Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานการบูรณะ (ญี่ปุ่น: 復興庁; โรมาจิ: Fukkyō Chō; ทับศัพท์: ฟุกโกโจ) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่น ขึ้นตรงต่อคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น[1] ที่จัดตั้งขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เพื่อประสานงานการบูรณะฟื้นฟูที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 และภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งแทนกองบัญชาการการบูรณะเนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในตะวันออกของญี่ปุ่นที่จัดตั้งขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554[1][2]
復興庁 ฟุกโกโจ | |
ตึกศูนย์ราชการที่ 4 ซึ่งเป็นที่ทำการสำนักงานการบูรณะ (โตเกียว) ตั้งอยู่ | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
เขตอำนาจ | ญี่ปุ่น |
สำนักงานใหญ่ | ตึกศูนย์ราชการที่ 4 1-1 คาซูมิงาเซกิ เขตชิโยดะ โตเกียว 100-0013 ประเทศญี่ปุ่น |
บุคลากร | 417 คน |
งบประมาณต่อปี | 2.433 ล้านล้านเยน |
ต้นสังกัดหน่วยงาน | รัฐบาลญี่ปุ่น |
ภารกิจของหน่วยงานนี้มีดังนี้:[3]
สำนักงานการบูรณะถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อแทนที่ กองบัญชาการการบูรณะเนื่องจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในตะวันออกของญี่ปุ่น[4] สำนักงานการบูรณะในขณะนั้นนำโดย นายกรัฐมนตรีโยชิฮิโกะ โนดะ ซึ่งเขาได้รับหน้าที่ดังกล่าวเพื่อสร้างความแข็งแรงของผู้บริหารระดับสูง[5] ทัตสึฮิโระ ฮิราโนะ เป็นรัฐมนตรีการจัดการภัยพิบัติคนแรกก่อนถูกแทนที่โดยโอซามุ ฟูจิมูระในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555[6] ถึงแม้ว่าสำนักงานการบูรณะนั้นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แต่สำนักงานการบูรณะมีอำนาจเหนือกระทรวงอื่น ๆ[7][8] จากการคาดการณ์แล้ว การบูรณะจัดเสร็จสิ้นภายใน 10 ปีนับตั้งแต่ภัยพิบัติเกิดขึ้น ซึ่งจะยุบสำนักงานการบูรณะลง แต่หลังจากการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ได้มีการออกแนวนโยบายยุคการบูรณะและการฟื้นฟู (Basic Guidelines on Reconstruction and Revitalization) ซึ่งจะขยายกรอบเวลาการบูรณะและฟื้นฟูอีก 10 ปี (จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2573) ส่งผลให้สำนักงานฯ ยังคงดำเนินกิจการของตนเองต่อจนกว่าจะหมดวาระของกรอบเวลาดังกล่าว[1][9][10]
สำนักงานการบูรณะมีสำนักงานส่วนภูมิภาค 3 แห่งใน จังหวัดอิวาเตะ จังหวัดมิยางิ และจังหวัดฟูกูชิมะ อีกทั้งยังมีสำนักงานส่วนภูมิภาคขนาดเล็กในเมืองฮาจิโนเฮะ จังหวัดอาโอโมริ และเมืองมิโตะ จังหวัดอิบารากิ นอกจากนี้สำนักงานการบูรณะยังสร้างความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นเพื่อฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ภูมิภาคโทโฮกุที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิ และภัยพิบัตินิวเคลียร์ สำนักงานการบูรณะ สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น สมาคมผู้บริหารบริษัทญี่ปุ่น และหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ได้ร่วมกันจัดตั้งสภาการออกแบบบูรณะเพื่อตอบโต้ต่อแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในตะวันออกของญี่ปุ่น[5][11]
สำนักงานการบูรณะ (ญี่ปุ่น: 復興庁; โรมาจิ: Fukkōcho)
การก่อตั้งสำนักงานการบูรณะได้รับข้อวิพากย์วิจารณ์ทั้งการก่อตั้งที่ช้า และสถานที่ที่ตั้งของสำนักงาน ผู้พำนักอาศัยและข้าราชการในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ โดยอย่างยิ่ง ยูเฮ ซาโต ผู้ว่าราชการจังหวัดฟูกูชิมะได้กล่าวถึงความเฉื่อยช้าในการจัดตั้งสำนักงานฯ:[16]
ในมุมมองของผู้ประสบภัย ผมคงต้องตั้งคำถามจริง ๆ ว่า "พวกเขาสามารถจัดตั้งสำนักงานฯ ได้เร็วกว่านี้หรือไม่"
— ยูเฮ ซาโต (ผู้ว่าราชการจังหวัดฟูกูโอกะในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555)
การตรากฎหมายการจัดตั้งสำนักงานการบูรณะในรัฐสภาญี่ปุ่นนั้นถูกชลอลงสืบเนื่องจากการลาออกของนายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คังในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ทำให้การจัดต้ังสำนักงานฯ ถูกเลื่อนไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยที่นาโอโตะทราบถึงการบริหารงาน และควบคุมภัยพิบัติในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 ที่ช้าและให้คำมั่นสัญญาว่าจะเร่งดำเนินการฟื้นฟูอย่างเร็วที่สุด[5][18] ผู้พักอาศัยที่ถูกอพยพจากคลื่นสึนามิไคัคัดค้านแผนการก่อสร้างเมืองในจุดที่สูงขึ้น และห่างออกจากชายฝั่งมากขึ้นของสำนักงานการบูรณะ เพราะเห็นว่าเป็นการตัดขาดการเชื่อมต่อระหว่างรัฐ
บาลกลางและประชากรในภูมิภาคโทโฮกุ[19] ซึ่งหลังจากการตรวจสอบโครงการในขั้นต้นต่าง ๆ สำนักงานการบูรณะได้อนุมัติโครงการจำนวนมากในรอบที่สองของการตรวจสอบในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 รวมถึงกองทุนการปรับปรุงเมืองและเกษตรกรรม[20]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.