Remove ads
พระมหากษัตริย์บริเตนใหญ่ระหว่าง ค.ศ. 1727 ถึง 1760 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่[1] (อังกฤษ: George II of Great Britain) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์, ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค และเป็นเจ้านครรัฐแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ 11 มิถุนายน 1727 ถึง 25 ตุลาคม 1760
พระเจ้าจอร์จที่ 2 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งฮันโนเฟอร์ | |||||
ครองราชย์ | 11 มิถุนายน 1727 – 25 ตุลาคม 1760 | ||||
ราชาภิเษก | 11 ตุลาคม 1727 | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าจอร์จที่ 1 | ||||
ถัดไป | พระเจ้าจอร์จที่ 3 | ||||
รัชทายาท | |||||
นายกรัฐมนตรี | |||||
พระราชสมภพ | 30 ตุลาคม ค.ศ. 1683 ฮันโนเฟอร์, เยอรมนี | ||||
สวรรคต | 25 ตุลาคม ค.ศ. 1760 ปี) พระราชวังเค็นซิงตัน, ลอนดอน | (76||||
ฝังพระบรมศพ | 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1760 เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์, ลอนดอน | ||||
คู่อภิเษก | คาโรลีนแห่งบรันเดินบวร์ค-อันส์บัค | ||||
พระราชบุตร รายละเอียด |
| ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ฮันโนเฟอร์ | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ | ||||
พระราชมารดา | โซฟี โดโรเทอา แห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค | ||||
ลายพระอภิไธย |
นอกจากจะเป็นพระมหากษัตริย์ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และราชอาณาจักรไอร์แลนด์แล้วก็ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คและอัครเหรัญญิกและเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1727 จนถึงวันสวรรคต ทรงเป็นที่รู้จักจากการขัดแย้งกับพระราชบิดาหลายประการและต่อมากับพระราชโอรสของพระองค์เองด้วย แม้ว่าจะเป็นพระมหาษัตริย์แต่ก็ไม่ทรงมีอำนาจในการปกครองในระยะแรกที่ครองราชย์เท่าใดนัก อำนาจการปกครองในช่วงระยะเวลานั้นตกไปอยู่กับเซอร์โรเบิร์ต วอลโพล ผู้ที่ถือว่าเป็น “นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร”คนแรก [2]
พระเจ้าจอร์จที่ 2 มีพระนามเยอรมันว่า เกออร์ค เอากุสท์ (Georg August) ประสูติที่วังแฮร์เรินเฮาเซิน นครฮันโนเฟอร์ ราชรัฐเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค เป็นโอรสของเจ้าชายเกออร์ค ลูทวิช เจ้าชายผู้สืบบัลลังก์ฮันโนเฟอร์ (ต่อมาคือพระเจ้าจอร์จที่ 1) ซึ่งในวัยเด็กพระองค์ตรัสแค่ภาษาฝรั่งเศส แล้วจึงเริ่มเรียนภาษาเยอรมันเมื่อมีอายุสี่ปี[3] นอกจากนี้ยังเรียนภาษาอังกฤษกับอิตาลี แต่ตรัสไม่คล่องเท่าสองภาษาแรก ต่อมาในปี 1698 พระบิดาของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าผู้ครองฮันโนเฟอร์ ส่งผลให้เจ้าชายเกออร์ค เอากุสท์ กลายเป็นเจ้าชายผู้สืบบัลลังก์ฮันโนเฟอร์
พระบิดาของพระองค์ไม่อยากเห็นโอรสถูกบังคับให้แต่งงานกับคนที่ไม่ได้รักเหมือนที่เกิดขึ้นกับตนเอง อย่างน้อยที่สุดทรงอยากให้โอรสมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับผู้หญิงก่อนที่จะทำการหมั้นหมายใด ในกลางปี 1705 เจ้าชายเกออร์ค เอากุสท์ เดินทางไปราชสำนักแห่งนครอันส์บัคภายใต้ชื่อปลอมว่า "เมอซีเยอ เดอ บุช" เพื่อมองหาหญิงที่จะมาเป็นคู่ครอง ท้ายที่สุด พระองค์ได้รู้จักกับเจ้าหญิงคาโรลีเนอแห่งอันส์บัค ทั้งสองสมรสกันเมื่อ 2 กันยายน 1705
