ศิขร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิขร หรือ ศิขระ (Shikhara; Śikhara) หมายถึงหอสูงในโบสถ์พราหมณ์แบบอินเดียเหนือ และบางครั้งก็พบในเชนสถาน ศิขรในฮินดูจะหมายถึงโครงสร้างหอคอยสูงใหญ่เหนือส่วนในของโบสถ์ที่เรียกว่า ครรภคฤห์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์เทพฮินดูประจำวัดนั้น ๆ ศิขรมีลักษณะสำคัญคือเป็นโครงสร้างสำคัญและสูงที่สุดของโบสถ์พราหมณ์แบบอินเดียเหนือ ซึ่งต่างกับแบบอินเดียใต้ที่นิยมสร้างหอทางเข้า "โคปุรัม" ให้สูงที่สุด[1][2] ศิขรมาจากภาษาสันสกฤตแปลว่า "ยอดเขา"

ในอินเดียใต้ โครงสร้างที่เปรียบเปรยได้กับศิขรคือวิมาน ซึ่งในอินเดียใต้ คำว่า "ศิขร" ใช้เรียกโครงสร้างโดมที่ครอบเพื่อตกแต่งวิมานไว้อีกทีหนึ่ง[3]
รูปแบบ
ในปัจจุบันมีศิขรเป็นที่พบมากและโดดเด่นอยู่สามศิลปกรรม คือ[1]
- สถาปัตยกรรมนคร เป็นลักษณะที่พบในอินเดียเหนือ ศิขรแบบนครจะมีลักษณะโค้งสูง ด้านบนประดับด้วยเครื่องตกแต่งลักษณะคล้ายจานที่เรียกว่า "อามลัก"[4][5]
- สถาปัตยกรรมเวสรร มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ได้แก่ โหยสละ และ กรรณาฏกะ มีลักษณะศิขรที่เป็นทรงคล้ายโคน มีการแกะสลักอย่างวิจิตร
- สถาปัตยกรรมทราวิฑ เรียกโครงสร้างนี้ว่า วิมานัม
ในทุกสถาปัตยกรรมทั้งวิมานและศิขรจะสามารถพบ กลัศ คือเครื่องตกแต่งทรหม้อน้ำประดับบนยอดสุด
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.