รายชื่อนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายชื่อนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ

ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ (เรียกว่า ยูโรเปียนคัพวินเนอร์สคัพ ก่อนฤดูกาล 1994–95) เป็นอดีตการแข่งขันฟุตบอลประจำปีที่แข่งขันระหว่างสมาคมสมาชิกของหน่วยงานกำกับดูแลฟุตบอลยุโรป หรือ สหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) การแข่งขันเปิดให้ผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลถ้วยภายในประเทศเข้าร่วม เช่น ผู้ชนะเลิศเอฟเอคัพของอังกฤษ ตลอดประวัติศาสตร์ 39 ปีของการแข่งขัน ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพจะเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออก โดยมีการแข่งขันแบบสองนัดเหย้าและเยือน จนถึงนัดชิงชนะเลิศที่แข่งขันแบบนัดเดียวจัดขึ้นที่สนามกลาง ยกเว้นปีแรกของการแข่งขันที่นัดชิงชนะเลิศแข่งแบบสองนัด ฟีออเรนตีนาจากอิตาลีเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันที่จัดขั้นครั้งแรก โดยชนะเรนเจอส์จากสกอตแลนด์ด้วยผลประตูรวม 4–1 จากการแข่งขันสองนัดในนัดชิงชนะเลิศ 1961 การแข่งขันถูกยกเลิกใน ค.ศ. 1999 ลัตซีโยจากอิตาลีเป็นทีมสุดท้ายที่ชนะเลิศการแข่งขัน โดยชนะมายอร์กาด้วยผลประตูรวม 2–1[1]

ข้อมูลเบื้องต้น ก่อตั้ง, ยกเลิก ...
รายชื่อนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ
Thumb
ก่อตั้งค.ศ. 1960
ยกเลิกค.ศ. 1999
ภูมิภาคยุโรป (ยูฟ่า)
จำนวนทีม32 (รอบแรก)
2 (นัดชิงชนะเลิศ)
ทีมชนะเลิศล่าสุด ลัตซีโย
(สมัยที่ 1)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด บาร์เซโลนา
(4 สมัย)
ปิด

บาร์เซโลนา เป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขัน โดยชนะเลิศสี่ครั้ง[1] ตามมาด้วย อันเดอร์เลคต์ (เบลเยียม), มิลาน (อิตาลี), เชลซี (อังกฤษ) และดือนามอกือยิว (สหภาพโซเวียต / ยูเครน) โดยชนะเลิศสโมสรละสองครั้ง บาร์เซโลนา, อัตเลติโกเดมาดริด, เรอัลมาดริด (ทั้งหมดจากสเปน), อันเดอร์เลคต์ (เบลเยียม), เรนเจอส์ (สกอตแลนด์), อาร์เซนอล (อังกฤษ) และราพีทวีน (ออสเตรีย) ครองสถิติได้รองชนะเลิศมากที่สุด สโมสรละสองครั้ง สโมสรจากอังกฤษชนะเลิศการแข่งขันถึงแปดครั้ง ซึ่งมากกว่าประเทศอื่น ๆ นอกจากนี้ เก้าสโมสรจากอังกฤษยังเข้าถึงนัดชิงชนะเลิศ โดยมีเจ็ดสโมสรชนะเลิศอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ทั้งคู่ถือเป็นสถิติสูงสุดของการแข่งขัน[2]

