Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลายกินรี (อังกฤษ: The Kinnaree Conspiracy) เป็นละครโทรทัศน์แนวพีเรียด โรแมนติก-ดราม่า ผลิตโดย บริษัท แอคอาร์ต เจเนเรชั่น จำกัด สร้างจากบทประพันธ์ของ พงศกร หรือ นายแพทย์ พงศกร จินดาวัฒนะ บทโทรทัศน์โดย ปารดา กันตพัฒนกุล, ยิ่งยศ ปัญญา กำกับการแสดงโดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง นำแสดงโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ, อุรัสยา เสปอร์บันด์, ชัยพล จูเลียน พูพาร์ต และ สาวิกา ไชยเดช ออกอากาศทาง ช่อง 3 เอชดี และ สตรีมมิงทางโทรทัศน์ บน เน็ตฟลิกซ์ พร้อมกับละครอีก 5 เรื่องคือ คือเธอ, รากแก้ว, สายลับลิปกลอส, มัดหัวใจยัยซุปตาร์ และ ซุปตาร์2550[1][2] โดยออกอากาศทุกวันจันทร์และอังคาร เริ่มตอนแรกวันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565–13 ธันวาคม พ.ศ. 2565[3] ต่อจากละครเรื่อง สาปซ่อนรัก โดยมีเนื้อเรื่องเป็นแนวสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงเวลาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[4]
ลายกินรี | |
---|---|
ใบปิดละครโทรทัศน์ | |
เป็นที่รู้จักกันในชื่อ | The Kinnaree Conspiracy |
แนว | |
สร้างโดย | บริษัท แอคอาร์ต เจเนเรชั่น จำกัด |
บทประพันธ์ | พงศกร |
กำกับโดย | พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง |
แสดงนำ | |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | อาทิตย์รำพัน จันทร์รำพึง - สุชัญญ์ญา นรปฏิพัทธ์ |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | ใกล้เพียง - จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
จำนวนตอน | 16 (ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2565 ) |
การผลิต | |
ผู้จัดละคร | เอกนรี วชิรบรรจง |
สถานที่ถ่ายทำ | ไทย
|
ความยาวตอน | 120 นาที |
ออกอากาศ | |
สถานีโทรทัศน์ | ช่อง 3 เอชดี, เน็ตฟลิกซ์ |
ออกอากาศ | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 13 ธันวาคม พ.ศ. 2565 |
ละครเรื่องก่อนหน้า | สาปซ่อนรัก |
ละครเรื่องถัดไป | สร้อยสะบันงา (รีรัน) |
เรื่องราวของออกหลวงอินทราชภักดี (ณเดชน์ คูกิมิยะ) ขุนนางหนุ่มแห่งกรมพระตำรวจที่ต้องร่วมมือกับหมอพุดซ้อน (อุรัสยา เสปอร์บันด์) ในการสืบหาฆาตกรตัวจริงในคดีฆาตกรรมกัปตันฌอง (เดวิด อัศวนนท์) กัปตันเดินเรือชาวฝรั่งเศสที่มีผ้าลายกินรีซึ่งมีเฉพาะในราชสำนักเข้ามาเกี่ยวข้องอันจะส่งผลต่อความอยู่รอดของ อาณาจักรอยุธยา โดยมีมองสิเออร์โรแบร์ (ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต) เลขานุการของนายพลฟอบัง เข้ามาร่วมสืบคดีจนเกิดเป็นรักสามเส้า
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นักแสดง | แสดงเป็น | บุคลิกตัวละคร |
---|---|---|
ณเดชน์ คูกิมิยะ | ออกหลวงอินทราชภักดี | ขุนนางหนุ่มแห่งกรมพระตำรวจ ที่จำต้องร่วมมือกับ หมอพุดซ้อน ลูกสาวคนเล็กของ หมอโหมด ซึ่ง หลวงอินทร์ มีความแค้นฝังใจเพราะคิดว่า หมอโหมด เป็นคนที่ทำให้ ดวงจันทร์ ภรรยาของเขาต้องป่วยตายจากไปเนื่องจากไม่ยอมรักษา และ มองสิเออร์โรแบร์ เลขานุการของนายพลฟอร์บัง ในการสืบหาฆาตกรตัวจริงที่ฆ่า กัปตันฌอง โดยมีผ้าลายกินรีที่มีใช้เฉพาะในวังเข้ามาเกี่ยวข้อง จนเกิดเป็นความรักสามเส้าขึ้น |