ในปี 1714 พระนางเจ้าแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ มีพระพลานามัยย่ำแย่ พรรควิกจึงสนับสนุนให้เจ้าชายเกออร์ค ลูทวิช เจ้าผู้ครองฮันโนเฟอร์และดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค (ผู้สืบสายเลือดโซฟีแห่งฮันโนเฟอร์และมีสิทธิ์ลำดับแรกตามกฎหมาย) ขึ้นครองราชสมบัติบริเตนใหญ่ ท้ายที่สุดเมื่อพระนางเจ้าแอนน์สวรรคตในปีนั้น เจ้าชายเกออร์ค ลูทวิช จึงได้เป็นกษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่ภายใต้นามว่า "พระเจ้าจอร์จที่ 1"
เมื่อพระบิดาได้รับการถวายราชสมบัติบริเตนใหญ่ เจ้าชายเกออร์ค เอากุสท์ (ออกเสียงอังกฤษคือ จอร์จ ออกัสตัส) ในวัย 30 ปีจึงเดินทางตามเสด็จพระบิดาไปยังเกาะบริเตนใหญ่ในเดือนกันยายน 1714 ทั้งสองเสด็จเข้ากรุงลอนดอนด้วยขบวนพระราชพิธี[4] ความยิ่งใหญ่ของลอนดอนสร้างความตื่นตะลึงแก่ทั้งคู่ เนื่องจากลอนดอนมีประชากรมากกว่าฮันโนเฟอร์ถึงห้าสิบเท่า เจ้าชายจอร์จ ออกัสตัส ได้รับยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ เจ้าหญิงคาโรลีเนอพร้อมพระบุตร เสด็จตามมาลอนดอนในหนึ่งเดือนให้หลัง
หลังพระเจ้าจอร์จที่ 1 ประดับในอังกฤษเป็นเวลาเกือบสองปี ก็เสด็จเยือนฮันโนเฟอร์ในเดือนกรกฎาคม 1716 และประทับที่ฮันโนเฟอร์เป็นเวลาหกเดือน เจ้าชายจอร์จ ออกัสตัส เจ้าชายแห่งเวลส์ ได้รับอำนาจในฐานะ "ผู้พิทักษ์และผู้แทนพระองค์แห่งอาณาจักร" (Guardian and Lieutenant of the Realm) เพื่อทำหน้าที่ปกครองแทนพระบิดา ในช่วงนี้ เจ้าชายแห่งเวลส์เสด็จตรวจราชการในภาคใต้ของอังกฤษ[5] และเปิดโอกาสให้ประชาชนบางส่วนได้รับชมการเสวยพระกระยาหารกลางวัน การออกงานต่างๆแทนพระบิดา ทำให้พระองค์ได้รับความนิยมชมชอบ
เนื่องด้วยพระเจ้าจอร์จที่ 1 (ผู้ตรัสภาษาอังกฤษไม่ได้) ไม่ได้เป็นที่นิยมชมชอบในหมู่ชาวบริติช พระองค์จึงรู้สึกอิจฉาลูกชายที่ได้รับความนิยมกว่าตัวพระองค์ ท้ายที่สุด ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูกก็ย่ำแย่ พ่อลูกทะเลาะเบาะแว้งกันหลายครั้ง จนในที่สุด พระเจ้าจอร์จที่ 1 ก็สั่งไล่พระโอรสออกจากพระราชวังเซนต์เจมส์ (ที่ประทับของกษัตริย์) เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์จำต้องย้ายออกจากพระราชวังเซนต์เจมส์ โดยที่ทิ้งพระบุตรให้อยู่ในความดูแลของพระเจ้าจอร์จที่ 1[6] ต่อมาพระเจ้าจอร์จที่ 1 ยอมอ่อนข้อให้ทั้งคู่เข้าวังได้สัปดาห์ละครั้ง[7]
ภายหลังถูกขับไล่จากวัง เจ้าชายแห่งเวลส์ก็ย้ายไปอยู่พระตำหนักเลสเตอร์ในละแวกเวสต์มินสเตอร์ แล้วคบหากับบรรดานักการเมืองฝ่ายค้านพระเจ้าจอร์จที่ 1 เป็นเวลาหลายปี[8] ทรงร่วมคัดค้านนโยบายหลายอย่างของพระบิดา เช่น นโยบายเพิ่มเสรีภาพทางศาสนา และนโยบายขยายดินแดนของฮันโนเฟอร์ด้วยเงินของสวีเดน[9] พระตำหนักเลสเตอร์กลายเป็นที่รวมตัวของนักการเมืองฝ่ายค้านบ่อยครั้ง เช่นเซอร์รอเบิร์ต วอลโพล ผู้ถูกปลดจากรัฐบาล
เมื่อพระเจ้าจอร์จที่ 1 เสด็จเยือนฮันโนเฟอร์อีกครั้งในปลายปี 1719 คราวนี้พระองค์ไม่ยอมแต่งตั้งเจ้าชายแห่งเวลส์ว่าว่าราชการแทนเหมือนครั้งก่อน แต่กลับตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ท้ายที่สุดในปี 1720 เซอร์รอเบิร์ต วอลโพล ร้องขอให้พ่อลูกคืนดีกันเพื่อให้ราษฎรเห็นถึงความสามัคคีในราชสำนัก ทั้งสองก็ยอมทำตามแบบไม่เต็มใจ วอลโพลได้รับแต่งตั้งกลับสู่ตำแหน่งในรัฐบาล แต่แล้วสถานการณ์ก็กลับเป็นเหมือนเดิม พระเจ้าจอร์จที่ 1 ยังคงไม่ยอมแต่งตั้งเจ้าชายแห่งเวลส์ให้ว่าราชการแทนในยามที่กษัตริย์ไม่อยู่[10] พระองค์เชื่อว่าตนเองโดนวอลโพลหลอกใช้เสียแล้ว ท้ายที่สุด พระองค์ก็ตัดสินใจใช้ชีวิตอย่างสงบกับพระชายา ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกต่อไป
