บริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ (อังกฤษ: The Walt Disney Company) หรือเรียกกันทั่วไปว่า ดิสนีย์[4] (อังกฤษ: Disney) เป็นกลุ่มบริษัทสื่อมวลชนและความบันเทิงข้ามชาติที่หลากหลายของอเมริกา สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์คอมเพลกซ์ในเบอร์แบงก์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

ข้อมูลเบื้องต้น ชื่อทางการค้า, ชื่อเดิม ...
เดอะวอลต์ดิสนีย์
ชื่อทางการค้า
ดิสนีย์
ชื่อเดิม
  • ดิสนีย์บราเธอร์สสตูดิโอ
    (1923–1926)
  • วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอ
    (1926–1929)
  • วอลต์ดิสนีย์โปรดักชันส์
    (1929–1986)
ประเภทมหาชน
การซื้อขาย
ISINUS2546871060
อุตสาหกรรม
ก่อนหน้าลาฟ-โอ-แกรม สตูดิโอ
ก่อตั้ง16 ตุลาคม 1923; 101 ปีก่อน (1923-10-16)
ผู้ก่อตั้ง
สำนักงานใหญ่อาคารทีมดิสนีย์, วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์,
เบอร์แบงก์, รัฐแคลิฟอร์เนีย
,
สหรัฐ
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลัก
  • มาร์ก พาร์กเกอร์ (ประธาน)
  • บ็อบ ไอเกอร์ (ซีอีโอ)
ผลิตภัณฑ์
บริการ
รายได้เพิ่มขึ้น US$82.722 พันล้าน (2022)
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น US$12.121 พันล้าน (2022)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น US$3.145 พันล้าน (2022)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น US$203.631 พันล้าน (2022)
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น US$98.879 พันล้าน (2022)
พนักงาน
ป.220,000 (2022)
แผนก
บริษัทในเครือ
  • เนชันแนลจีโอกราฟิกพาร์เนอรส์ (73%)
เว็บไซต์thewaltdisneycompany.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[1][2][3]
ปิด

ดิสนีย์ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1923 โดยวอลต์และรอย โอ. ดิสนีย์ ในชื่อ ดิสนีย์บราเธอร์สสตูดิโอ บริษัทยังดำเนินการภายใต้ชื่อ เดอะวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอ และ วอลต์ดิสนีย์โปรดักชันส์ ก่อนจะเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น บริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ ในปี ค.ศ. 1986 บริษัทก่อตั้งตัวเองในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมแอนิเมชันอเมริกัน ก่อนที่จะขยายไปสู่การสร้างภาพยนตร์คนแสดง, รายการโทรทัศน์และสวนสนุก

นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ดิสนีย์ได้ก่อตั้งและเข้าซื้อกิจการแผนกต่าง ๆ เพื่อทำการตลาดเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่มากกว่าปกติที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ระดับเรือธงของครอบครัว บริษัทเป็นที่รู้จักจากแผนกสร้างภาพยนตร์ ก็คือ เดอะวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์ ซึ่งประกอบด้วย วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์, วอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์, พิกซาร์, มาร์เวลสตูดิโอส์, ลูคัสฟิล์ม, ทเวนตีท์เซนจูรีสตูดิโอส์, ทเวนตีท์เซนจูรีแอนิเมชันและเซิร์ชไลท์พิกเชอส์ ธุรกิจหลักอื่น ๆ ของดิสนีย์ ได้แก่ แผนกในโทรทัศน์, การออกอากาศ, สื่อสตรีมมิง, รีสอร์ทสวนสนุก, สินค้าอุปโภคบริโภค, สิ่งพิมพ์และการดำเนินงานระหว่างประเทศ ดิสนีย์เป็นเจ้าของและดำเนินการ เครือข่ายออกอากาศเอบีซี ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายเคเบิลโทรทัศน์ เช่น ดิสนีย์แชนแนล, อีเอสพีเอ็น, ฟรีฟอร์ม, เอฟเอ็กซ์และเนชั่นแนลจีโอกราฟิก นอกจากนี้ยังมีแผนกสิ่งพิมพ์, การขายสินค้า, เพลงและโรงละคร บริการสตรีมมิงส่งตรงถึงลูกค้า เช่น ดิสนีย์+, อีเอสพีเอ็น+, ฮูลูและฮอตสตาร์ และ วอลต์ดิสนีย์พาร์กส์, อิกซ์เพียเรียนซ์แอนด์พอร์ดักส์ กลุ่มของสวนสนุก 14 แห่ง, โรงแรมรีสอร์ทและสายการเดินเรือทั่วโลก[5][6] ตัวการ์ตูน มิกกี้ เมาส์ สร้างโดย วอลต์ ดิสนีย์และอับ ไอเวิร์กส์ ทำหน้าที่เป็นตัวนำโชคอย่างเป็นทางการของบริษัท

บริษัทซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) ภายใต้สัญลักษณ์หุ้น DIS[7] และเป็นส่วนหนึ่งของดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991[8] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020 น้อยกว่าสองในสามของหุ้นทั้งหมดเป็นของสถาบันการเงินขนาดใหญ่[9]

ประวัติ

บริษัทวอลต์ดิสนีย์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) ในชื่อ "ดิสนีย์บราเธอส์คาร์ตูนสตูดิโอ" (Disney Brothers Cartoon Studio) โดยสองพี่น้องดิสนีย์ วอลต์ ดิสนีย์ และ รอย ดิสนีย์ หลังจากที่ทั้งคู่ได้ทำสัญญากับ เอ็ม.เจ.วิงเกลอร์ ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ในฮอลลีวูด โดยซ็นสัญญาการ์ตูนชุด อลิซคอเมดีส์ (Alice Comedies) ที่วอลต์ได้เริ่มทำเมื่อสมัยที่ทำภาพยนตร์ที่แคนซัสซิตี หลังจากบริษัทก่อตั้งได้ระยะหนึ่ง บริษัทได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอ" (Walt Disney Studio)

หลังจากสี่ปีที่ได้เปิดบริษัทมา วอลต์มีไอเดียสร้างตัวละครขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้แก่ ออสวอลด์ เดอะ ลักกีแรบบิต (Oswald the Lucky Rabbit) แต่ทว่าเมื่อผ่านไปหนึ่งปี ทางผู้จัดจำหน่ายได้หยุดการให้ทุนวอลต์ดิสนีย์ แต่ได้นำตัวละครออสวอลด์ไปสร้างต่อกับบริษัทอื่นแทน[10] ทำให้วอลต์จำเป็นต้องหาทุนถ่ายทำใหม่รวมถึงสร้างตัวละครการ์ตูนขึ้นมาใหม่ วอลต์ได้นำหนูมาเป็นตัวละครและตั้งชื่อให้ว่า มอร์ติเมอร์ (Mortimor) แต่ภรรยาของเขาแนะนำให้ใช้ชื่อ มิกกี (Mickey) แทน ซึ่งในตอนที่สามของการ์ตูนชุดในชื่อ สตีมโบตวิลลี (Steamboat Willie) นี้ วอลต์ได้นำเสียงประกอบมาใช้ในการ์ตูน และ ได้ออกฉายเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 ที่โรงละครโคโลนีในนิวยอร์ก ซึ่งได้รับการต้อนรับมากมายจากผู้ชมและนักวิจารณ์ ซึ่งเป็นก้าวแรกของความสำเร็จของวอลต์ดิสนีย์ ต่อมาวอลต์ได้สร้างการ์ตูนชุดใหม่ในชื่อ ซิลลีซิมโฟนีส์ (Silly Symphonies) โดยฟลาเวอรส์แอนด์ทรีส์ในชุดนี้เป็นการ์ตูนรื่องแรกของดิสนีย์ที่ได้รับรางวัลออสการ์

