จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะ สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนในหลากหลายสาขาวิชาทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาแรก ๆ ของประเทศไทยที่จัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการศาสตร์ความรู้ลักษณะสหวิทยาการ โดยเปิดการเรียนการสอน 3 ศูนย์การศึกษา ได้แก่ ท่าพระจันทร์ ศูนย์ลำปาง และศูนย์รังสิต
College of Interdisciplinary Studies, Thammasat University | |
สถาปนา | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 |
---|---|
คณบดี | รองศาสตราจารย์ ดร.สายฝน สุเอียนทรเมธี |
ที่อยู่ | ท่าพระจันทร์ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 ศูนย์ลำปาง 248 หมู่ 2 ถนนลำปาง–เชียงใหม่ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190 ศูนย์รังสิต 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 |
วารสาร | วารสารสหวิทยาการ |
สี | สีเทามิลเลนเนียม สีแดงเลือดหมู |
มาสคอต | นกฮูก |
เว็บไซต์ | www.cis.tu.ac.th |
ในสมัยที่ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิรี เป็นอธิการบดี กลุ่มศิษย์เก่าอาวุโส เตรียมมธก. และผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิตเดิม ได้นำเสนอให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รื้อฟื้นการจัดการเรียนการสอน ธรรมศาสตรบัณฑิต ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในเวลานั้นผู้บริหารมหาวิทยาลัยหลายท่านได้ให้ความสนใจและศึกษาความเป็นไปได้ที่จะยกร่างหลักสูตรที่มีลักษณะบูรณาการองค์ความรู้สาขาต่าง ๆ ทางสังคมศาสตร์ ซึ่งอาจตอบสนองความต้องการของสังคมไทยสมัยใหม่ ต่อมาในสมัย รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นอธิการบดี รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการขยายการจัดการศึกษาออกสู่ภูมิภาคภายใต้โครงการเปิดวิทยาเขตสารสนเทศ ประกอบกับกระแสการเรียกร้องของประชาคมในจังหวัดลำปางให้มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี เพิ่มเติมจากที่มีการสอนในระดับปริญญามหาบัณฑิตโดยคณะรัฐศาสตร์อยู่แล้วเป็นเวลาหลายปี
รศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการในขณะนั้น ได้เรียนเชิญท่านอธิการบดีพบปะกับประชาคมลำปาง เพื่อปรึกษาหารือความเป็นไปได้ในการขยายการจัดการรียนการสอนขึ้นที่จังหวัดลำปางแนวคิดเดิมเกี่ยวกับหลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิตจึงถูกนำมาพัฒนาเป็นหลักสูตรแบบสหวิทยาการอีกครั้ง โดยมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะทำงานชุดหนึ่งมี รศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์, รศ.ดร.สายทิพย์ สุคติพันธ์ และ ผศ.พรชัย ตระกูลวรานนท์ เป็นแกนนำในการทำประชาพิจารณ์และพัฒนาหลักสูตร สหวิทยาการสังคมศาสตร์ขึ้น ซึ่งต่อมาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ ได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากที่ประชุมคณบดี และในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2542 ได้รับการอนุมัติเห็นชอบหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หลักสูตรได้เริ่มจัดการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2542 ภายโตรงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และบริหารหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
วิทยาลัยสหวิทยาการได้จัดตั้งขึ้นตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการบริหารศูนย์ลำปาง ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 มีสถานะเป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยมีหน้าที่จัดการศึกษา การวิจัย และการให้บริการวิชาการแก่สังคม ตลอดทั้งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมภายใต้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2547 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2547) หลักสูตรอนุปริญญาสาขาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2547) ได้รับความเห็นชอบจากสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
วิทยาลัยสหวิทยาการ ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อมหาวิทยาลัยฯ ได้จัดโครงสร้างการบริหารใหม่ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการบริหารงานวิทยาลัยสหวิทยาการ พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 กำหนดให้วิทยาลัยสหวิทยาการแยกการบริหารงานเป็นอิสระออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และตัดโอนภารกิจงบประมาณและบุคลาคลกรของโครงการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิตสหวิทยาการสังคมศาสตร์ และ โครงการปริญญาเอกสหวิทยาการ และตัดโอนบุคลากรและงบประมาณจากสำนักงานบัณฑิตศึกษา มาอยู่ภายใต้โครงสร้างวิทยาลัยสหวิทยาการ
วิทยาลัยสหวิทยาการ ปัจจุบันมีการเรียนการสอนรวม 7 หลักสูตร โดยเปิดการเรียนการสอนทั้ง 3 ศูนย์การศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
---|---|
รายนามคณบดี (ตำแหน่งทางวิชาการขณะดำรงตำแหน่ง) | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. รองศาสตราจารย์ เล็ก สมบัติ | พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2550 |
2. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทนา รณเกียรติ | พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2553 |
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฬาพร เอื้อรักสกุล | พ.ศ. 2553 – พ.ศ. 2556 |
4. ศาสตราจารย์ วันทนีย์ วาสิกะสิน | พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2559 |
5. รองศาสตราจารย์ ดร.เดชา สังขวรรณ | พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2562 |
6. รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ (รักษาการ) | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 – 28 เมษายน พ.ศ. 2563 |
7. ศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิง ศิริวรรณ สืบนุการณ์ (รักษาการ) | 29 เมษายน พ.ศ. 2563 – 25 ตุลาคม 2563 |
8. รองศาสตราจารย์ ดร.สายฝน สุเอียนทรเมธี | 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.