สมเด็จพระสันตะปาปา (ละติน: papa มาจากคำว่า กรีก: πάππας, อักษรโรมัน: pappas, "บาทหลวง"; อังกฤษ: Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม[ก] (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก[2] คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2013

ข้อมูลเบื้องต้น บิชอปแห่งโรมPontifex maximus สมเด็จพระสันตะปาปา, คาทอลิก ...
บิชอปแห่งโรม

Pontifex maximus

สมเด็จพระสันตะปาปา
คาทอลิก
Thumb
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสในปี 2021
Thumb
สันตะสำนัก
(ตราสัญลักษณ์)
ดำรงตำแหน่ง:
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
13 มีนาคม ค.ศ. 2013
รูปแบบฮิส โฮลิเนส
ที่ตั้ง
ที่พำนัก
  • พระราชวังพระสันตะปาปา (ที่พำนักอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระสันตะปาปา)
  • Domus Sanctae Marthae (ที่ประทับปัจจุบันของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส)
สำนักงานใหญ่พระราชวังพระสันตะปาปา, นครรัฐวาติกัน
ข้อมูล
ประมุของค์แรกนักบุญซีโมนเปโตร[1]
นิกายโรมันคาทอลิก
สถาปนาศตวรรษที่ 1
มุขมณฑลโรม
อาสนวิหารอัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน
กำกับดูแลสันตะสำนัก
เว็บไซต์
Holy Father
ปิด

ตำแหน่งของพระสันตะปาปา ในภาษาอังกฤษเรียก ปาปาซี (Papacy) และรัฐบาลคริสตจักรในพระสันตะปาปาเรียก "สันตะสำนัก" ตั้งอยู่ที่กรุงโรม โดยถือตามความเชื่อสืบมาว่า นักบุญเปโตรและนักบุญเปาโลอัครทูตได้พลีชีพเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ที่นี่ พระสันตะปาปายังทรงดำรงตำแหน่งประมุขนครรัฐวาติกันด้วย[3] ซึ่งเป็นรัฐอธิปไตยที่ตั้งอยู่ภายในกรุงโรม

ตำแหน่งพระสันตะปาปาถือเป็นตำแหน่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลกตำแหน่งหนึ่ง และมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์โลก[4] ในสมัยโบราณพระสันตะปาปามีหน้าที่หลักในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์และตัดสินข้อขัดแย้งด้านความเชื่อภายในคริสตจักร[5] ในสมัยกลางพระสันตะปาปามีบทบาทสำคัญมากในทางโลกในยุโรปตะวันตกด้วย เช่น เป็นผู้ตัดสินความขัดแย้งระหว่างประมุขของรัฐ รวมถึงสงครามหลายครั้ง ปัจจุบันนี้นอกจากจะทำหน้าที่ด้านเผยแผ่ศาสนาคริสต์แล้ว พระสันตะปาปายังปฏิบัติพระกรณียกิจด้านคริสต์ศาสนสัมพันธ์และศาสนสัมพันธ์ งานการกุศล และการปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วย[6][7]

ตั้งแต่สมัยใหม่เป็นต้นมา พระสันตะปาปาได้สูญเสียอำนาจทางฝ่ายโลก ปัจจุบันจึงเน้นแต่ด้านศาสนา ในปี ค.ศ. 1870 คริสตจักรโรมันคาทอลิกมีประกาศคำสอนต้องเชื่อว่าพระสันตะปาปาไม่เคยผิดพลาดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม[5] แต่ก็ไม่ค่อยประกาศใช้บ่อยครั้งนัก การประกาศครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1950 เรื่องยืนยันว่าเรื่องแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์เป็นคำสอนต้องเชื่อ

ประวัติ

คำว่า Papa ในภาษาละติน หรือ Pappas ในภาษากรีก แปลว่า บิดา ศาสนาคริสต์ตะวันออกได้ใช้คำนี้เพื่อหมายถึงมุขนายกและบาทหลวงระดับสูงในคริสตจักร ต่อมาคำนี้ถูกใช้เป็นคำนำหน้านามของอัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรียมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 และต่อมาจึงใช้กับบรรดามุขนายกในศาสนาคริสต์ตะวันตกด้วย มาร์เซลลินุสเป็นมุขนายกองค์แรกของคริสตจักรกรุงโรมที่ใช้คำนำหน้านามว่าพระสันตะปาปา แต่ก็เป็นการใช้อย่างไม่เป็นทางการ จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา คริสตจักรโรมันคาทอลิกจึงใช้คำว่าพระสันตะปาปากับมุขนายกแห่งกรุงโรมโดยเฉพาะ และในคริสต์ศตวรรษที่ 11 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 ได้ประกาศให้คำว่า "พระสันตะปาปา" สงวนไว้ใช้กับมุขนายกแห่งกรุงโรมเท่านั้น[8]

