร่นถอยออกจากชายฝั่ง ถ้าชายฝั่งนั้นมีความลาดชันน้อย ระยะการร่นถอยนี้อาจมากถึง 800 เมตร ผู้ที่ไม่ทราบถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นอาจยังคงรออยู่ที่ชายฝั่งด้วยความสนใจ นอกจากนี้บริเวณที่ต่ำ อาจเกิดน้ำท่วมได้ก่อนที่ยอดคลื่นจะเข้าปะทะฝั่ง น้ำที่ท่วมนี้อาจลดลงได้ก่อนที่ยอดคลื่นถัดไปจะเคลื่อนที่ตามเข้ามา ดังนั้นการทราบข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นสึนามิจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ตระหนักถึงอันตราย ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ระดับน้ำในครั้งแรกลดลงไปนั้น อาจมีคลื่นลูกใหญ่ตามมาอีกได้
ประเทศและบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิได้มีการติดตั้งระบบเตือนภัยเพื่อพยากรณ์ และตรวจจับการเกิดขึ้นของคลื่นยักษ์นี้
แม้การป้องกันไม่ให้คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจะยังทำไม่ได้ ในบางประเทศได้มีการสร้างเครื่องป้องกันและลดความเสียหายในกรณีที่คลื่นสึนามิจะเข้ากระทบฝั่ง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นได้มีการสร้างกำแพงป้องกันสึนามิที่มีความสูงกว่า 4.5 เมตร ด้านหน้าของชายฝั่งบริเวณที่มีประชากรหนาแน่น บางที่ได้มีการสร้างกำแพงกันน้ำท่วมและทางระบายน้ำเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางของคลื่น และลดแรงกระแทกของคลื่น ถึงแม้ว่า ในกรณีของคลื่นสึนามิที่เข้ากระทบเกาะฮอกไกโดที่มักมีความสูงมากกว่าเครื่องกีดขวางที่ได้สร้างขึ้น กำแพงเหล่านี้อาจช่วยลดความเร็วหรือความสูงของคลื่นแต่ไม่สามารถที่จะป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้
สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 2004 หลังจากที่คลื่นสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้น้ำเข้ากระทบชายฝั่งทางใต้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกมาตรการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ เพื่อเตือนประชาชนให้ป้องกันตัวโดยไม่ต้องรอประกาศจากทางราชการ
แม้ว่าสึนามิจะเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ก็เป็นที่รู้จักกันดีว่าปรากฏการณ์สึนามิได้เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของโลกด้วยเช่นกัน และมีข้อมูลเก่าแก่มากมายหลายชิ้นที่พูดถึง "สึนามิ" ที่มีอำนาจทำลายล้างสูงนี้ ซึ่งเรียงตามลำดับการเกิดขึ้นก่อนหลังได้ดังต่อไปนี้[ต้องการอ้างอิง]
สึนามิที่เกิดขึ้นในช่วง 6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นคลื่นสึนามิใต้น้ำที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ อันเป็นผลจากการเลื่อนตัวของชั้นหินที่เรียกว่า "Storegga Slide" ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินใต้น้ำครั้งใหญ่ติดต่อกันเป็นระลอก ๆ ยาวนานเป็นเวลาหลายหมื่นปี[ต้องการอ้างอิง]
ในปี 1650 ก่อน ค.ศ. คลื่นสึนามิจากภูเขาไฟระเบิดในเกาะซานโตรินี่ (Santorini) ในช่วงระหว่างปี 1650 ก่อน ค.ศ. ถึง 1600 ก่อน ค.ศ. (เวลาที่แน่นอนยังถกเถียงกันอยู่) ภูเขาไฟในเกาะซานโตรินี่ของกรีซระเบิดขึ้น ทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำ "สึนามิ" ที่มีความสูงตั้งแต่ 100 เมตรถึง 150 เมตร ซึ่งถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งทางด้านเหนือของเกาะครีต (Crete) ซึ่งอยู่ห่างออกไป 70 กิโลเมตร (45 ไมล์) พร้อมกวาดทำลายต้นไม้ทุกต้นที่ขึ้นอยู่ในแนวป่ามิโนอัน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเขียวชอุ่มรอบชายฝั่งทางเหนือของครีตจนหายวับไปหมดในชั่วพริบตา คาดกันว่าคลื่นใต้น้ำ "ซานโตรินี่" คือแหล่งข้อมูลที่ทำให้เพลโต (Plato) เกิดแรงบันดาลใจในการเขียนวรรณกรรมเป็นนวนิยายดังเรื่องแอตแลนติส (Atlantis) และนักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า คลื่นสึนามิ "ซานโตรินี่" ที่เกิดขึ้นครั้งนี้คือแหล่งที่มาสำคัญที่นำไปสู่การบันทึกถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก (Great Flood) ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทั้งของชาวยิว คริสเตียน และชาวอิสลาม