รายชื่อนัดชิงชนะเลิศ

สัญลักษณ์
ชนะการแข่งขันหลังต่อเวลาพิเศษ
* ชนะการแข่งขันโดยการดวลลูกโทษ
& ชนะการแข่งขันโดยการแข่งใหม่
  • คอลัมน์ "ฤดูกาล" หมายถึงฤดูกาลที่การแข่งขันจัดขึ้น และวิกิลิงก์ไปยังบทความที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาลดังกล่าว
  • วิกิลิงก์ในคอลัมน์ "ผลประตู" เชื่อมโยงไปที่บทความเกี่ยวกับนัดชิงชนะเลิศของฤดูกาลดังกล่าว
ข้อมูลเพิ่มเติม ฤดูกาล, ประเทศ ...
รายชื่อนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ[3][4]
ฤดูกาล ประเทศ ผู้ชนะเลิศ[5] ผลประตูรวม[5] รองชนะเลิศ[5] ประเทศ สถานที่[2] ผู้ชม[6]
1960–61[a]  อิตาลี ฟีออเรนตีนา 2–0 เรนเจอส์  สกอตแลนด์ ไอบร็อกซ์สเตเดียวม, กลาสโกว์, สกอตแลนด์ 80,000
2–1 สตาดิโอโคมูนาเล, ฟลอเรนซ์, อิตาลี 50,000
1961–62  สเปน อัตเลติโกเดมาดริด 1–1 ฟีออเรนตีนา  อิตาลี แฮมป์เดนพาร์ก, กลาสโกว์, สกอตแลนด์ 29,066
3–0& เนกคาร์สตาดิโอน, ชตุทท์การ์ท, เยอรมนีตะวันตก 38,120
1962–63  อังกฤษ ทอตนัมฮอตสเปอร์ 5–1 อัตเลติโกเดมาดริด  สเปน เดอเกยป์, รอตเทอร์ดาม, เนเธอร์แลนด์ 49,143
1963–64  โปรตุเกส สปอร์ติงลิสบอน 3–3 เอ็มทีเค บูดาเปสต์  ฮังการี สนามกีฬาเฮย์เซล, บรัสเซลส์, เบลเยียม 3,208
1–0& โบซูอิลสเตเดียม, แอนต์เวิร์ป, เบลเยียม 13,924
1964–65  อังกฤษ เวสต์แฮมยูไนเต็ด 2–0 1860 มึนเชิน  เยอรมนีตะวันตก สนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน, อังกฤษ 97,974
1965–66  เยอรมนีตะวันตก โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 2–1 ลิเวอร์พูล  อังกฤษ แฮมป์เดนพาร์ก, กลาสโกว์, สกอตแลนด์ 41,657
1966–67  เยอรมนีตะวันตก ไบเอิร์นมิวนิก 1–0 เรนเจอส์  สกอตแลนด์ ชเตดิเชสชตาดีอ็อน, เนือร์นแบร์ค, เยอรมนีตะวันตก 69,480
1967–68  อิตาลี มิลาน 2–0 ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา  เยอรมนีตะวันตก เดอเกยป์, รอตเทอร์ดาม, เนเธอร์แลนด์ 53,276
1968–69  เชโกสโลวาเกีย สโลวาน บราติสลาวา 3–2 บาร์เซโลนา  สเปน เซนต์จาคอบสเตเดียม, บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ 19,478
1969–70  อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี 2–1 กูร์ญิกซับแช  โปแลนด์ สนามกีฬาพราเทอร์, เวียนนา, ออสเตรีย 7,968
1970–71  อังกฤษ เชลซี 1–1 เรอัลมาดริด  สเปน สนามกีฬาคาไรสคาคิส, ไพรีอัส, กรีซ 42,000
2–1& 19,917
1971–72  สกอตแลนด์ เรนเจอส์ 3–2 ดีนาโมมอสโก  สหภาพโซเวียต กัมนอว์, บาร์เซโลนา, สเปน 24,701
1972–73  อิตาลี มิลาน 1–0 ลีดส์ยูไนเต็ด  อังกฤษ สนามกีฬาคาฟตันโซกลิโอ, เทสซาโลนีกี, กรีซ 40,154
1973–74  เยอรมนีตะวันออก มัคเดอบวร์ค 2–0 มิลาน  อิตาลี เดอเกยป์, รอตเทอร์ดาม, เนเธอร์แลนด์ 6,461
1974–75  สหภาพโซเวียต ดือนามอกือยิว 3–0 แฟแร็นตส์วาโรช  ฮังการี เซนต์จาคอบสเตเดียม, บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ 10,897
1975–76  เบลเยียม อันเดอร์เลคต์ 4–2 เวสต์แฮมยูไนเต็ด  อังกฤษ สนามกีฬาเฮย์เซล, บรัสเซลส์, เบลเยียม 58,000