อุรัสยา เสปอร์บันด์ | หมอพุดซ้อน | ลูกสาวคนเล็กของ หมอโหมด ที่เกิดกับ แม่พิกุล ภรรยาน้อยได้รับการถ่ายทอดวิชาแพทย์ทุกแขนงจากผู้เป็นพ่อ ต้องร่วมมือกับ ออกหลวงอินทราชภักดี ขุนนางหนุ่มแห่งกรมพระตำรวจ และ มองสิเออร์โรแบร์ ในการสืบหาฆาตกรตัวจริงที่ฆ่า กัปตันฌอง |
ชัยพล จูเลียน พูพาร์ต | มองสิเออร์โรแบร์ | เลขานุการของนายพลฟอร์บัง หรือ ออกพระศักดิ์สงคราม นายทหารชาวฝรั่งเศสที่เข้ามารับราชการในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ได้เข้ามาร่วมสืบหาฆาตกรตัวจริงที่ฆ่า กัปตันฌอง |
จิรายุ ตันตระกูล | จั่น | ลูกชายของ จวง คนไข้ของ หมอพุดซ้อน และ 1 ในผู้ต้องสงสัยคดีฆาตกรรม กัปตันฌอง ซึ่งมีแรงจูงใจจากการที่กปิตันฌองข่มขืนแล้วฆ่า อุ่น ภรรยาของจั่น |
เดียร์น่า ฟลีโป | มาดามคลาร่า | ภรรยาของ กัปตันฌอง และ 1 ในผู้ต้องสงสัยคดีฆาตกรรมกัปตันฌอง |
เดวิด อัศวนนท์ | กัปตันฌอง/กปิตันฌอง | กัปตันเดินเรือชาวฝรั่งเศส สามีของ มาดามคลาร่า และเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายในคดีฆาตกรรมครั้งนี้ |
สาวิกา ไชยเดช | เจ้าจอมกินรี | เจ้าจอมคนโปรด ในสมัยของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และ เป็นผู้ครอบครอง ผ้าลายกินรี ซึ่งอยู่กับศพของ กัปตันฌอง เป็น 1 ในผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรม กัปตันฌอง |
นักแสดง | แสดงเป็น | บุคลิกตัวละคร |
---|---|---|
นัฏฐา ลอยด์ | พิกุล | ภรรยาน้อยของหมอโหมดและแม่ของหมอพุดซ้อน |
พุทธชาด พงศ์สุชาติ | จีบ | สาวใช้คนสนิทของหมอพุดซ้อน |
ดารณีนุช ปสุตนาวิน | เฮง | ภรรยาเอกของหมอโหมดและแม่ของหมอมี |
จริยา แอนโฟเน่ | คุณหญิงแสร์ | แม่ของออกหลวงอินทร์ |
ศิรินทรา นิยากร | จวง | คนไข้ของหมอพุดซ้อน และแม่ของจั่น |
กาญจนาพร ปลอดภัย | เจ้าจอมสารภี | เจ้าจอมในวังในรัชกาลก่อน เป็นพี่สาวของหมอโหมด เป็นป้าของหมอมี และหมอพุดซ้อน มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับเจ้าจอมกินรี |
นัทธวัชร์ แก้วบัวสาย | ออกขุนแสนพินิต | ลูกน้องมือขวาคนสนิทของออกหลวงอินทร์ |
วิรากานต์ เสณีตันติกุล | เอี้ยง | สาวใช้คนสนิทของ มาดามคลาร่า |
ปริศนา กล่ำพินิจ | ช้อย | นางกำนัลของเจ้าจอมกินรี |
สุขพัฒน์ โล่ห์วัชรินทร์ | หมอมี | ลูกชายคนโตของหมอโหมด ที่เกิดกับแม่เฮง และพี่ชายของหมอพุดซ้อน ไม่มีความสามารถทางการแพทย์ แต่ช่วยสืบคดีฆาตกรรม กัปตันฌอง โดยใช้ความสามารถพิเศษจากการที่ชอบสังสรรค์ ซักถามข้อมูลจากผู้คน |
ศรุต วิจิตรานนท์ | ออกญายมราช | ขุนนางหัวหน้ากรมตำรวจ |
โอลิเวอร์ พูพาร์ท | พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) | ขุนนางชาวกรีกผู้ทรงอำนาจและอิทธิพลในราชสำนัก |
อธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | ออกญาธรรมาธิบดี (กรมวัง) | พ่อของเจ้าจอมกินรี |
ธนายง ว่องตระกูล | หลวงโกชาอิสฮาก | พ่อของมาดามคลาร่า |
วงศ์วชิรา เพชรแก้ว | เชี่ยว | เพื่อนชายคนสนิทของกปิตันปอล |
วิศรุต หิรัญบุศย์ | อะรู | บุตรชายของออรังกยาปรุตรา |
อเล็กซานเดอร์ ทวีศักดิ์ ธนานันท์ | กัปตันปอล/กปิตันปอล | กัปตันเดินเรือชาวฝรั่งเศสที่มีเรื่องบาดหมางกับ กัปตันฌอง |
ประกาศิต โบสุวรรณ | จีนฮก | |
