Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอิสระสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบัน เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2517 มีชื่อเรียกว่า CUSRI (Chulalongkorn University Social Research Institute) เดิมเป็นหน่วยงานหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อดำเนินการวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศในการพัฒนา โดยเน้นงานวิจัยทางสังคมศาสตร์เป็นพื้นฐาน ในมิติที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย ให้บริการวิชาการแก่สังคมในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเปิดสอนหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Social Research Institute, Chulalongkorn University | |
ชื่อย่อ | CUSRI |
---|---|
สถาปนา | 22 เมษายน พ.ศ. 2517 |
สังกัดการศึกษา | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
คณบดี | ดร.นฤมล อรุโณทัย |
ที่อยู่ | |
เว็บไซต์ | www |
ดร.จั๊คส์ อัมโยต์ เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการคนแรก (พ.ศ. 2514–2517) สถาบันวิจัยสังคม บริหารงานโดยคณะกรรมการบริหาร และคณะผู้บริหารสถาบัน นำโดยผู้อำนวยการสถาบันฯ เน้นการทำงานในลักษณะของการประสานงานและความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรภาครัฐและเอกชน ในลักษณะของเครือข่ายทางวิชาการ และงานพัฒนาในระดับประเทศ รวมถึงระดับนานาชาติ อีกทั้งให้บริการฐานข้อมูลทางด้านสังคมแก่ผู้สนใจ ตั้งแต่ก่อตั้งมีผู้อำนวยการดังรายนามต่อไปนี้
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
---|---|
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
ดร.จั๊ค อัมโยต์ | พ.ศ. 2514–2517 |
ศ.ดร.พัทยา สายหู | พ.ศ. 2517–2521 |
รศ.ดร.วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ | พ.ศ. 2521–2529 |
ศ.กิตติคุณ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ | พ.ศ. 2529–2536 (วาระที่ 1) |
ศ.ดร.ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์ | พ.ศ. 2536–2540 |
ศ.กิตติคุณ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ | พ.ศ. 2540–2545 (วาระที่ 2) |
รศ.ดร.สุวัฒนา ธาดานิติ | พ.ศ. 2546–2550 |
รศ.สุริชัย หวันแก้ว | พ.ศ. 2550–2552 |
ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี | พ.ศ. 2552–2555 |
รศ.ภก.ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์ | พ.ศ. 2555–2559 |
รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง | พ.ศ. 2559–2563 |
รศ.ดร.นฤมล อรุโณทัย | พ.ศ. 2563–ปัจจุบัน |
ปัจจุบันสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยพื้นฐาน การวิจัยประยุกต์ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ และการวิจัยนโยบาย ประกอบด้วยกลุ่มวิจัยย่อย 4 กลุ่ม ได้แก่
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.