1976–77  เยอรมนีตะวันตก ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา 2–0 อันเดอร์เลคต์  เบลเยียม สนามกีฬาโอลิมปิก, อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ 66,000
1977–78  เบลเยียม อันเดอร์เลคต์ 4–0 ราพีทวีน  ออสเตรีย ปาร์กเดแพร็งส์, ปารีส, ฝรั่งเศส 48,769
1978–79  สเปน บาร์เซโลนา 4–3 ฟอร์ทูนาดึสเซิลดอร์ฟ  เยอรมนีตะวันตก เซนต์จาคอบสเตเดียม, บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ 58,000
1979–80  สเปน บาเลนเซีย 0–0*[b] อาร์เซนอล  อังกฤษ สนามกีฬาเฮย์เซล, บรัสเซลส์, เบลเยียม 40,000
1980–81  สหภาพโซเวียต ดีนามอทบีลีซี 2–1 คาร์ลไซส์เยนา  เยอรมนีตะวันออก เรอินสตาดิโอน, ดุสเซลดอร์ฟ, เยอรมนีตะวันตก 8,000
1981–82  สเปน บาร์เซโลนา 2–1 สต็องดาร์ลีแยฌ  เบลเยียม กัมนอว์, บาร์เซโลนา, สเปน 100,000
1982–83  สกอตแลนด์ แอเบอร์ดีน 2–1 เรอัลมาดริด  สเปน นิวอุลเลวี, กอเทนเบิร์ก, สวีเดน 17,804
1983–84  อิตาลี ยูเวนตุส 2–1 โปร์ตู  โปรตุเกส เซนต์จาคอบสเตเดียม, บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ 60,000
1984–85  อังกฤษ เอฟเวอร์ตัน 3–1 ราพีทวีน  ออสเตรีย เดอเกยป์, รอตเทอร์ดาม, เนเธอร์แลนด์ 38,500
1985–86  สหภาพโซเวียต ดือนามอกือยิว 3–0 อัตเลติโกเดมาดริด  สเปน สนามกีฬาแฌร์ล็อง, ลียง, ฝรั่งเศส 39,300
1986–87  เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ 1–0 โลโคโมทีฟ ไลพ์ซิช  เยอรมนีตะวันออก สนามกีฬาสไปรอสหลุยส์, เอเธนส์, กรีซ 35,000
1987–88  เบลเยียม เมเคอเลน 1–0 อายักซ์  เนเธอร์แลนด์ สตาดเดอลามีนูว์, สทราซบูร์, ฝรั่งเศส 39,446
1988–89  สเปน บาร์เซโลนา 2–0 ซัมป์โดเรีย  อิตาลี สนามกีฬาวันค์ดอร์ฟ, แบร์น, สวิตเซอร์แลนด์ 45,000
1989–90  อิตาลี ซัมป์โดเรีย 2–0 อันเดอร์เลคต์  เบลเยียม นิวอุลเลวี, กอเทนเบิร์ก, สวีเดน 20,103
1990–91  อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 2–1 บาร์เซโลนา  สเปน เดอเกยป์, รอตเทอร์ดาม, เนเธอร์แลนด์ 45,000
1991–92  เยอรมนี แวร์เดอร์เบรเมิน 2–0 มอนาโก  ฝรั่งเศส อิชตาดีอูดาลุช, ลิสบอน, โปรตุเกส 16,000
1992–93  อิตาลี ปาร์มา 3–1 แอนต์เวิร์ป  เบลเยียม สนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน, อังกฤษ 37,393
1993–94  อังกฤษ อาร์เซนอล 1–0 ปาร์มา  อิตาลี สนามกีฬาพาร์เกิน, โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก 33,765
1994–95  สเปน ซาราโกซา 2–1 อาร์เซนอล  อังกฤษ ปาร์กเดแพร็งส์, ปารีส, ฝรั่งเศส 42,424
1995–96  ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง 1–0 ราพีทวีน  ออสเตรีย สนามกีฬาเฮย์เซล, บรัสเซลส์, เบลเยียม 37,500
1996–97  สเปน บาร์เซโลนา 1–0 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง  ฝรั่งเศส เดอเกยป์, รอตเทอร์ดาม, เนเธอร์แลนด์ 36,802
1997–98  อังกฤษ เชลซี 1–0 เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท  เยอรมนี สนามกีฬาโรซุนดา, สตอกโฮล์ม, สวีเดน 30,216
1998–99  อิตาลี ลัตซีโย 2–1 มายอร์กา  สเปน วิลลาพาร์ก, เบอร์มิงแฮม, อังกฤษ 33,000
ปิด

