ความงาม (อังกฤษ: beauty) คือ สิ่งที่สวยงามที่ตาเรามองเห็นเป็นสิ่งที่เราคิด
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ความงามและสุนทรียศาสตร์
การจะเข้าใจถึงธรรมชาติและความหมายของความงามนั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงหลักปรัชญาของสุนทรียศาสตร์ ในสุนทรียศาสตร์นั้นมีนักปรัชญาหลายกลุ่ม รวมถึงกลุ่มที่เชื่อว่าความงามนั้นเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับผู้รับรู้ (subjective) และอีกกลุ่มที่เชื่อว่าความงามนั้นมีค่าที่เที่ยงแท้ (absolute, objective)
นอกจากนั้นยังมีนักปรัชญา เช่น โรเบิร์ต ชูมันน์ (Robert Schumann) ที่เป็นทั้งคีตกวีและนักวิจารณ์ ที่มีความเห็นว่าความงามนั้นจัดได้เป็นสองประเภท คือความงามโดยธรรมชาติ และความงามที่เกิดโดยมนุษย์. ความงามที่เกิดโดยธรรมชาติคือการสัมผัสและรับรู้ถึงสิ่งงามที่ปรากฏในธรรมชาติ แต่ความงามที่เกิดโดยมนุษย์คือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์และเข้าไปเกี่ยวข้องในธรรมชาติ ชูมันน์ยังบอกอีกว่าในศิลปะ มีความงามทั้งสองชนิดปรากฏอยู่ เพียงแต่ความงามโดยธรรมชาติคือความสุนทรีย์ทางอารมณ์ และความงามที่เกิดโดยมนุษย์คือความเข้าใจในผลงานศิลปะชิ้นนั้น
ทฤษฎีเรื่องความงาม
ทฤษฎีเรื่องความงามนั้นสามารถพบได้ตั้งแต่ยุคสมัยนักปราชญ์กรีกก่อนโสกราตีส เช่น พีทาโกรัส ซึ่งพีทาโกรัสก็ได้สันนิษฐานถึงความสัมพันธ์ระหว่างคณิตศาสตร์และความงาม พีทาโกรัสสังเกตว่าสิ่งที่มีสัดส่วนตามสัดส่วนทองคำ การวิจัยในปัจจุบันก็พบว่ามนุษย์ที่มีหน้าตาที่สมดุลและเป็นสัดส่วนตามสัดส่วนทองคำมักจะถูกมองว่างามกว่าคนอื่นๆ นี่เป็นหนึ่งในทฤษฏีหนึ่งที่อยู่บนพื้นฐานว่าความงามนั้นมีค่าที่เที่ยงแท้และไม่เกี่ยวข้องกับผู้รับรู้
ทฤษฏีที่ว่าความงามนั้นขึ้นอยู่กับผู้รับรู้กล่าวว่า ความงามเป็นเพียงสิ่งที่จิตใจมนุษย์ให้ค่าหรือตัดสิน ฉะนั้นความงามจึงเป็นสิ่งที่จิตสร้างขึ้น และอาจเปลี่ยนแปลงตามสภาวะของคนๆใดคนหนึ่งในเวลาใดเวลาหนึ่ง
ชาวอินเดียโบราณขนานนามความงามว่าเป็นสิ่งที่ใหม่อยู่เสมอ เป็นสิ่งที่นำพาจิตใจออกจากโลกที่เต็มไปด้วยความเก่าแก่และความเบื่อหน่าย
ความงามทางคณิตศาสตร์
นิยามของความงามยังครอบคลุมถึงคณิตศาสตร์ นักศณิตศาสตร์หรือผู้ที่หลงใหลในตัวเลขสามารถที่จะมีความเพลินและพึงพอใจกับการ "เล่น" หรือ "คำนวณ" คณิตศาสตร์. แม้แต่สูตรคณิตศาสตร์ ยังมีผู้ที่ชื่นชมว่างาม อย่างเช่น หรือที่เรียกกันว่า เอกลักษณ์ของออยเลอร์ ยังมีอีกหลายคนที่เห็นความงามเมื่อมองดูวิธีคิดหาคำตอบในคณิตศาสตร์ ดั่งที่เอ็ดน่า เซนท์วินเซนท์ มิลเลย์กล่าวไว้ถึงเรขาคณิตของยุคลิดว่า "มีเพียงยุคลิดที่มองเห็นความงดงามแท้"
ความสัมพันธ์อีกอย่างหนึ่งระหว่างคณิตศาสตร์และความงามคือดนตรี พีทาโกรัสเองมีทฤษฏีเกี่ยวกับวิธีที่ตัวโน้ตสัมพันธ์กันและความยาวของสายที่ให้กำเนิดเสียงนั้น
สัดส่วนทองคำ หรือ Golden Ratio (ซึ่งแทนด้วยตัวอักษรกรีก ฟี Φ) มีค่าประมาณ 1.618:1 และเป็นสัดส่วนที่ผู้คนมักให้ความเห็นว่างาม นั่นคือ สถาปัตยกรรมที่มีสัดส่วนนี้ หรือสิ่งของในธรรมชาติเช่นเปลือกหอยนอติลุส (nautilus) มักดูงามกว่าสิ่งที่ขาดสัดส่วนนี้ไป
ความงามในสังคมมนุษย์
การศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยลอนดอน กิลด์ฮอลล์, มหาวิทยาลัยลอนดอน เมโทรโพลิแทน และสถาบันจอห์นสัน ในปี พ.ศ. 2554 แสดงให้เห็นว่าคนที่หน้าตาดีมักมีรายได้มากกว่าคนที่หน้าตาดีน้อยกว่าถึง 11-15% รวมถึงมักได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากกว่าอีกด้วย[1]
ในปี พ.ศ. 2554 Daniel S. Hamermesh และ Jason Abrevaya จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน ได้เผยแพร่บทความวิจัยชื่อ “Beauty is the Promise of Happiness” โดยแสดงให้เห็นว่าคนที่หน้าตาดีมักมีรายได้มากกว่าคนที่หน้าตาดีน้อยกว่า 5% มีระดับความสุขมากกว่าราว 10% มีโอกาสได้รับความใส่ใจจากคนรอบข้างมากกว่า รวมถึงมีโอกาสได้มีคนรักหรือได้แต่งงานสูงกว่าด้วย อย่างไรก็ตามก็มีโอกาสสูงเช่นกันที่จะถูกเหยียดหรือถูกตั้งแง่อคติ กล่าวคือเมื่อมีจุดเด่นด้านรูปลักษณ์ภายนอกแล้วก็อาจถูกมองว่าด้อยในด้านอื่นได้[2]
ตัวละครเอกในงานการแสดงต่าง ๆ มักใช้ผู้แสดงที่มีรูปร่างหน้าตาดี และวงการบันเทิงต่าง ๆ ก็มักเลือกใช้ผู้ที่มีรูปร่างหน้าตาดีเป็นสำคัญ
การศัลยกรรมเพื่อความงามของใบหน้าหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็ได้รับความนิยมในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ธุรกิจความงามและศัลยกรรมความงามมีมูลค่าตลาดรวมสูงมาก เฉพาะในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดรวมไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2555 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง[1]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.