พระเจ้าจอร์จที่ 1 สวรรคตในเดือนมิถุนายน 1727 ขณะประทับอยู่ในฮันโนเฟอร์ ส่งผลให้เจ้าชายแห่งเวลส์ขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่และเจ้าผู้ครองฮันโนเฟอร์ในวัย 43 ปีภายใต้พระนาม พระเจ้าจอร์จที่ 2 พระองค์ตัดสินใจไม่เสด็จไปร่วมงานพระศพของพระบิดาที่ฮันโนเฟอร์ เหตุนี้ได้รับเสียงชื่นชมจากชาวอังกฤษ ว่าพระองค์เลือกความเป็นอังกฤษมากกว่าความเป็นเยอรมัน[11] พระองค์ยับยั้งคำสั่งเสียของพระบิดา ที่หมายจะแยกการสืบราชบัลลังก์บริเตนใหญ่กับราชบัลลังก์ฮันโนเฟอร์ออกจากกันในรุ่นเหลน แทนที่จะให้บุคคลเดียวครองบัลลังก์ทั้งสอง รัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลฮันโนเฟอร์เห็นตรงกันว่าคำสั่งเสียพระเจ้าจอร์จที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากจอร์จที่ 1 ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะตัดสินประเด็นนี้เพียงลำพัง[12]
พระเจ้าจอร์จที่ 2 ประกอบพิธีราชาภิเษกที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เมื่อเดือนตุลาคม 1727[11] ในเวลานั้น หลายคนต่างคิดว่าพระองค์จะปลดเซอร์วอลโพลออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อเอาคืนที่เขาเคยหักหลังพระองค์เมื่อเจ็ดปีก่อน และแทนที่ด้วยสเปนเซอร์ คอมป์ตัน แต่ท้ายที่สุด พระนางคาโรลีนก็แนะนำให้พระองค์ไม่ปลดวอลโพล เนื่องจากวอลโพลยังคุมเสียงข้างมากในรัฐสภา และรัฐสภาชุดนี้ก็กำหนดให้มีการถวายเงินมหาถึงแปดแสนปอนด์ต่อปีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในพระองค์[13] (เทียบเท่าทองคำ 5.8 ตัน) ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าจอร์จที่ 1 จึงจำต้องให้วอลโพลเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป
วอลโพลเป็นผู้กำกับราชการภายในประเทศโดยตรง และภายหลังปี 1730 ก็เข้ากำกับราชการต่างประเทศโดยตรงด้วย นักประวัติศาสตร์มองว่าจอร์จที่ 2 ยอมเล่นบทที่มีเกียรติ พระองค์เชื่อฟังคำแนะนำของวอลโพลและคณะรัฐมนตรี และให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ตัดสินใจในประเด็นสำคัญ เห็นได้จากการที่พระองค์อยากเข้าร่วมกับกลุ่มราชรัฐเยอรมันในสงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์ แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี[14]
ในปี 1739 บริเตนใหญ่เริ่มวิวาทกับสเปนอีกครั้ง เหตุนี้สมใจพระเจ้าจอร์จแต่เป็นที่ขัดใจนายกรัฐมนตรีวอลโพล ท้ายที่สุดในปีต่อมา บริเตนใหญ่ก็ทำศึกกับสเปนในสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย ซึ่งในช่วงนี้ พระองค์ในฐานะเจ้าผู้ครองฮันโนเฟอร์เสด็จไปประทับในเยอรมนี เพื่อที่จะได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและรวดเร็ว
ในการเลือกตั้งทั่วไปคริสต์ศักราช 1741 วอลโพลไม่สามารถมีเสียงข้างมากในรัฐสภา ท้ายที่สุด วอลโพลก็ลาออกจากนายกรัฐมนตรีในปี 1742 หลังดำรงตำแหน่งถึงยี่สิบปี ผู้ที่มาแทนวอลโพลคือสเปนเซอร์ คอมป์ตัน เอิร์ลแห่งวิลมิงตัน อดีตตัวเต็งที่พระเจ้าจอร์จที่ 2 เคยจะแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อพึ่งขึ้นครองราชย์ อย่างไรก็ตาม อำนาจที่แท้จริงในคณะรัฐมนตรีวิลมิงตันกลับอยู่ที่คนอื่นอย่างลอร์ดคาร์เทอเร็ต[15] ซึ่งเป็นรัฐมนตรีคนโปรดของจอร์จที่ 2 ถัดจากวอลโพล[16]
พระเจ้าจอร์จที่ 2 สวรรคตด้วยเส้นพระโลหิตแตกในห้องสรงเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1760 พระศพถูกฝังไว้ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ โดยรัชกาลต่อไปเป็นพระเจ้าจอร์จที่ 3 พระราชนัดดา (ผู้เป็นพระโอรสในเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ ผู้ล่วงลับ)
ในฐานะเจ้าชายแห่งเวลส์ |
ในฐานะกษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่ |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.