สถานีแยก คปอ.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีแยก คปอ.map

สถานีแยก คปอ. (อังกฤษ: Yaek Kor Por Aor station; รหัส: N23) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพหลโยธินในพื้นที่เขตดอนเมืองและเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีสุดท้ายในเขตการปกครองของกรุงเทพมหานครก่อนเข้าสู่พื้นที่จังหวัดปทุมธานี เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ข้อมูลเบื้องต้น แยก คปอ.N23Yaek Kor Por Aor, ข้อมูลทั่วไป ...
แยก คปอ.
N23

Yaek Kor Por Aor
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพหลโยธิน เขตดอนเมืองและเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
พิกัด13.9249°N 100.6259°E / 13.9249; 100.6259
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีN23
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ16 ธันวาคม พ.ศ. 2563; 4 ปีก่อน (2563-12-16)
ชื่อเดิมกม. 25
ผู้โดยสาร
25641,225,961
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
คูคต
สถานีปลายทาง
สายสุขุมวิท พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
มุ่งหน้า เคหะฯ
ที่ตั้ง
ปิด

ที่ตั้ง

ถนนพหลโยธิน บริเวณด้านหน้ากองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ (คปอ.) ในพื้นที่แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง และแขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

ในแผนงานเดิมของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สถานีแห่งนี้มีชื่อเดิมว่า สถานี กม. 25 เนื่องจากตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 25 และรอบข้างไม่มีสถานที่สำคัญที่สามารถนำมาตั้งเป็นชื่อสถานีได้ แต่ต่อมา รฟม. ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อสถานีเป็น สถานีแยก คปอ. ตามชื่อทางแยกจุดตัดระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนจันทรุเบกษา และถนนธูปะเตมีย์

แผนผังของสถานี

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ)
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (สถานีปลายทาง)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก , ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ทางเดินเชื่อม อาคารจอดแล้วจร สถานีแยก คปอ.
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนพหลโยธิน, ถนนจันทรุเบกษา, กรมควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ

รายละเอียดของสถานี

รูปแบบของสถานี

เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้าง 22.15 เมตร (ระยะรวมหลังคา 27.8 เมตร) ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยใช้กระจกเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด[1]

ตัวสถานีมีแผงกั้นระดับสายตาทั้งสถานี ตลอดจนทางเดินใต้รางรถไฟฟ้าและทางวิ่งทั้งสองข้างทางมีแผงกั้นระดับสายตาตลอดทางเช่นกัน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของกองทัพอากาศไทย

สัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สีเขียวเข้มตกแต่งรั้วและเสาบริเวณชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินเหนือ

ทางเข้า-ออก

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ ได้แก่

  • 1 สโมสร คปอ.
  • 2 กองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ, อุทยานการบินกองทัพอากาศ
  • 3 อาคารจอดแล้วจร สถานีแยก คปอ.
  • 4 ประตูกรุงเทพพลาซ่า

เวลาให้บริการ

ข้อมูลเพิ่มเติม ปลายทาง, ขบวนแรก ...
ปลายทางขบวนแรกขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[2]
ชานชาลาที่ 1
E23เคหะฯ05.1723.17
E15สำโรง23.33
N9ห้าแยกลาดพร้าว00.02
ชานชาลาที่ 2
N24คูคต05.3800.44
ปิด

การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง

สรุป
มุมมอง

ถนนพหลโยธิน รถขสมก. สาย 185 520 522 543 รถเอกชน สาย 1-2E(34) 1-4(39) 1-5(39) 1-31 มินิบัส สาย 34

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

ข้อมูลเพิ่มเติม สายที่, เขตการเดินรถที่ ...
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
185 (1-16) 1 (กปด.31) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต คลองเตย รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
520 (1-68) 2 (กปด.22) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง มีรถให้บริการถึงตลาดไท เฉพาะช่วงเช้า
522 (1-22E) 1 (กปด.31) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) รถบริการทางด่วน (ขาไป ขึ้นด่านงามวงศ์วาน ลงด่านพระราม 6 (คลองประปา)
ขากลับ ขึ้นด่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ลงด่านงามวงศ์วาน)
522 (1-22E) Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ)
522 BTS แยก คปอ. รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) เส้นทางเสริมพิเศษ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีเขียว
543 (1-25) 1 (กปด.11) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน ลำลูกกา คลอง 7 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน
543 (1-25) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
ปิด

รถเอกชน

ข้อมูลเพิ่มเติม สายที่, จุดเริ่มต้น ...
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
34E (1-2E) Handicapped/disabled access รังสิต การขนส่งระบบราง สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส รถบริการทางด่วน (ขาไป ขึ้นด่านวัชรพล ลงด่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ขากลับ ขึ้นด่านพระราม 9 ลงด่านวัชรพล)
39 (1-4) Handicapped/disabled access ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต บางเขน
39 (1-5) Handicapped/disabled access รังสิต รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บจก.ไทยสมายล์บัส (ให้บริการในนาม บจก.หลีกภัยขนส่ง)
1-31 Handicapped/disabled access ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ คลองหลวง คลอง 5 บจก.ไทยสมายล์บัส
34 Handicapped/disabled access รังสิต การขนส่งระบบราง สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) กรมการขนส่งทางบก มีคำสั่งตามมาตรา 41 ให้ไทยสมายล์บัส
เดินรถประจำทางสาย 34 และ 39 เส้นทางเดิม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
34 Handicapped/disabled access BTS แยก คปอ. รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
39 Handicapped/disabled access ตลาดไท รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส (ให้บริการในนาม บจก.หลีกภัยขนส่ง)
34 (มินิบัส) ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ม.เกษตรศาสตร์ รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีส้ม บจก.เกลียวเวิลด์
ปิด

สถานที่ใกล้เคียง

  • กองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ
  • สโมสรชุมนุมสัญญาบัตร คปอ
  • สวนสุขภาพกองทัพอากาศ
  • ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอสคูคต
  • วัดเจริญธรรมาราม
  • ตลาดเทพทิพย์
  • ตลาด เอ.ซี. สายไหม
  • ประตูกรุงเทพ พลาซ่า
    • ตลาดเซฟวันโก
  • ตลาดมิตรมาร์เก็ต ดอนเมือง (กำลังก่อสร้าง)
  • โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์
  • ตลาดปากทางแยกลําลูกกา
  • สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์)
  • อนุสรณ์สถานแห่งชาติ

อ้างอิง

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.