พระอิสริยยศทางการ

รายชื่อพระอิสริยยศอย่างเป็นทางการของพระสันตะปาปาตามหนังสือ Annuario Pontificio (รายงานประจำปีของสันตะสำนัก) ได้แก่

มุขนายกแห่งโรม, ผู้แทนพระคริสต์, ผู้สืบตำแหน่งเจ้าชายแห่งอัครทูต, ปอนทิฟสูงสุดแห่งพระศาสนจักรสากล, ไพรเมตแห่งอิตาลี, อัครมุขนายกและมุขนายกมหานครแห่งแขวงโรม, อธิปัตย์แห่งนครรัฐวาติกัน, ผู้รับใช้ของบรรดาผู้รับใช้พระเป็นเจ้า.[9]

ส่วนคำว่า "พระสันตะปาปา" (Papa) ไม่ปรากฏเป็นพระอิสริยยศทางการ แต่มักใช้เป็นชื่อเอกสาร และเขียนย่อเป็น PP. (มาจาก papa pontifex) กำกับลงท้ายในลายพระอภิไธย เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 ทรงลงพระนามว่า "Paulus PP. VI"[10][11][12][13][14]

รายพระนามสมเด็จพระสันตะปาปา

ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปา

สรุป
มุมมอง

ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปา หรือ พระสันตะปาปาซ้อน (antipope) หมายถึง ผู้ที่เป็นพระสันตะปาปาโดยไม่ถูกต้อง ทั้งที่อ้างตัวเอง เกิดจากความสับสน หรือได้รับเลือกให้เป็นพระสันตะปาปาแล้ว แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ หรือได้รับตำแหน่งโดยถูกต้องแล้ว แต่ถือกันว่าเป็นพระสันตะปาปาอย่างไม่ถูกต้อง และเป็นปรปักษ์ต่อพระสันตะปาปาที่ได้รับเลือกมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายศาสนจักร

พระสันตะปาปาซ้อนมักเกิดจากความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองฝ่ายอาณาจักรกับฝ่ายคริสตจักรในขณะนั้น โดยเฉพาะกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทั้งนี้ผู้ปกครองในหลายสมัยพยายามจะเข้ามาแทรกแซงศาสนจักร ส่วนศาสนจักรเองนั้น ตามประวัติศาสตร์ก็ปรากฏว่ามีการพยายามแทรกแซงทางโลกเช่นเดียวกัน เช่นการสนับสนุน antiking ในประเทศเยอรมนีสมัยก่อน

นอกจากความขัดแย้งกับทางโลกแล้ว ความสับสนและไม่ลงรอยภายในศาสนจักรเอง ก็ทำให้มีผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปาขึ้นในระหว่างการเลือกพระสันตะปาปาเช่นเดียวกัน กล่าวได้อีกอย่างก็คือ พระสันตะปาปาที่ถูกต้องนั้นก็มีโอกาสเป็นปรปักษ์พระสันตะปาปาได้เช่นเดียวกัน ถ้าการณ์กลับว่าพระสันตะปาปาเท็จได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาที่ถูกต้อง

ความไม่ลงรอยกันในการเลือกพระสันตะปาปาในศาสนจักรโรมันคาทอลิกนั้น ภายหลังนำไปสู่การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ในที่สุด

รายนามพระสันตะปาปาซ้อนมาจากมุมมองของนิกายโรมันคาทอลิก ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปาบางพระองค์อาจจะถือเป็นพระสันตะปาปาที่ถูกต้องในมุมมองของนิกายอื่น

พระสันตะปาปาพระองค์สุดท้าย

มีการพยากรณ์กันว่า พระสันตะปาปาองค์สุดท้ายจะใช้พระนามว่า "เปโตร" (สมเด็จพระสันตะปาปาเปโตรที่ 2)

หมายเหตุ

ฝ่ายคาทอลิกเรียก "พระสังฆราชแห่งพระศาสนจักรกรุงโรม"[15]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.