คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

สายกาจัง

รถไฟฟ้าสายแรกที่เปิดให้บริการในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สายกาจัง
Remove ads

รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายกาจัง (อังกฤษ: MRT Kajang line ;KGL)[4] [5] หรือชื่อเดิม สายซูไงบูโละฮ์-กาจัง เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินที่เปิดให้บริการในเขตกัวลาลัมเปอร์และปริมณฑล สายนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งมวลชนในหุบเขากลัง

ข้อมูลเบื้องต้น สายกาจัง, ข้อมูลทั่วไป ...
Remove ads
Remove ads

ประวัติ

สายซูไงบูโละฮ์-กาจัง เป็นหนึ่งในโครงการเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินสามสายในเขตหุบเขากลัง ใช้งบประมาณในการก่อสร้าว 36 พันล้านริงกิต[6]

เส้นทางเริ่มต้นจากตำบลซูไงบูโละฮ์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัวลาลัมเปอร์ ผ่านใจกลางกรุง ไปสิ้นสุดที่เมืองกาจัง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกัวลาลัมเปอร์ คาดว่าจะมีผู้โดยสารมาใช้งานประมาณ 1.2 ล้านคนต่อปี[6] การก่อสร้างระยะที่ 1 เริ่มจากซูไงบูโละฮ์ ไปสิ้นสุดที่เซอมันตัน ซึ่งจะเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 2016 ส่วนระยะที่ 2 สร้างจากเซอมันตัน ไปสิ้นสุดที่กาจัง ซึ่งจะเปิดให้บริการในกรกฎาคม ค.ศ. 2017[6]

เดิมที สายนี้เป็นสายรถไฟฟ้ารางเบา ระยะทาง 43 กิโลเมตร วิ่งจากตำบลดามันซารา ไปยังตำบลเชรัส ต่อมาได้ขยายเส้นทางไปยังซูไงบูโละฮ์ และกาจัง ซึ่งเพิ่มระยะทางอีก 8.8 กิโลเมตร และได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นรถไฟใต้ดิน ซึ่งจุผู้โดยสารได้มากกว่า[7]

สายนี้เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จะดำเนินการโดยบริษัทแรพิดเรล[8]

Remove ads

ข้อมูลทั่วไป

สรุป
มุมมอง

การจัดขบวน

รถไฟฟ้าสายนี้มีระยะทาง 51 กิโลเมตร วิ่งจากตำบลซูไงบูโละฮ์ ไปสิ้นสุดที่เมืองกาจัง เมื่อเปิดใช้งาน คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 1.2 ล้านคน รถไฟฟ้าเป็นแบบ 4 คันต่อขบวน จุผู้โดยสารได้ 1,200 คนต่อขบวนต่อทิศทาง และใน 1 วันจะมีผู้โดยสารใช้บริการทั้งหมด 400,000 คน ความถี่รถไฟฟ้า 3.5 นาที[9]

การปรับแก้ไขเส้นทางและสถานี

หลังจากที่โครงการนี้ได้นำเสนอเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ได้มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขเส้นทางและสถานีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[10]

  • ลดจำนวนสถานีจาก 35 สถานี เหลือเพียง 31 สถานี โดยมีสถานีสำรองในอนาคตอีก 3 สถานี ได้แก่
    • สถานี RRI อยู่ระหว่างสถานีกัมปงเซอลามัต–กวาซาดามันซารา
    • สถานีเทคโนโลยี อยู่ระหว่างสถานีกวาซาเซ็นทรัล–โกะตะดามันซารา
    • สถานีบูกิตเกียรา อยู่ระหว่างสถานีฟีลีดามันซารา–ปูซัตบันดาร์ดามันซารา
  • สถานีเซกชัน 17 ถูกยกเลิก
  • สถานี TTDI ถูกย้ายจากที่ตั้งเดิม 300 เมตร เนื่องจากติดย่านที่พักอาศัย[11]
  • สถานีบูกิตบินตังตะวันออก และบูกิตบินตังตะวันตก ถูกยุบรวมเป็นสถานีเดียวกัน มีชื่อว่า "สถานีบูกิตบินตัง"
  • ที่จอดรถถูกเพิ่มจาก 13 เป็น 16 แห่ง
  • ยกเลิกสถานีตามันเมสรา

รายชื่อสถานี

จะมี 31 สถานี โดยมีสถานีใต้ดินอยู่ 7 สถานี ช่วงทางใต้ดินยาว 9.5 กิโลเมตร[9] (แผนที่เส้นทาง เก็บถาวร 2014-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)[12] การเรียกชื่อสถานีบนขบวนรถ จะแตกต่างจะชื่อทางการเล็กน้อย[13] อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ข้อมูลเพิ่มเติม ระยะที่ 1 – เปิดในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี ค.ศ. 2016, ระยะที่ 2 – เปิดในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2017 ...

ระบบรถไฟฟ้า

ระบบรถไฟฟ้าผลิตโดยบริษัท ซีเมนส์ รถไฟฟ้าเป็นแบบไร้คนขับ พ่วง 4 คันต่อขบวน จุผู้โดยสารได้ 1,200 คนต่อขบวนต่อทิศทาง โดยรถไฟฟ้าจะเป็นรูปแบบเดียวกันกับที่ใช้ในรถไฟใต้ดินวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์[17]

  • ความยาวรถ: 18.6–20.1 เมตร
  • จำนวนประตูรถต่อหนึ่งฝั่ง: 4
  • ความยาวประตูรถ: 1400 มิลลิเมตร
  • การรับกระแสไฟฟ้า: 750 VDC รางที่สาม

มีศูนย์ซ่อมบำรุง 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ซ่อมบำรุงซูไงบูโละฮ์ และศูนย์ซ่อมบำรุงกาจัง[18]

Remove ads

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

Loading content...

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads