Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต่อ (อังกฤษ: Star Wars sequel trilogy) เป็นภาพยนตร์ไตรภาคชุดที่สามของแฟรนไชส์ สตาร์ วอร์ส มหากาพย์บันเทิงคดีอวกาศซึ่งสร้างโดย จอร์จ ลูคัส ภาพยนตร์สร้างโดยลูคัสฟิล์มและจัดจำหน่ายโดยวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์ ประกอบด้วย สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง (2015), สตาร์ วอร์ส: ปัจฉิมบทแห่งเจได (2017) และ สตาร์ วอร์ส: กำเนิดใหม่สกายวอล์คเกอร์ (2019) ดำเนินเรื่องหลัง ไตรภาคต้น (เอพพิโซด 1–3; 1999–2005) และ ไตรภาคเดิม (เอพพิโซด 4–6; 1977–1983) ลูคัสมีแผนของไตรภาคต่อเมื่อช่วงต้นปี ค.ศ. 1976[1] แต่ก็ยกเลิกมันในปี ค.ศ. 1981[2] และสร้างแค่หกตอนแรกเท่านั้น เดอะวอลต์ดิสนีย์คอมพานี ซื้อลูคัสฟิล์มเมื่อปลายปี ค.ศ. 2012 และประกาศแผนที่จะสร้างภาพยนตร์ภาคต่อ ถึงแม้แผนไตรภาคต่อของลูคัสส่วนใหญ่จะไม่ถูกนำมาใช้[3] ภาพยนตร์ไตรภาคชุดนี้เป็นไตรภาคสุดท้ายใน 'มหากาพย์สกายวอร์คเกอร์'
สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต่อ | |
---|---|
โลโก้ สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต่อ | |
กำกับ |
|
บทภาพยนตร์ |
|
อำนวยการสร้าง |
|
นักแสดงนำ |
|
กำกับภาพ |
|
ตัดต่อ |
|
ดนตรีประกอบ | จอห์น วิลเลียมส์ |
บริษัทผู้สร้าง |
|
ผู้จัดจำหน่าย | วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์ โมชันพิกเชอส์ |
วันฉาย |
|
ประเทศ | สหรัฐ |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 837 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เฉพาะเอพพิโซด 7, 8, 9) |
ทำเงิน | 4.471 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เฉพาะเอพพิโซด 7, 8, 9) |
ภาพยนตร์เรื่องแรก สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง ฉายเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2015 กำกับโดย เจ.เจ. แอบรัมส์ และเขาก็เขียนบทร่วมกับลอว์เรนซ์ แคสแดนและไมเคิล อารดต์ แฮร์ริสัน ฟอร์ด, มาร์ค ฮามิลล์, แคร์รี ฟิชเชอร์ และนักแสดงคนอื่น ๆ กลับมารับบทเดิมจากในไตรภาคเดิมและนักแสดงนำร่วม ประกอบด้วย เดซี ริดลีย์, จอห์น โบเยกา, แอดัม ไดร์เวอร์และออสการ์ ไอแซ็ก ภาพยนตร์เรื่องที่สอง สตาร์ วอร์ส: ปัจฉิมบทแห่งเจได ฉายเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2017 กำกับและเขียนบทโดย ไรอัน จอห์นสัน นักแสดงส่วนใหญ่กลับมารับบทเดิมและภาพยนตร์เรื่องสุดท้าย สตาร์ วอร์ส: กำเนิดใหม่สกายวอล์คเกอร์ ฉายเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2019 กำกับโดยแอบรัมส์และเขาก็เขียนบทร่วมกับคริส เทอร์ริโอ
ภาพยนตร์ในไตรภาคนี้เล่าเรื่องของ เรย์ เด็กกำพร้าอายุ 19 ปี ซึ่งได้เข้าร่วม ขบวนการฝ่ายต่อต้าน ต่อสู้กับ ปฐมภาคี ที่ผงาดขึ้นมาหลังจาก จักรวรรดิกาแลกติก ล่มสลาย เรน์เรียนรู้วิธีแห่งพลัง จากลุค สกายวอล์คเกอร์และเลอา ออกานา และเผชิญหน้ากับ ไคโล เร็น—ลูกชายของเลอากับฮาน โซโล หลานชายของลุคและอนาคิน สกายวอล์คเกอร์—ผู้เข้าสู่ด้านมืดของพลัง ภาพยนตร์สองเรื่องแรกได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวก ขณะที่ภาพยนตร์เรื่องที่สามได้รับคำวิจารณ์ที่หลากหลาย ไตรภาคนี้ทำเงินมากกว่า 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก โดยที่ภาพยนตร์ทุกเรื่องทำเงินมากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก
จอร์จ ลูคัส ผู้สร้าง สตาร์ วอร์ส บอกกับ มาร์ค ฮามิลล์ ผู้แสดงเป็น ลุค สกายวอล์คเกอร์ เมื่อปี ค.ศ. 1976 ว่าเขาวางแผนให้ สตาร์ วอร์ส มีไตรภาคสามชุด ลูคัสเสนอให้ฮามิลล์น่าจะเป็นนักแสดงรับเชิญใน เอพพิโซด 9 ซึ่งเขาจินตนาการว่าจะถ่ายทำช่วงปี ค.ศ. 2011[1][4] เนื้อหาในนิตยสาร ไทม์ เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1978 อ้างคำพูดของลูคัสว่าจะมีภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส สิบเรื่องหลัง จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ[5] แกรี เคิร์ทซ์ ยังรับรู้ถึงองค์ประกอบเนื้อเรื่องที่นำเสนอสำหรับ เอพพิโซด 7 ถึง เอพพิโซด 9 ก่อนปี ค.ศ. 1980[6][7] ในปี ค.ศ. 1980 ช่วงที่ จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ กำลังฉาย ลูคัสกล่าวว่ามีภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส อีกเจ็ดเรื่องที่เขาอยากจะสร้าง เขากล่าวว่าเขามี เค้าโครงสิบสองหน้า สำหรับภาพยนตร์เหล่านั้น[8] ในบทสัมภาษณ์กับ จิม สะเตอเรนโก ในนิตยสาร พรีวู ตีพิมพ์เมื่อปลายปี ค.ศ. 1980 ลูคัสอธิบายถึงขอบเขตที่กว้างขวางของ สตาร์ วอร์ส ซึ่งมาจากบทภาพยนตร์ที่ยาวเกินไป:
ดังนั้น, ผมจึงนำบทภาพยนตร์มาแบ่งเป็นสามเรื่อง, และเขียนเรื่องแรกใหม่ ... จากนั้น, ผมก็มีภาพยนตร์อีกสองเรื่อง, แบ่งแต่ละเรื่องออกเป็นสามส่วนหลัก ๆ, กลายเป็นสองไตรภาค เมื่อสงบลง, ผมพูด, 'มันยอดเยี่ยมมาก ผมจะทำอีกไตรภาคที่ดำเนินเรื่องหลังจากนี้' ผมมีภาพยนตร์เก้าเรื่องรวมกันเป็นไตรภาคชุดและอีกสองสามเรื่องที่แปลก ๆ[a] ... มันเป็นมหากาพย์เก้าตอนซึ่งมีตอนเริ่มต้น, ตอนกลางและตอนจบ มันดำเนินเรื่องใช้ระยะเวลาประมาณห้าสิบหรือหกสิบปีด้วยระยะห่างระหว่างไตรภาคยี่สิบปี แต่ละไตรภาคใช้เวลาประมาณหกหรือเจ็ดปี[9]
ในบทสัมภาษณ์นี้ ลูคัสยังกล่าวอีกว่าเขามี "ชื่อเรื่องและเค้าโครงจำนวนสิบหน้าของแต่ละเรื่อง" ของภาพยนตร์เก้าตอน[9] ในบทสัมภาษณ์กับ แกรี เคิร์ทซ์ ในนิตยสารเล่มเดียวกัน เคิร์ทซ์กล่าวว่า:
ไม่ว่าภาพยนตร์ทั้งหมดเก้าเรื่องหรือสิบสองเรื่องที่จะได้สร้างขึ้นมา จริง ๆ แล้วมันขึ้นอยู่กับความรู้สึกของจอร์จเมื่อเวลาผ่านไป ภาพยนตร์ชุดอาจเกิดขึ้นตามที่เขาวางแผนไว้ในตอนแรกหรืออาจเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง เมื่อภาพยนตร์ถูกสร้างขึ้น, เรื่องราวแต่ละเรื่องก็มีการพัฒนา เมื่อเสร็จแล้ว, ผมคิดว่าทิศทางของมหากาพย์อาจเปลี่ยนไปเล็กน้อย[10]
ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสาร สตาร์ล็อก ซึ่งตีพิมพ์เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1981 ลูคัสยืนยันว่าเขามีโครงเรื่องสำหรับภาพยนตร์เก้าเรื่อง เขากล่าวว่า:
... มันเป็นระยะทางที่ไกลมากจากโครงเรื่องไปสู่บทภาพยนตร์ ผมพึ่งผ่านสิ่งนั้นกับ การกลับมาของเจได และดูเหมือนจะเป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมเมื่อคุณสามารถอธิบายในสามประโยคที่ไม่ได้ปะติดปะต่อกัน เมื่อคุณพยายามที่จะสร้างห้าหรือหกจากประโยคนั่น ดังนั้นโครงเรื่องจึงเปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อมันเริ่มเข้าสู่ในรูปแบบของบทภาพยนตร์[11]