ข้อมูลทางการเงิน

รายได้

ข้อมูลเพิ่มเติม ปี, สตูดิโอเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ...
รายได้รวมต่อปีของบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์(ล้านเหรียญสหรัฐ)
ปี สตูดิโอเอ็นเตอร์เทนเมนต์[a] ดิสนีย์คอนซูเมอร์โปรดักส์[b] ดิสนีย์อินเตอร์เรกทิฟมีเดีย[11][12] พากส์แอนด์รีสอร์ต[c] ดิสนีย์มีเดียเน็ตเวิร์กส์[d] รวม อ้างอิง
1991 2,593.0 724   2,794.0   6,111 [13]
1992 3,115 1,081   3,306   7,502 [13]
1993 3,673.4 1,415.1   3,440.7   8,529 [13]
1994 4,793 1,798.2   3,463.6 359 10,414 [14][15][16]
1995 6,001.5 2,150   3,959.8 414 12,525 [14][15][16]
1996 10,095[b]   4,502 4,142[e] 18,739 [15][17]
1997 6,981 3,782 174 5,014 6,522 22,473 [18]
1998 6,849 3,193 260 5,532 7,142 22,976 [18]
1999 6,548 3,030 206 6,106 7,512 23,435 [18]
2000 5,994 2,602 368 6,803 9,615 25,402 [19]
2001 7,004 2,590   6,009 9,569 25,790 [20]
2002 6,465 2,440   6,691 9,733 25,360 [20]
2003 7,364 2,344   6,412 10,941 27,061 [21]
2004 8,713 2,511   7,750 11,778 30,752 [21]
2005 7,587 2,127   9,023 13,207 31,944 [22]
2006 7,529 2,193   9,925 14,368 34,285 [22]
2007 7,491 2,347   10,626 15,046 35,510 [23]
2008 7,348 2,415 719 11,504 15,857 37,843 [24]
2009 6,136 2,425 712 10,667 16,209 36,149 [25]
2010 6,701[f] 2,678[f] 761 10,761 17,162 38,063 [26]
2011 6,351 3,049 982 11,797 18,714 40,893 [27]
2012 5,825 3,252 845 12,920 19,436 42,278 [28]
2013 5,979 3,555 1,064 14,087 20,356 45,041 [29]
2014 7,278 3,985 1,299 15,099 21,152 48,813 [30]
2015 7,366 4,499 1,174 16,162 23,264 52,465 [31]
2016 9,441 5,528 16,974 23,689 55,632 [32]
2017 8,379 4,833 18,415 23,510 55,137 [33]
2018 9,987 4,651 20,296 24,500 59,434 [34]
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม ปี, สตูดิโอเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ...
รายได้รวมต่อปีของบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ (แบ่งส่วนใหม่) (ล้านเหรียญสหรัฐ)
ปี สตูดิโอเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ไดเรกต์ทูคอนซูเมอร์แอนด์อินเตอร์เนชันแนล พาร์ก, เอ็กซ์พีเรียนซ์แอนด์โปรดักส์ มีเดียเน็ตเวิร์ก[d] รวม อ้างอิง
2018 10,065 3,414 24,701 21,922 59,434 [35]
2019 11,127 9,349 26,225 24,827 69,570 [36]
2020 9,636 16,967 16,502 28,393 65,388 [37]
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม ปี, มีเดียแอนด์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ดิสทริบูชัน ...
รายได้รวมต่อปีของบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ (แบ่งส่วนใหม่) (ล้านเหรียญสหรัฐ)
ปี มีเดียแอนด์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ดิสทริบูชัน พาร์ก, เอ็กซ์พีเรียนซ์แอนด์โปรดักส์ รวม อ้างอิง
2021 50,866 16,552 67,418 [38]
2022 55,040 28,705 83,745 [39]
ปิด