ผลงาน

แบ่งตามสโมสร

ข้อมูลเพิ่มเติม สโมสร, ชนะเลิศ ...
ผลงานในนัดชิงชนะเลิศแบ่งตามสโมสร
สโมสร ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีที่ชนะเลิศ ปีที่ได้รองชนะเลิศ
ประเทศสเปน บาร์เซโลนา 4 2 1979, 1982, 1989, 1997 1969, 1991
ประเทศเบลเยียม อันเดอร์เลคต์ 2 2 1976, 1978 1977, 1990
ประเทศอิตาลี มิลาน 2 1 1968, 1973 1974
ประเทศอังกฤษ เชลซี 2 0 1971, 1998
สหภาพโซเวียต ดือนามอกือยิว 2 0 1975, 1986
ประเทศสเปน อัตเลติโกเดมาดริด 12 1962 1963, 1986
ประเทศสกอตแลนด์ เรนเจอส์ 1 2 1972 1961, 1967
ประเทศอังกฤษ อาร์เซนอล 1 2 1994 1980, 1995
ประเทศอิตาลี ฟีออเรนตีนา 1 1 1961 1962
ประเทศอังกฤษ เวสต์แฮมยูไนเต็ด 1 1 1965 1976
ประเทศเยอรมนี ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา 1 1 1977 1968
ประเทศเนเธอร์แลนด์ อายักซ์ 1 1 1987 1988
ประเทศอิตาลี ซัมป์โดเรีย 1 1 1990 1989
ประเทศอิตาลี ปาร์มา 1 1 1993 1994
ประเทศฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง 1 1 1996 1997
ประเทศอังกฤษ ทอตนัมฮอตสเปอร์ 1 0 1963
ประเทศโปรตุเกส สปอร์ติงลิสบอน 1 0 1964
ประเทศเยอรมนี โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 1 0 1966
ประเทศเยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 1 0 1967
ประเทศเชโกสโลวาเกีย สโลวาน บราติสลาวา 1 0 1969
ประเทศอังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี 1 0 1970
ประเทศเยอรมนีตะวันออก มัคเดอบวร์ค 1 0 1974
ประเทศสเปน บาเลนเซีย 1 0 1980
สหภาพโซเวียต ดีนามอทบีลีซี 1 0 1981
ประเทศสกอตแลนด์ แอเบอร์ดีน 1 0 1983
ประเทศอิตาลี ยูเวนตุส 1 0 1984
ประเทศอังกฤษ เอฟเวอร์ตัน 1 0 1985
ประเทศเบลเยียม เมเคอเลน 1 0 1988
ประเทศอังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1 0 1991
ประเทศเยอรมนี แวร์เดอร์เบรเมิน 1 0 1992
ประเทศสเปน ซาราโกซา 1 0 1995
ประเทศอิตาลี ลัตซีโย 1 0 1999
ประเทศสเปน เรอัลมาดริด 0 2 1971, 1983
ประเทศออสเตรีย ราพีทวีน 0 2 1985, 1996
ประเทศฮังการี เอ็มทีเค บูดาเปสต์ 0 1 1964
ประเทศเยอรมนี 1860 มึนเชิน 0 1 1965
ประเทศอังกฤษ ลิเวอร์พูล 0 1 1966
ประเทศโปแลนด์ กูร์ญิกซับแช 0 1 1970
สหภาพโซเวียต ดีนาโมมอสโก 0 1 1972
ประเทศอังกฤษ ลีดส์ยูไนเต็ด 0 1 1973
ประเทศฮังการี แฟแร็นตส์วาโรช 0 1 1975
ประเทศออสเตรีย เอาส์ทรีอาวีน 0 1 1978
ประเทศเยอรมนี ฟอร์ทูนาดึสเซิลดอร์ฟ 0 1 1979
ประเทศเยอรมนีตะวันออก คาร์ลไซส์เยนา 0 1 1981
ประเทศเบลเยียม สต็องดาร์ลีแยฌ 0 1 1982
ประเทศโปรตุเกส โปร์ตู 0 1 1984
ประเทศเยอรมนีตะวันออก โลโคโมทีฟ ไลพ์ซิช 0 1 1987
ประเทศฝรั่งเศส มอนาโก 0 1 1992
ประเทศเบลเยียม แอนต์เวิร์ป 0 1 1993
ประเทศเยอรมนี เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท 0 1 1998
ประเทศสเปน มายอร์กา 0 1 1999
ปิด

แบ่งตามชาติ

ข้อมูลเพิ่มเติม ชาติ, ชนะเลิศ ...
ผลงานในนัดชิงชนะเลิศแบ่งตามชาติ[2]
ชาติ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ รวม
 อังกฤษ 8 5 13
 สเปน 7 7 14
 อิตาลี 7 4 11
 เยอรมนี[c] 4 4 8
 เบลเยียม 3 4 7
 สหภาพโซเวียต[d] 3 1 4
 สกอตแลนด์ 2 2 4
 ฝรั่งเศส 1 2 3
 เยอรมนีตะวันออก 1 2 3
 เนเธอร์แลนด์ 1 1 2
 โปรตุเกส 1 1 2
 เชโกสโลวาเกีย[e] 1 0 1
 ออสเตรีย 0 3 3
 ฮังการี 0 2 2
 โปแลนด์ 0 1 1
ปิด

ดูเพิ่มเติม

หมายเหตุ

  1. เฉพาะฤดูกาลแรกของนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพที่เล่นแบบสองนัด
  2. ผลประตู 0–0 หลัง 90 นาทีและต่อเวลาพิเศษ บาเลนเซียชนะการดวลลูกโทษ 5–4[7]
  3. รวมสโมสรจากเยอรมนีตะวันตก
  4. สี่ครั้งที่สโมสรจากสหภาพโซเวียตที่เข้าถึงนัดชิงชนะเลิศ เป็นสโมสรจากยูเครน (ชนะเลิศ 2 ครั้ง), จอร์เจีย (ชนะเลิศ 1 ครั้ง) และรัสเซีย (รองชนะเลิศ 1 ครั้ง)
  5. สโมสรเชโกสโลวาเกียที่เข้าถึงนัดชิงชนะเลิศคือ สโมสรจากสาธารณรัฐสังคมนิยมสโลวัก

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.