คลื่นใต้น้ำที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวที่เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ในปี ค.ศ. 1755 ชาวโปรตุเกสจำนวนหลายหมื่นคนรอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ลิสบอนในปี ค.ศ. 1755 แต่กลับต้องเสียชีวิตไปทันที ด้วยคลื่นสึนามิที่โถมเข้าทำลายหลังเกิดแผ่นดินไหวได้เพียงไม่กี่นาที เนื่องจากคนจำนวนมากหนีภัยแผ่นดินไหวออกไปยังแนวชายฝั่งทะเล ด้วยเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่มีความปลอดภัย พ้นอันตรายจากไฟไหม้ และการร่วงหล่นของเศษสิ่งของต่าง ๆ ได้ เมื่อเกิดอ๊าฟเตอร์ช็อก ก่อนหน้าที่กำแพงน้ำที่สูงใหญ่ จะถาโถมเข้าถล่มท่าเรือบนชายฝั่งนั้น น้ำทะเลได้เหือดแห้งลดระดับลงไปมากจนซากเรือสินค้าเก่า ๆ ที่ปรักหักพังและหลงลืมกันไปแล้ว โผล่ขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน
แผ่นดินไหว สึนามิ และไฟไหม้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้สังหารชาวเมืองลิสบอนไปมากกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนชาวเมืองทั้งหมดประมาณ 275,000 คน บันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสำรวจทางทะเลของ วาสโก ดา กามา และ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ที่เก็บไว้ก็สูญหายไป ตึกรามอาคารต่าง ๆ จำนวนนับไม่ถ้วนถูกทำลาย (รวมถึงตัวอย่างส่วนใหญ่ของสถาปัตยกรรมแบบ Manueline ของโปรตุเกส) การพังพินาศของลิสบอนยังส่งผลให้ความทะเยอทะยานด้านการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิโปรตุเกสสะดุดลงด้วย ชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 พยายามที่จะเข้าใจภัยพิบัติที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบของศาสนา และระบบความเชื่อในหลักแห่งเหตุผล นักปรัชญาในยุคส่องสว่าง (the Enlightenment) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วอลแตร์ ได้บันทึกเรื่องถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แนวความคิดหลักปรัชญาของการทำให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ดังเช่นที่อธิบายโดยนักปรัชญา อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) ในหนังสือ The Observation on the Feeling of the Beautiful and Sublime นั้นก็ได้แรงบันดาลใจบางส่วนมาจากความพยายามที่จะเข้าใจถึงความร้ายกาจของเหตุการณ์แผ่นดินไหว และคลื่นใต้น้ำสึนามิ ที่ลิสบอนครั้งนี้
สัตว์จำนวนมากรู้โดยสัญชาตญาณถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น และได้หนีภัยขึ้นไปยังพื้นที่สูง ก่อนหน้าที่น้ำทะเลจะซัดเข้าฝั่ง แผ่นดินไหวที่ลิสบอนเป็นกรณีแรกที่มีการบันทึกไว้เป็นเอกสารหลักฐาน เกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าวในทวีปยุโรป ปรากฏการณ์ในลักษณะนี้ ได้รับการบันทึกไว้เช่นกันในศรีลังกาในปี ค.ศ. 2004 เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย นักวิทยาศาสตร์บางรายสงสัยว่าสัตว์ต่าง ๆ อาจมีความสามารถในการรับสัญญาณคลื่นเรย์ลีความถี่ต่ำ (subsonic Rayleigh waves) ได้จากการไหวของแผ่นดินในช่วงเวลาไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมง ก่อนที่คลื่นใต้น้ำจะพัดกระหน่ำเข้าสู่ชายฝั่ง
