วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยmap

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานประเภทวิทยาลัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] เปิดสอนเฉพาะหลักสูตรนานาชาติเท่านั้น มุ่งเน้นในงานวิชาการและการบริการทางวิชาการด้านสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สาธารณสุข เป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือกับองค์กรนานาชาติหลายแห่ง เช่น องค์การอนามัยโลก[2]ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณด้านหลังสยามสแควร์

ข้อมูลเบื้องต้น ชื่อเดิม, สถาปนา ...
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
The College of Public Health Sciences,
Chulalongkorn university
ชื่อเดิมวิทยาลัยการสาธารณสุข
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
สถาปนา1 ตุลาคม พ.ศ. 2550; 17 ปีก่อน (2550-10-01)
สังกัดการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณบดีศาสตราจารย์ ดร.จิตรลดา อารีย์สันติชัย
ที่อยู่
ซอยจุฬาลงกรณ์ 62 อาคารสถาบัน 3 ชั้น 10 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
สี  สีเทอควอยซ์
เว็บไซต์www.cphs.chula.ac.th
Thumb
ปิด
Thumb
อาคารสถาบัน 3 ที่ตั้งของวิทยาลัย

ประวัติ

เกิดขึ้นจากการหลอมรวมกันของวิทยาลัยการสาธารณสุข และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 โดยวิทยาลัยการสาธารณสุข ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 เป็นสถาบันที่จัดให้มีการเรียนการสอนแบบสหศาสตร์ (Multidisciplinary) นั่นคือ การนำเอาความรู้จากหลากหลายสาขามาประยุกต์ใช้ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจถึงปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งหลักสูตรจะมุ่งเน้นไปในด้านการพัฒนาความคิด วิเคราะห์ การวางแผน การวิจัย และการให้บริการ เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของประชาชน[3] วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยและฝึกอบรมพัฒนาการสาธารณสุข – WHO Collaborating Centre for Research and Training in Public Health Development[4]และ ศูนย์ความร่วมมือเพื่อการวิจัยและฝึกอบรมด้านการติดสารเสพติด – WHO Collaborating Centre for Research and Training in Drug Dependence[5]

หลักสูตร

  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) – Master of Public Health in Public Health[6]
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) – Doctor of Philosophy in Public Health[7] ทั้งสองหลักสูตรประกอบด้วยสาขาวิชาดังต่อไปนี้
    • นโยบายสุขภาพและการบริหารจัดการ – Health Policy and Management
    • การพัฒนาสุขภาพชุมชน และอนามัยเจริญพันธุ์ – Community Assessment and Reproductive Health
    • อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย – Environmental & Occupational Health
    • สุขภาพเขตเมืองและสุขภาพระดับสากล – Urban and Global Health
    • พฤติกรรมสุขภาพ – Health Behavior
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) – Master of Science in Public Health Sciences[8]
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) – Doctor of Philosophy in Public Health Sciences[9] ทั้งสองหลักสูตรประกอบด้วยสาขาวิชาดังต่อไปนี้
    • กัญชาและวิทยาศาสตร์สมุนไพร – Cannabis and Herbal Sciences
    • เทคโนโลยีทางเคมีและชีวโมเลกุลเพื่อวิทยาศาสตร์สุขภาพ – Chemical and Biomolecular Technology in Public Health Sciences
    • สุขศาสตร์และความปลอดภัยในสถานประกอบการ – Innovative Health Sciences and Wellness
    • วิทยนวัตกรรมสุขภาพ – Workplace Hygiene and Safety

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.