เมื่อ เอพพิโซด 5: จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ ฉายในปี ค.ศ. 1980 ลูคัสได้เขียนโครงเรื่องสำหรับภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส ทั้งหมดเก้าตอนเอาไว้แล้ว นักเขียน เดล พอลล็อก เปิดเผยในบทสัมภาษณ์เมื่อปี ค.ศ. 2012 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงานวิจัยชีวประวัติของจอร์จ ลูคัสช่วงทศวรรษ 1980 ของเขาว่า ลูคัสอนุญาตให้พอลล็อกอ่านโครงเรื่องเหล่านั้น แม้ว่าจะมีเงื่อนไขที่ต้องลงนามในข้อตกลงการรักษาความลับ[12] แผนที่พอลล็อกเห็น อย่างไรก็ตาม ถูกเปลี่ยนไปอย่างมากหลัง จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ ฉาย เพราะลูคัสตัดสินใจจะสร้าง สตาร์ วอร์ส แค่ไตรภาคเดียว ทำให้ลูคัสต้องแก้ไขโครงเรื่องใหม่และรวมเอาโครงเรื่องจำนวนมากจากไตรภาคต่อที่เขาไม่ได้ใช้ เข้าไปใน การกลับมาของเจได แกรี เคิร์ทซ์ ผู้อำนวยการสร้างของภาพยนตร์สองเรื่องแรก ให้รายละเอียดขององค์ประกอบเหล่านี้ แต่ก็ไม่ได้บอกว่าความคิดที่ไม่ได้ใช้เหล่านี้อาจจะมีการนำไปใช้ในภาคต่อในอนาคต เคิร์ทซ์กล่าวว่าองค์ประกอบในไตรภาคต่อที่ไม่ได้ใช้ ซึ่งนำไปใช้ใน การกลับมาของเจได ประกอบด้วย:
ในปี ค.ศ. 2012 พอลล็อกกล่าวถึง โครงร่างของไตรภาคต่อในทศวรรษ 1980 และองค์ประกอบที่ยังหลงเหลืออยู่ที่สามารถนำไปใช้หลัง การกลับมาของเจได ว่า:
นอกเหนือจากคำอธิบายที่คลุมเครือของพอลล็อกแล้ว ยังไม่ข้อมูลอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับโครงร่างของไตรภาคต่อในทศวรรษ 1980 เผยแพร่ออกมา พอลล็อกแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกาศของลูคัสที่ขายลูคัสฟิล์มให้กับดีสนีย์ในปี ค.ศ. 2012 และการประกาศอย่างเป็นทางการของไตรภาคต่อว่า ดีสนีย์อาจจะใช้โครงร่างของลูคัสจากปี ค.ศ. 1980 มาเป็นรากฐานของไตรภาคต่อ กล่าวว่า "มันอยู่ส่วนหนึ่งที่ดิสนีย์ซื้อ"[12]
หลังการฉายของ การกลับมาของเจได ในปี ค.ศ. 1983 ลูคัสได้ให้คำใบ้มากมายเกี่ยวองค์ประกอบเนื้อเรื่องจากโครงร่างไตรภาคต่อที่ไม่ได้ใช้จากทศวรรษ 1980 ของเขา หรือจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเขาจะสร้างไตรภาคต่อ ขณะที่หลายแนวคิดดูเหมือนจะถูกนำมาใช้ แต่แนวคิดสองข้อนี้ที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเห็นได้ชัดในไตรภาคต่อของดิสนีย์ ซึ่งเข้าสู่การพัฒนาในช่วงต้นทศวรรษ 2010:
แนวคิดของลูคัสบางส่วนหรือทั้งหมดที่ยังอยู่ในไตรภาคต่อของดิสนีย์ ประกอบด้วย:
ภาพยนตร์ในสองไตรภาคก่อนหน้านี้ ฉายห่างกันสามปีและฉายก่อนวันแห่งการลำรึกถึง แต่ภาพยนตร์ในไตรภาคต่อนั้นฉายห่างกันสองปีและฉายในช่วงเดือนธันวาคม สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง ฉายเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2015 แนะนำตัวละคร เรย์ เด็กกำพร้าอายุ 19 ปี ซึ่งเข้าไปเกี่ยวพันในความขัดแย้งระหว่าง ขบวนการฝ่ายต่อต้าน กับ ปฐมภาคี กองกำลังทหารที่โหดเหี้ยมบัญชาการโดย ไคโล เร็น—ลูกชายของเลอา ออกานากับฮาน โซโล[21] สตาร์ วอร์ส: ปัจฉิมบทแห่งเจได ฉายเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2017 เรย์ได้รับฝึกสอนจากลุค สกายวอล์คเกอร์ เจไดคนสุดท้าย และเผชิญหน้ากับเร็นกับปฐมภาคีอีกครั้ง สตาร์ วอร์ส: กำเนิดใหม่สกายวอล์คเกอร์ ฉายเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2019 บทสรุปของความขัดแย้งระหว่างเจไดและซิธที่มาอย่างยาวนาน เมื่อเรย์เผชิญหน้ากับจักรพรรดิพัลพาทีนที่ฟื้นคืนชีพ[22]
