สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัย และมีบทบาทเป็นหน่วยงานกลางในการทำหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนการวิจัยทั้งด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์

ข้อมูลเบื้องต้น ภาพรวมสำนักงาน, ก่อตั้ง ...
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
National Research Council of Thailand
Thumb
ตราสัญลักษณ์ของสำนักงาน
ภาพรวมสำนักงาน
ก่อตั้ง19 กันยายน พ.ศ. 2499; 68 ปีก่อน (2499-09-19)
สำนักงานก่อนหน้า
  • สำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ
  • สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ประเภทส่วนราชการ
สำนักงานใหญ่196 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
บุคลากร453 คน (พ.ศ. 2566)
งบประมาณต่อปี586,078,800 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ฝ่ายบริหารสำนักงาน
  • วิภารัตน์ ดีอ่อง, ผู้อำนวยการ
  • เสาวนีย์ มุ่งสุจริตการ, รองผู้อำนวยการ
  • ว่าง, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดสำนักงานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เว็บไซต์เว็บไซต์ของสำนักงาน
ปิด

ประวัติ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เดิมใช้ชื่อว่า "สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ" (National Research Council of Thailand) ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในชื่อว่า "สภาวิจัยแห่งชาติ" ในปี พ.ศ. 2499 ตามพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2499 โดยแต่งตั้งอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์เป็นเลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติโดยตำแหน่ง และตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติขึ้นที่กรมวิทยาศาสตร์เป็นการชั่วคราว พร้อมทั้งได้กำหนดสาขาวิชาการที่จะวิจัยไว้เฉพาะด้านวิทยาศาสตร์โดยแบ่งออกเป็น 6 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ เคมีและเภสัชวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตรศาสตร์และวนศาสตร์ และสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2502 รัฐบาลโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ แทนพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๙๙ พร้อมทั้งจัดระบบงานและองค์ประกอบของสภาวิจัยแห่งชาติใหม่โดยให้มี "สำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ" ปฏิบัติงานให้กับสภาวิจัยแห่งชาติและเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2502 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางเกี่ยวกับการวิจัยของประเทศ

พ.ศ. 2507 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ เพื่อกำหนดหน้าที่ของสภาวิจัยแห่งชาติและสำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๑๕ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ แก้ไขพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ โดยมีการเปลี่ยนชื่อ "สำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ" เป็น "สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ" [2]

พ.ศ. 2522 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้โอนไปอยู่ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน (ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม") เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2535

พ.ศ. 2543 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้โอนไปอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี โดยมีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ด้วยเหตุผลที่ว่า เพื่อให้สำนักงานฯ ได้มีบทบาทเป็นหน่วยงานกลางในการทำหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนการวิจัยทั้ง ด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้อย่างแท้จริงตามกฎหมายว่าด้วยสภาวิจัยแห่ง ชาติรวมทั้งสามารถให้คำปรึกษารัฐบาลเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการวิจัยได้โดยรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ อีกทั้งเพื่อให้สำนักงานฯ ได้อยู่ในสายการบังคับบัญชาเดียว คือ ขึ้นตรงกับประธานสภาวิจัยแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรี) ซึ่งตามพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติได้ระบุให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการทำงานของสำนักงานฯ อยู่แล้ว

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 รัฐบาลได้ประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูประบบราชการ คือ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ซึ่งในหมวด 21 ได้กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง[3] มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัยและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และมีฐานะเป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์) กำกับการบริหารราชการ และสั่งและปฏิบัติราชการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติแทน

วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ (คพน.) ครั้งที่ 3/2559 ที่ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้มีมติให้ควบรวมคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติและคณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศเข้าด้วยกันเรียกว่า คณะกรรมการนโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (นวนช.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อให้นโยบายวิจัยและนวัตกรรมของประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกันรวมถึงลดความซ้ำซ้อนในการทำงานของคณะกรรมการทั้ง 3 คณะ

ต่อมาในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้มีการจัดตั้ง สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ขึ้นตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 62/2559 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยให้ยุบสภาวิจัยแห่งชาติรวมถึงคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการสาขาวิชาการและให้โอนอำนาจหน้าที่ไปเป็นของสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ [4]

ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 กำหนดให้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง เป็น สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม [5] พร้อมกับโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ ภาระผูกพัน เงินงบประมาณบุคลากรของ "สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ" ไปเป็นของ "สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ" ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม เป็นต้นไป[6]

ในเดือนเมษายน​ พ.ศ. 2563​ ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับนวัตกรรม การแพทย์ การวิจัย และพัฒนา[7]

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ได้รับตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการนวัตกรรมการแพทย์และการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นศูนย์ในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019[8][9]

รายชื่อเลขาธิการและผู้อำนวยการหน่วยงาน

รายชื่อเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ข้อมูลเพิ่มเติม ชื่อ, ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง ...
ชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง[10]
1. ดร.จ่าง รัตนะรัต 19 กันยายน พ.ศ. 2499—1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502
2. พลเอกเนตร เขมะโยธิน 16 ธันวาคม พ.ศ. 2502—30 กันยายน พ.ศ. 2512
3. ศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ เชี่ยวสกุล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512—30 กันยายน พ.ศ. 2516
4. ศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516—30 กันยายน พ.ศ. 2524
5. ศาสตราจารย์ ดร.จุมพล สวัสดิยากร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524—30 กันยายน พ.ศ. 2532
6. ดร.เจริญ วัชระรังษี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532—30 กันยายน พ.ศ. 2533
7. ดร.อภิรัต อรุณินท์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533—30 กันยายน พ.ศ. 2538
8. ดร.สุวิทย์ วิบูลย์เศรษฐ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538—31 ตุลาคม พ.ศ. 2540
9. นายจิรพันธ์ อรรถจินดา 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540—30 กันยายน พ.ศ. 2547
10. ศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ บุณยะรัตเวช 21 มกราคม พ.ศ. 2548—30 กันยายน พ.ศ. 2552
11. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552—30 กันยายน พ.ศ. 2558
12. นางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ [11] 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558—30 กันยายน พ.ศ. 2559
13. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล [12] 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559—5 ตุลาคม พ.ศ. 2559
13. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล [13] 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559[14]—1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ปิด

รายชื่อผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ

ข้อมูลเพิ่มเติม ชื่อ, ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง ...
ชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง[15]
13. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล [16] 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562—30 กันยายน พ.ศ. 2563
14. ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564—ปัจจุบัน
ปิด

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.