ภูเขาไฟบนเกาะกรากะตัว ในประเทศอินโดนีเซีย เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อปี ค.ศ. 1883 พ่นหินเหลวละลายใต้ปล่องภูเขาไฟออกมาจำนวนมาก เกิดโพรงขนาดใหญ่ขึ้นใต้ดิน ทำให้พื้นแผ่นดินที่อยู่เบื้องบนและพื้นทะเลยุบตัวลง ส่งผลให้เกิดระลอกคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ขึ้น บางลูกมีความสูงกว่า 40 เมตรจากระดับน้ำทะเล ระลอกคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวในอินโดนีเซียครั้งนี้เคลื่อนตัวถาโถมเข้าสู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรแปซิฟิก, ชายฝั่งตะวันตกของอเมริกา, อเมริกาใต้, และบริเวณที่ห่างไกลออกไปอีกในช่องแคบอังกฤษ ส่วนพื้นที่ชายฝั่งใกล้เคียงในเกาะชวาและสุมาตรา กระแสน้ำทะเลไหลบ่าท่วมทะลักเข้าไปถึงพื้นแผ่นดินภายในซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลเข้าไปเป็นระยะทางหลายไมล์ สร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงแก่สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติครั้งนี้ และทำให้ไม่มีการเข้าไปตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวอีกเลย ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้ได้กลายเป็นเขตป่าทึบมีชื่อว่า เขตอนุรักษ์ธรรมชาติอูจังกูลอน (Ujung Kulon nature reserve)
ค.ศ. 1946 - สึนามิแปซิฟิก (Pacific Tsunami) แผ่นดินไหวในหมู่เกาะอาลิวเชียน ในปี ค.ศ. 1946 ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่ถาโถมเข้าสู่ฮาวายและอะแลสกา ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 165 คน มหันตภัยสึนามิที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นส่งผลให้เกิดการก่อสร้างระบบเตือนภัยสึนามิสำหรับบรรดาประเทศที่ตั้งอยู่ตามบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกขึ้นในปี ค.ศ. 1949
ค.ศ. 1960 - สึนามิชิลี (Chilean tsunami) แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ชิลี (The Great Chilean Earthquake) แมกนิจูด 9.5 ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ เกิดขึ้นบริเวณนอกชายฝั่งตอนกลางทางใต้ของประเทศชิลี ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่สร้างความวิบัติหายนะอย่างรุนแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20[ต้องการอ้างอิง] คลื่นสึนามิเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด ขนาดคลื่นมีความสูงถึง 25 เมตร เมื่อคลื่นสึนามิเคลื่อนตัวเข้าถล่มโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น หลังจากเกิดแผ่นดินไหวนานเกือบ 22 ชั่วโมงนั้น ขนาดความสูงของคลื่นที่มีการบันทึกไว้ระบุว่าสูงถึง 10 ฟุตเหนือระดับกระแสน้ำ ประมาณการณ์ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นตามมามีจำนวนระหว่าง 490 - 2,290 ราย[ต้องการอ้างอิง]
ค.ศ. 1964 - สึนามิกู๊ดฟรายเดย์ (Good Friday Tsunami) แผ่นดินไหวกู๊ดฟรายเดย์ขนาด 9.2 ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1964 ก่อให้เกิดคลื่นสินามิถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งอะลาสก้า, บริติช โคลัมเบีย, แคลิฟอร์เนียและชายฝั่งเมืองแปซิฟิกนอร์ธเวสต์ในสหรัฐอเมริกา ทำให้ประชาชนเสียชีวิต 122 คน คลื่นสึนามิมีความสูงถึง 6 เมตร ในเมือง Crescent City ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปในแคลิฟอร์เนียมีผู้เสียชีวิต 11 คน[ต้องการอ้างอิง]
