ในประเทศไทย สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก คือประมุขแห่งคณะสงฆ์หรือพระราชาของคณะสงฆ์ ซึ่งตามกฎหมายคณะสงฆ์บัญญัติให้ทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก[2] เสมือนดัง สมราชาคณะสงฆ์ที่มาและอำนาจหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราชเป็นไปตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505[3] และเป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง และมีภาระหน้าที่ดูแล คณะสงฆ์ ในประเทศไทย

ข้อมูลเบื้องต้น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก, การเรียกขาน ...
สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก
Thumb
พระเศวตฉัตร 3 ชั้น ประจำองค์สมเด็จพระสังฆราช
Thumb
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)
ตั้งแต่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
(7 ปี 266 วัน)
การเรียกขานฝ่าพระบาท
จวนพระอารามหลวง
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย ทรงสถาปนา
ให้ นายกรัฐมนตรี ผู้สนองพระบรมราชโองการ
วาระตลอดพระชนม์ชีพ
ผู้ประเดิมตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
สถาปนาพ.ศ. 2325 (242 ปี)
เงินตอบแทน34,200 บาท[1]
ปิด

พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลไทย

สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ดังมีหลักฐานจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้จารึกคำว่าสังฆราชไว้ด้วย สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นตำแหน่งสมณะศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ราชอาณาจักรไทย ทรงเป็นองค์ประธานการปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งนี้น่าจะมีที่มาจากคณะสงฆ์ไทย นำแบบอย่างมาจาก ลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงอัญเชิญพระเถระผู้ใหญ่ของลังกา ที่เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็นสกลมหาสังฆปริณายก มีอำนาจว่ากล่าวออกไปถึงหัวเมือง โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายคามวาสี เป็นพระสังฆราชขวา สมเด็จพระวันรัตเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี เป็นสังฆราชซ้าย องค์ใดมีพรรษายุกาลมากกว่า ก็ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอริยมุนี ได้ไปสืบอายุพระพุทธศาสนาที่ลังกาทวีป มีความชอบมาก เมื่อกลับมาได้รับสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับจนเป็นสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์มีพระราชดำริให้คงราชทินนามนี้ไว้ จึงทรงตั้งราชทินนามสมเด็จพระสังฆราชเป็น สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี และมาเป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณ ในสมัยกรุงธนบุรี และได้ใช้ต่อมาจนถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ" ซึ่งได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ตามทำเนียบสมณศักดิ์ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่มีตำแหน่งสังฆปริณายก 2 องค์ ที่เรียกว่า พระสังฆราชซ้าย/ขวา ดังกล่าวแล้ว ยังมีคำอธิบายอีกประการหนึ่งว่า สมเด็จพระอริยวงศ์ เป็นพระสังฆราชฝ่ายขวาว่า คณะเหนือ พระพนรัตน์เป็นพระสังฆราชฝ่ายซ้ายว่า คณะใต้ มีพระสุพรรณบัฏจารึกพระนามเมื่อทรงตั้งทั้ง 2 พระองค์ แต่ที่สมเด็จพระพนรัตน์ โดยปกติไม่ได้เป็นสมเด็จ ส่วนพระสังฆราชฝ่ายขวานั้นเป็นสมเด็จทุกพระองค์ จึงเรียกว่าสมเด็จพระสังฆราช จึงเป็นมหาสังฆปริณายก มีศักดิ์สูงกว่าพระสังฆราชฝ่ายซ้าย ที่พระพนรัตน์แต่เดิม ทรงยกพระเกียรติยศเป็นสมเด็จแต่บางองค์ มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงเป็นสมเด็จทุกพระองค์

เมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี วิธีการปกครองพระราชอาณาจักรในครั้งนั้น หัวเมืองใหญ่ที่ห่างไกลจากราชธานี เป็นเมืองประเทศราชโดยมาก แม้เมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้ราชธานี ก็ตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์เสด็จออกไปครองเมือง ทำนองเจ้าประเทศราช เมืองใหญ่แต่ละเมือง จึงน่าจะมีพระสังฆราชพระองค์หนึ่ง เป็นสังฆปรินายกของสังฆบริษัทในเมืองนั้น ดังปรากฏเค้าเงื่อนในทำเนียบชั้นหลัง ยังเรียกเจ้าคณะเมืองว่าพระสังฆราชอยู่หลายเมือง จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงเปลี่ยนมาเป็นสังฆปาโมกข์

พระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คือฝ่ายที่พำนักอยู่ใกล้เมืองเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย เรียกว่าคามวาสี อีกฝ่ายหนึ่งบำเพ็ญสมณธรรมในที่สงบเงียบตามป่าเขา ห่างไกลจากบ้านเมืองเรียกว่าอรัญวาสี ภิกษุแต่ละฝ่ายยังแบ่งออกเป็นคณะ แต่ละคณะจะมีพระราชาคณะปกครอง หัวหน้าพระราชาคณะเรียกว่าสมเด็จพระราชาคณะ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนพระอิสริยยศสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า[4] ทรงเศวตฉัตร 5 ชั้น พระราชวงศ์ชั้นรองลงมา เท่าที่ปรากฏ มีชั้นหม่อมเจ้าผู้ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช มีคำนำหน้า พระนามว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น

ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชหนึ่งพระองค์ ตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ในการนี้ นายกรัฐมนตรีจะเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ แต่ถ้าสมเด็จพระราชาคณะดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ จะเสนอสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นตามลำดับสมณศักดิ์และความสามารถในการทำหน้าที่แทน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ได้มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ กำหนดให้ "มาตรา 7 พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรี ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”

เครื่องยศของสมเด็จพระสังฆราช

ข้อมูลเบื้องต้น ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์, การทูล ...
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระสังฆราช
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
Thumb
ตราประจำพระองค์
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม
พะย่ะค่ะ/เพคะ
ปิด

สมเด็จพระสังฆราชจะทรงมีเครื่องพระยศประกอบพระอิสริยยศสมเด็จพระสังราช ดังนี้[5]

  • พระแท่นภายใต้เศวตฉัตร 3 ชั้น
  • พัดยศสมเด็จพระสังฆราช
  • บาตร พร้อมฝาบาตร เชิงบาตรถมปัด
  • พานพระศรี ถมปัด
  • ขันน้ำและพานรอง ถมปัด
  • คณโฑ ถมปัด
  • พระสุพรรณศรี ถมปัด
  • พระสุพรรณราช ถมปัด
  • หีบตราพระจักรี ถมปัด
  • ปิ่นโตทรงกลม 4 ชั้น ถมปัด
  • กาทรงกระบอก ถมปัด
  • หม้อลักจั่น ถมปัด
  • กระโถน ถมปัด

เมื่อสิ้นพระชนม์จะทรงได้รับเครื่องประกอบพระอิสริยยศ ได้แก่

  • พระโกศกุดั่นน้อย (หรือชั้นที่สูงกว่า)
  • พระเศวตฉัตร 3 ชั้นกางกั้นพระโกศ (หรือชั้นที่สูงกว่า)
  • เสด็จสรงน้ำพระศพ
  • พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ 100 วัน
  • พระสงฆ์รับพระราชทานฉันเช้า-เพล 100 วัน
  • ริ้วกระบวนพระอิสริยยศเชิญพระโกศพระศพไปยังพระเมรุ
  • พระเมรุผ้าขาว สำหรับพระราชทานเพลิงพระศพ (ปัจจุบันใช้พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส)
  • เสด็จพระราชทานเพลิงพระศพ บำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ตลอดจนฉลองพระอัฐิ
  • เศวตฉัตร 3 ชั้นสุมพระอัฐิบนพระเมรุ (หรือชั้นที่สูงกว่า)
  • เครื่องประโคมสังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง กลองชนะ จ่าปี่ จ่ากลอง
Thumb
พระโกศกุดั่นใหญ่ประกอบพระอิสริยยศพระศพสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)

รายพระนาม

คณะสงฆ์อื่น หน่วยงานในการกำกับดูแลของสมเด็จพระสังฆราช

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.