Loading AI tools
ภาพรวมของศิลปะในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิลปะไทย สืบทอดยาวนานมาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของประเพณี ศาสนา และสังคมไทย สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ดังนั้น จึงมีความผูกพันกับธรรมชาติ เป็นสิ่งหล่อหลอมให้เกิดความเชื่อประเพณีและวัฒนธรรม ที่ส่งผลต่ออิทธิพลของศิลปะไทย
ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากต่างชาติมาช้านานและได้พัฒนาสืบเนื่องผสมกับความเชื่อท้องถิ่นจนกลายเป็นศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ราว พ.ศ. 300 จนถึง พ.ศ. 1111 พระพุทธศาสนานำเข้ามาโดยชาวอินเดีย แสดงให้เห็นอิทธิพลที่มีต่อศิลปะไทยในยุคหลังทั้งด้านภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม โดยกระจายเป็นกลุ่มศิลปะสมัยต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เมื่อกลุ่มคนไทยตั้งตัวเป็นปึกแผ่นแล้ว ศิลปะดังกล่าวจึงมีอิทธิพลต่อศิลปะไทย ช่างไทยพยายามสร้างสรรค์ให้มีลักษณะพิเศษกว่างานศิลปะของชาติอื่น ๆ มีการประดิษฐลวดลายไทยเป็นเครื่องตกแต่งทำให้ลักษณะศิลปะไทยมีรูปแบบเฉพาะ และได้สอดแทรกวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความรู้สึกของคนไทยไว้ในงานเหล่านั้น ดังจะเห็นได้จากภาพฝาผนังตามวัดวาอารามต่าง ๆ ปราสาทราชวัง ตลอดจนเครื่องประดับและเครื่องใช้ทั่วไป
ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากประเพณีและวัฒนธรรมในสังคมไทย เช่น ความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนา เป็นการเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา
จิตรกรรมไทย จัดเป็นภาพเล่าเรื่องที่เขียนขึ้นด้วยความคิดจินตนาการของคนไทย มีลักษณะตามอุดมคติของกระบวนงานช่างไทย คือ
ลายไทย เป็นลายที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีธรรมชาติมาเป็นแรงบันดาลใจ โดยดัดแปลงธรรมชาติให้เป็นลวดลายใหม่ เช่น ตาอ้อย ก้ามปู เปลวไฟ รวงข้าว และดอกบัว ฯลฯ ลายไทยเดิมทีเดียวเรียกกันว่า "กระหนก" หมายถึงลวดลาย เช่น กระหนกลาย กระหนกก้านขด ต่อมามีคำใช้ว่า "กนก" หมายถึง ทอง กนกปิดทอง กนกตู้ลายทอง แต่จะมีใช้เมื่อใดยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด ซึ่งคำเดิม "กระหนก" นี้เข้าใจเป็นคำแต่สมัยโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี โดยเรียกติดต่อกันจนเป็นคำเฉพาะ หมายถึงลวดลายก้านขด ลายก้านปู ลายก้างปลา ลายกระหนกเปลว เป็นต้น ลายไทยที่จัดเป็นแม่บทใช้ในการเขียนภาพมี 4 ลาย คือลายกระหนก ลายนารี ลายกระบี่และลายคชะ
ช่างไทยโบราณแบ่งหมวดหมู่ของศิละไทยออกได้ 4 หมวดด้วยกัน คือ หมวดกระหนก หมวดนารี หมวดกระบี่ และหมวดคชะ หรือที่ช่างไทยรวมเรียกว่า กระหนก นาง ช้าง ลิง แต่ละหมวดก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไป ดังต่อไปนี้
งานเขียนดังกล่าวถือว่าเป็นวิชาช่างหลักของช่างไทย ซึ่งช่างส่วนใหญ่จะต้องเรียนรู้และฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ก่อนที่จะไปเป็นช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์วิหาร หรือประกอบการช่างอื่นต่อไป[1]
ช่างไทยสมัยโบราณมักจะเขียนภาพโดยไม่บอกนามให้ปรากฏ การสืบค้นศิลปินไทยที่เป็นครูช่างจึงยากลำบาก เท่าที่บอกเล่าจากปากต่อปากพอจะจำกล่าวขานได้บ้างก็คือ ครู คงแป๊ะกับครูทองอยู่ที่เขียนภาพ ไทยอย่างวิจิตรภายในพระอุโบสถวัด สุวรรณาราม บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ครูทั้งสองคิดว่าช่างไทยสมัยก่อนเขียนภาพด้วยความศรัทธาทางศาสนา อุทิศเวลาและความสามารถเป็นการสร้างผลกรรมดีเป็นบุญในภพหน้า ถึงแม้จะเขียนในที่เล็ก ๆ แคบ ๆ และมืดโดยใช้คบไฟส่องเขียน ก็ยังอดทนพยายามอุทิศเวลาเขียนได้จนสำเร็จ เช่น ภายในกรุ พระปรางค์ พระเจดีย์ ในโบสถ์และวิหารขนาดเล็ก เป็นต้น
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุ วัติวงศ์ ขณะพระองค์ยังทรงพระเยาว์ ชอบเดินดูภาพเขียนเรื่องรามเกียรติ์ที่ผนังระเบียงคดวัดพระแก้ว เมื่อกลับถึงพระตำหนักก็ทรงใช้ดินสอขาวเขียนภาพที่ทรงจำได้เหล่านั้นไว้บนบานตู้ไม้ และครั้งหนึ่งพระองค์ยังทรงพระเยาว์ได้ตามพระปิยะมหาราชเสด็จประพาสต้นไปยังหัวเมือง ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และเมื่อเสด็จไปถึงจังหวัดกาญจนบุรี เป็นป่าที่สมบูรณ์มีพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าชุกชุม มีธรรมชาติสวยงาม ณ บริเวณพลับพลาที่พักใกล้น้ำตกไทรโยค เป็นแรงบันดาลใจทำให้พระองค์ท่านแต่งเพลงเขมรไทรโยคขึ้น ต่อมาเมื่อพระองค์เจริญพระชันษา พระองค์ก็ยังทรงใฝ่หาความรู้ลักษณะเช่นนี้ตลอดมาจนมีฝีมือสูงส่ง พระองค์ได้คิดออกแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิธโดยนำเอาศิลปะไทยประยุกต์กับปัจจุบัน โดยมีหินอ่อนกระจกสีและกระเบื้องเคลือบผสมผสานอย่างลงตัว จนพระอุโบสถหลังนี้สวยงามเป็นที่แปลกตาแปลกใจ ปัจจุบันพระองค์เป็นที่ยกย่องว่าเป็นสมเด็จครูแห่งการช่างไทย
บรรดาช่างไทยได้สร้างตำราเกี่ยวกับลายไทยหลายฉบับ ที่สำคัญ ๆ และยึดถือในปัจจุบันเช่น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.