ค.ศ. 1983 - สึนามิในทะเลญี่ปุ่น (sea of japan tsunami) เป็นคลื่นสึนามิที่ส่งผลกระทบไปทั่วทะเลญี่ปุ่นโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เกิดจากแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิที่มีความสูงกว่า 10 เมตร เข้าถล่มแนวชายฝั่งตะวันตกของญี่ปุ่นโดยเฉพาะจังหวัดอาโอโมริและจังหวัดอากิตะ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 104 ราย บาดเจ็บ 324 ราย
ค.ศ. 2004 - สึนามิจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย คลื่นสึนามิครั้งแรกในประเทศไทยเกิดจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ระลอกคลื่นยักษ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตล่าสุดจำนวนกว่า 165,000 ราย[ต้องการอ้างอิง] (มากกว่า 105,000 รายเสียชีวิตในอินโดนีเซีย[ต้องการอ้างอิง]) คลื่นสึนามิได้ถาโถมเข้าถล่มและคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หรือบริเวณที่ใกล้กับจุดเกิดแผ่นดินไหว เช่น อินโดนีเซีย, ไทย, และพื้นที่บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย ไปจนถึงพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปหลายพันกิโลเมตรในบังกลาเทศ, อินเดีย, ศรีลังกา, หมู่เกาะมัลดีลฟ์, และแม้กระทั่งโซมาเลีย, เคนยา, และแทนซาเนีย ซึ่งตั้งอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก[ต้องการอ้างอิง]
ประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดียเหล่านี้ ยังไม่มีระบบเตือนภัยคลื่นสึนามิที่สมบูรณ์พอดังเช่นประเทศในภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนหนึ่งเนื่องจากไม่มีภัยพิบัติที่เกิดจากคลื่นยักษ์ในภูมิภาคมานานแล้ว นับตั้งแต่เกิดคลื่นสึนามิจากการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวในปี ค.ศ. 1883 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 36,000 คน [ต้องการอ้างอิง] ภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียล่าสุดนี้ส่งผลให้ยูเนสโกและองค์การระหว่างประเทศหลายแห่งออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้องให้มีการจัดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิโลกขึ้น[ต้องการอ้างอิง]
ค.ศ. 2011 - แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ (ญี่ปุ่น: 東北地方太平洋沖地震) เกิดจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 แผ่นดินไหวดังกล่าวก่อให้เกิดจากการนูนขึ้น 5 ถึง 8 เมตร บนก้นทะเลยาว 180 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งตะวันออกของโทโฮกุ 60 กิโลเมตร ทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงตามแนวชายฝั่งแปซิฟิกของหมู่เกาะตอนเหนือของญี่ปุ่น และส่งผลให้เกิดความสูญเสียชีวิตนับหลายพัน และหลายเมืองถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง คลื่นสีนามิยังได้แพร่ขยายไปทั่วมหาสมุทรแปซิฟิก และมีการออกคำเตือนและคำสั่งอพยพในหลายประเทศที่ติดมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งตลิดชายฝั่งแปซิฟิกของอเมริกาเหนือและใต้ ตั้งแต่อะแลสกาไปจนถึงชิลี คลื่นสึนามิสูง 38.9 เมตรถูกประเมินที่คาบสมุทรโอโมเอะ เมืองมิยาโกะ จังหวัดอิวาเตะ
สึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สึนามิในเอเชียใต้[12]
...
สึนามิที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมาของโลกยังมีอีกมากมาย ที่สำคัญ ๆ ประกอบด้วย
ไปเกือบหมด และมีแผ่นดินบางส่วนจมลงไปใต้น้ำ [ต้องการอ้างอิง]
มีความเป็นไปได้ว่าเป็นคลื่นสึนามิในบริเวณ[13]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.