Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Samart Corporation Public Company Limited; ชื่อย่อ: SAMART)[2] เป็นบริษัทมหาชนจำกัดรูปแบบบริษัทผู้ถือหุ้น ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับระบบการสื่อสารโทรคมนาคม และเป็นบริษัทร่วมทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นผู้ดำเนินการโครงการสัมปทานที่ประมูลได้ ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านระบบสารสนเทศผ่านโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมต่าง ๆ ครบวงจรแบบบูรณาการให้แก่องค์กรภาครัฐและเอกชน[3]
ประเภท | บริษัทมหาชนจำกัด |
---|---|
การซื้อขาย | SET:SAMART |
อุตสาหกรรม | เทคโนโลยี |
รูปแบบ | บริษัทผู้ถือหุ้น |
ก่อตั้ง | 7 มีนาคม พ.ศ. 2532 |
สำนักงานใหญ่ | อาคารซอฟต์แวร์ปาร์ค ชั้น 35, 99/1 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี [1] |
บุคลากรหลัก | นาย ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ (ประธานกรรมการ) นาย เจริญรัฐ วิไลลักษณ์ (ประธานกรรมการบริหาร) นาย ประดัง ปรีชญางกูร (รองประธานกรรมการ) นาย วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ (กรรมการผู้จัดการ) |
เว็บไซต์ | https://www.samartcorp.com |
บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2532 ภายใต้ชื่อเดิม คือ บริษัท สามารถคอมเทค จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับงานทางด้านออกแบบและติดตั้งระบบสื่อสารโทรคมนาคม ต่อมาปี พ.ศ. 2535 จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด” และแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในปี พ.ศ. 2536[3]
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
1 | บริษัท วิไลลักษณ์ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง จำกัด | 148,854,100 | 14.79% |
2 | นาย วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ | 126,977,160 | 12.62% |
3 | นาย เจริญรัฐ วิไลลักษณ์ | 112,704,960 | 11.20% |
4 | นาย อภิศักดิ์ เทพผดุงพร | 39,675,500 | 3.94% |
5 | นาง จารุณี ชินวงศ์วรกุล | 33,600,000 | 3.34% |
บริษัทประกอบธุรกิจโดยการลงทุนผ่านบริษัทย่อยและร่วมในลักษณะบริษัทผู้ถือหุ้น โดยได้แบ่งโครงสร้างธุรกิจออกเป็น 3 สาย ดังนี้[3]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.