ภาพยนตร์ | วันฉาย | ผู้กำกับ | ผู้เขียนบทภาพยนตร์ | เนื้อเรื่องโดย | ผู้อำนวยการสร้าง | ผู้จัดจำหน่าย | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
18 ธันวาคม ค.ศ. 2015 | เจ.เจ. แอบรัมส์ | ลอว์เรนซ์ แคสแดน, เจ.เจ. แอบรัมส์และไมเคิล อารดต์ | แคธลีน เคนเนดี, เจ.เจ. แอบรัมส์และไบรอัน เบิร์ก | วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์ โมชันพิกเชอส์ | |||
15 ธันวาคม ค.ศ. 2017 | ไรอัน จอห์นสัน | แคธลีน เคนเนดีและแรม เบิร์กแมน | |||||
20 ธันวาคม ค.ศ. 2019[23] | เจ.เจ. แอบรัมส์[24] | เจ.เจ. แอบรัมส์และคริส เทอร์ริโอ[24] | เดเรก คอนนอลลี, คอลิน เทอร์วอร์โรว์, เจ.เจ. แอบรัมส์และคริส เทอร์ริโอ | แคธลีน เคนเนดี, เจ.เจ. แอบรัมส์และมิเชลล์ เรจวาน[24] |
อุบัติการณ์แห่งพลัง, ปัจฉิมบทแห่งเจได และ กำเนิดใหม่สกายวอล์คเกอร์ เปิดให้ชมผ่านบริการสตรีมมิง ดีสนีย์+ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019, 26 ธันวาคม ค.ศ. 2019 และ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 ตามลำดับ[25]
ภาพยนตร์ | รอตเทนโทเมโทส์ | เมทาคริติก | ซีนะมาสกอร์ |
---|---|---|---|
สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง | 93% (428 บทวิจารณ์)[26] | 80 (55 บทวิจารณ์)[27] | A[28] |
สตาร์ วอร์ส: ปัจฉิมบทแห่งเจได | 91% (460 บทวิจารณ์)[29] | 84 (56 บทวิจารณ์)[30] | A[28] |
สตาร์ วอร์ส: กำเนิดใหม่สกายวอล์คเกอร์ | 52% (483 บทวิจารณ์)[31] | 53 (60 บทวิจารณ์)[32] | B+[28] |
รางวัลออสการ์ | ภาพยนตร์ | ||
---|---|---|---|
อุบัติการณ์แห่งพลัง | ปัจฉิมบทแห่งเจได | กำเนิดใหม่สกายวอล์คเกอร์ | |
งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 88 | งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 90 | งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 92 | |
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | — | — |
ดนตรีประกอบดั้งเดิมยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | เสนอชื่อเข้าชิง | เสนอชื่อเข้าชิง |
ลำดับเสียงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | เสนอชื่อเข้าชิง | เสนอชื่อเข้าชิง |
สาขาบันทึกเสียงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | เสนอชื่อเข้าชิง | — |
เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | เสนอชื่อเข้าชิง | เสนอชื่อเข้าชิง |
ภาพยนตร์ | วันฉายในสหรัฐ | ทำเงินในบ๊อกซ์ออฟฟิศ | อันดับสูงสุด | ทุนสร้าง | อ้างอิง | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สหรัฐและแคนาดา | ภูมิภาคอื่น | ทั่วโลก | สหรัฐและแคนาดา | ทั่วโลก | ||||
สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง | 18 ธันวาคม ค.ศ. 2015 | $936.7 ล้าน | $1.132 พันล้าน | $2.068 พันล้าน | 1 | 4 | $245 ล้าน | [33] |
สตาร์ วอร์ส: ปัจฉิมบทแห่งเจได | 15 ธันวาคม ค.ศ. 2017 | $620.2 ล้าน | $713.3 ล้าน | $1.333 พันล้าน | 9 | 13 | $317 ล้าน | [34] |
สตาร์ วอร์ส: กำเนิดใหม่สกายวอล์คเกอร์ | 20 ธันวาคม ค.ศ. 2019 | $515.2 ล้าน | $558.9 ล้าน | $1.074 พันล้าน | 14 | 32 | $275 ล้าน | [35] |
ทั้งหมด | $2.073 พันล้าน | $2.405 พันล้าน | $4.475 พันล้าน | $837 ล้าน |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.