    รายได้จากการดำเนินงาน

    ข้อมูลเพิ่มเติม ปี, สตูดิโอเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ...
    รายได้จากการดำเนินงานประจำปีของบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)
    ปี สตูดิโอเอ็นเตอร์เทนเมนต์[a] ดิสนีย์คอนซูเมอร์โปรดักส์[b] ดิสนีย์อินเตอร์เรกทิฟมีเดีย[11] พาร์กส์แอนด์รีสอร์ตส์[c] ดิสนีย์มีเดียเน็ตเวิร์กส์[d] รวม อ้างอิง
    1991 318 229   546   1,094 [13]
    1992 508 283   644   1,435 [13]
    1993 622 355   746   1,724 [13]
    1994 779 425   684 77 1,965 [14][15]
    1995 998 510   860 76 2,445 [14][15]
    1996 1,596[b] −300[g] 990 747 3,033 [15]
    1997 1,079 893 −56 1,136 1,699 4,312 [18]
    1998 769 801 −94 1,288 1,746 4,079 [18]
    1999 116 607 −93 1,446 1,611 3,231 [18]
    2000 110 455 −402 1,620 2,298 4,081 [19]
    2001 260 401   1,586 1,758 4,214 [20]
    2002 273 394   1,169 986 2,826 [20]
    2003 620 384   957 1,213 3,174 [21]
    2004 662 534   1,123 2 169 4,488 [21]
    2005 207 543   1,178 3,209 5,137 [22]
    2006 729 618   1,534 3,610 6,491 [22]
    2007 1,201 631   1,710 4,285 7,827 [23]
    2008 1,086 778 −258 1,897 4,942 8,445 [24]
    2009 175 609 −295 1,418 4,765 6,672 [25]
    2010 693 677 −234 1,318 5,132 7,586 [26]
    2011 618 816 −308 1,553 6,146 8,825 [27]
    2012 722 937 −216 1,902 6,619 9,964 [28]
    2013 661 1,112 −87 2,220 6,818 10,724 [29]
    2014 1,549 1,356 116 2,663 7,321 13,005 [30]
    2015 1,973 1,752 132 3,031 7,793 14,681 [31]
    2016 2,703 1,965 3,298 7,755 15,721 [32]
    2017 2,355 1,744 3,774 6,902 14,775 [33]
    2018 2,980 1,632 4,469 6,625 15,706 [34]
    ปิด
    ข้อมูลเพิ่มเติม Year, สตูดิโอเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ...
    รายได้รวมต่อปีของบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ (แบ่งส่วนใหม่) (ล้านเหรียญสหรัฐ)
    Year สตูดิโอเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ไดเรกต์ทูคอนซูเมอร์แอนด์อินเตอร์เนชันแนล พาร์ก, เอ็กซ์พีเรียนซ์แอนด์โปรดักส์ ดิสนีย์มีเดียเน็ตเวิร์กส์ รวม อ้างอิง
    2018 3,004 −738 6,095 7,338 15,689 [35]
    2019 2,686 −1,814 6,758 7,479 14,868 [36]
    2020 2,501 −2,806 −81 9,022 8,108 [37]
    ปิด
    ข้อมูลเพิ่มเติม ปี, มีเดียแอนด์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ดิสทริบูชัน ...
    รายได้รวมต่อปีของบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ (แบ่งส่วนใหม่) (ล้านเหรียญสหรัฐ)
    ปี มีเดียแอนด์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ดิสทริบูชัน พาร์ก, เอ็กซ์พีเรียนซ์แอนด์โปรดักส์ รวม อ้างอิง
    2021 7,295 471 7,766 [38]
    2022 4,216 7,905 12,121 [39]
    ปิด

    หมายเหตุ

    1. ชื่อเรียกอีกอย่างว่าภาพยนตร์และภาพยนตร์บันเทิง
    2. รวมเข้ากับบริษัทครีเอทีฟคอนเทนต์ในปี ค.ศ. 1996 และคอนซูเมอร์โปรดักส์แอนด์อินเตอร์เรกทิฟมีเดียในปี ค.ศ. 2016 ซึ่งรวมเข้ากับพาร์กส์แอนด์รีสอร์ตในปี ค.ศ. 2018
    3. มีชื่อเรียกว่า วอลต์ดิสนีย์แอตแทรกชันส์ (1989–2000), วอลต์ดิสนีย์พาร์กส์แอนด์รีสอร์ตส์ (2000–2005), ดิสนีย์เดสติเนชันส์ (2005–2008), และ วอลต์ดิสนีย์พาร์กส์แอนด์รีสอร์ตส์เวิลด์ไวด์ (2008–2018)
    4. ออกอากาศระหว่างปี ค.ศ. 1994 ถึง ค.ศ. 1996
    5. หลังจากการซื้อแคปปิตอลซิตีส์/เอบีซี
    6. ปีแรกกับมาร์เวลเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป็นส่วนหนึ่งของผลลัพธ์
    7. ไม่เชื่อมโยงกับ WDIG ดิสนีย์รายงานว่าขาดทุน 300 ล้านดอลลาร์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเงินเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

    อ้างอิง

    แหล่งข้อมูลอื่น

    Wikiwand in your browser!

    Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

    Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

    Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.