ดนัย จารุจินดา | ฮงซินแซ | อาจารย์ของหมอพุดซ้อนและคนรักของเจ้าจอมกินรี |
โกสินทร์ ราชกรม | ขุนไชย | |
ศิระ แพทย์รัตน์ | ใช้ | |
ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนา | วีณา | เด็กสาวที่ หมอพุดซ้อน ไถ่ตัวมาอุปการะที่เรือน |
ชัชชญา สำเริงราชย์ | ลูกจัน | ลูกพี่ลูกน้องของหมอพุดซ้อน |
รัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตร | ดวงจันทร์ | ภรรยาของออกหลวงอินทร์ที่ป่วยตายจากไป |
นักแสดง | แสดงเป็น | บุคลิกตัวละคร |
---|---|---|
อนุชิต สพันธุ์พงษ์ | หมอโหมด | พ่อของหมอพุดซ้อนและหมอมี |
ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง | ออรังกยาปุตรา | |
ภูธฤทธิ์ ยิ่งนานสุข | ออกญาเพชรพิไชย | |
คาลิยา นิฮุต | อุ่น | ภรรยาของจั่นที่ถูกกปิตันฌองข่มขืนแล้วฆ่าตาย |
นารา สุทธิยุทธ | พุดซ้อน (วัยเด็ก) | |
ประสาท ทองอร่าม | ||
ละครเรื่อง ลายกินรี เริ่มต้นฟิตติ้งเมื่อต้นเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2562[5] ก่อนจะจัดพิธีบวงสรวงอย่างเป็นทางการเมื่อวันพุธที่ 18 กันยายน[6] ต่อมา เหม ภูมิภาฑิต นิตยารส ซึ่งรับบท เชี่ยว ก็ผูกคอตายเหมือนตัวละครในเรื่องเมื่อวันพุธที่ 25 กันยายน[7][8]
ในวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม ทางกองละครได้เริ่มถ่ายทำคิวแรก[9] โดยตอนแรกคนเขียนบทเป็น ปารดา กันตพัฒนกุล ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น ยิ่งยศ ปัญญา ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียงมาจากละครเรื่อง กรงกรรม[10]
ก่อนจะหยุดพักกองไป กระทั่งวันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564 ทางกองละครเรื่องลายกินรีจึงได้เริ่มกลับมาเดินกล้องถ่ายทำอีกครั้ง[11] ก่อนจะปิดกล้องอย่างเป็นทางการเมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565[12][13]
รางวัล | สาขา | ผล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 19 | บทละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม | ชนะ | [14] |
รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 13 | ละครโทรทัศน์แห่งปี | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 37 | ละครองค์ประกอบศิลป์ดีเด่น | ชนะ | [15] |
ละครสร้างสรรค์สังคมดีเด่น | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บทละครโทรทัศน์ดีเด่น | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้กำกับดีเด่น (พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง) | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ดาราสนับสนุนชายดีเด่น (ชัยพล จูเลียน พูพาร์ต) | ชนะ | ||
ดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น (เดียร์น่า ฟลีโป) | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ดารานำชายดีเด่น (ณเดชน์ คูกิมิยะ) | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
มายาทีวีอวอร์ดส์ 2023 | ดาราชายเจ้าบทบาทแห่งปี (ชัยพล จูเลียน พูพาร์ต) | รอผล | [16] |
ดารานำหญิงแห่งปี (อุรัสยา เสปอร์บันด์) | รอผล | ||
ดารานำชายแห่งปี (ณเดชน์ คูกิมิยะ) | รอผล | ||
ละครยอดเยี่ยมแห่งปี | รอผล | ||
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.