Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาราช (<ideonly>แม่แบบ:Ngeonly><de> entation}} <de>; จีน: 明王; พินอิน: Míngwáng หมิงหวัง; <ideonly>แม่แบบ:Ngeonly><de> entation}} <de>; โรมาจิ: myō-ō; ทับศัพท์: เมียวโอ) เป็นชื่อของเทพประเภทที่สามในศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน รองจากจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ตามลำดับ ชื่อในภาษาสันสกฤตแปลว่า "เจ้าแห่งความรู้" ภาษาจีนได้แปลชื่อดังกล่าวด้วยคำว่า 明 (หมิง) ซึ่งหมายความได้ทั้งแสงสว่างและความรอบรู้ ศาสนาพุทธแบบทิเบตเรียกว่า "เหรุกะ"
สำหรับวิทยาราชที่เป็นเพศหญิง มีชื่อเรียกตามภาษาสันสกฤตว่า วิทยาราชินี (จีน: 明妃; พินอิน: Míngfēi หมิงเฟย์; <ideonly>แม่แบบ:Ngeonly><de> entation}} <de>; โรมาจิ: myōhi; ทับศัพท์: เมียวฮิ) แต่การจำแนกวิทยราชตามเพศเช่นนี้มักจะถูกละเลยอยู่บ่อยครั้ง
ในระดับทั่วไป วิทยาราชถูกจัดให้เป็นเทพผู้พิทักษ์ศาสนาพุทธ และถือเป็นการสำแดงภาคดุร้ายของพระพุทธเจ้า หากกล่าวอย่างเจาะจง วิทยาราชทั้งห้า (五大明王; โงะไดเมียวโอ, อู่ต้าหมิงหวัง) คือผู้คุ้มครองพระธยานิพุทธะทั้ง 5 พระองค์โดยเฉพาะ[1]
ตามทฤษฎีวงล้อทั้งสามในฝ่ายวัชรยาน พระพุทธเจ้าเป็นตัวแทนของมโนทัศน์แห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และพระโพธิสัตว์เป็นผู้นำมโนทัศน์เหล่านั้นมาสั่งสอนด้วยความกรุณา วิทยาราชได้แก่การแปลงรูปของวงล้อแห่งอาณัติ และสั่งสอนธรรมด้วยความน่าสะพรึงกลัว เพื่อกระตุ้นให้บรรดาผู้ไม่ศรัทธาทั้งหลายกลับใจเชื่อถือในพุทธศาสนา[1]
วิทยาราชโดยปกติมักถูกนำเสนอในรูปแบบเทพปางดุร้าย มักมีกายสีน้ำเงิน มีหลายกร บางครั้งทำเป็นรูปหลายเศียรหรือหลายขา ในมือถืออาวุธต่าง ๆ บางครั้งมีการประดับตกแต่งด้วยหัวกะโหลก อสรพิษ หรือหนังสัตว์ มีประภามณฑลล้อมรอบเป็นเปลวไฟ
อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นสำหรับวิทยาราชองค์หนึ่งคือมหามยุรี (จีน: 孔雀明妃 ข่งเชวี่ยหมิงเฟย์ หรือ 孔雀佛母 ข่งเชวี่ยฝัวหมู่; <ideonly>แม่แบบ:Ngeonly><de> entation}} <de> คุจะคุเมียวโอ) หรือ "วิทยาราชินีนกยูง" ซึ่งปกติปรากฏในท่าทางที่สงบ ตัวตนของวิทยาราชองค์นี้สามารถระบุได้ง่าย เนื่องจากมหามยุรีทรงนกยูงเป็นพาหนะอยู่เสมอ
ในพุทธศาสนานิกายชินงน ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของนิกายวัชรยาน วิทยาราชทั้งห้าคือกลุ่มวิทยาราชผู้เป็นสัญลักษณ์แทนพระปัญญาคุณอันรุ่งเรืองยิ่งของพระโคตมพุทธเจ้า และเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองพระธยานิพุทธะทั้งห้า ประกอบด้วย
วิทยาราชทั้งห้าอาศัยอยู่ในครรภโกษธาตุ โดยแบ่งตามตำแหน่งในทิศต่าง ๆ ดังนี้
วัชรยักษ์
(ทิศเหนือ) |
||
ยมานตกะ
(ทิศตะวันตก) |
อจละ
(ศูนย์กลาง) |
ไตรโลกยวิชยะ
(ทิศตะวันออก) |
กุณฑลิ
(ทิศใต้) |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.