รางวัลครุฑทองคำ หรือรางวัลผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น เป็นรางวัลที่สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย มอบให้แก่ผู้บริหารราชการพลเรือน จำนวน 9 คน เพื่อประกาศเกียรติคุณบุคคลที่มีผลงานสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่สังคมและระบบราชการ โดยเริ่มต้นโครงการในปี พ.ศ. 2529
การพิจารณารางวัลครุฑทองคำ (หลังปี พ.ศ. 2530) แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
- สายตำแหน่งปลัดกระทรวง
- สายตำแหน่งอธิบดี
- สายตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด
- สายตำแหน่งอธิการบดี
- สายตำแหน่งเอกอัครราชทูต
สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น คือ เป็นข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการไม่ต่ำกว่าระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไปทุกส่วนราชการ (ยกเว้นกระทรวงกลาโหมและข้าราชการการเมือง) โดยจะต้องดำรงตำแหน่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี[1]
- การปฏิบัติงาน หมายถึง ความประพฤติและการปฏิบัติที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญให้เป็นแบบอย่างที่ดีของข้าราชการทั่วไป
- ความมีคุณธรรม
- หลักการ
- มนุษย์สัมพันธ์
- บุคลิกภาพ
- การอุทิศตนให้กับงาน
- ผลงาน หมายถึง การปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อทางราชการ และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
- ความชัดเจน
- ความเชื่อถือ
- การสร้างสรรค์
- ความมีประสิทธิภาพ
- การนำค่านิยมสร้างสรรค์ไปเป็นหลักปฏิบัติในการบริหารงาน ประกอบด้วย
- กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
- ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ
- โปร่งใส
- ไม่เลือกปฏิบัติ
- มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
รายนามผู้ได้รับรางวัลครุฑทองคำ (ชื่อตำแหน่งคือ ตำแหน่งที่ได้รับรางวัลดังกล่าว)
พ.ศ. 2534
- ดร.โกศล เพ็ชร์สุวรรณ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
- พลตำรวจเอกชวลิต ยอดมณี เลขาธิการ ป.ป.ส.
- ร้อยตรีปกครอง จินดาพล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
- นายปรีดี ตันติพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
|
- นายปลอดประสพ สุรัสวดี อธิบดีกรมประมง
- คุณหญิงสมศรี กันธมาลา อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์
- นายสายสิทธิ พรแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
- นายอภิลาศ โอสถานนท์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
|
พ.ศ. 2536
- พันโท กมล ประจวบเหมาะ อธิบดีกรมราชทัณฑ์
- นายโกวิท วรพิพัฒน์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
- นายกำพล อดุลวิทย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- นายบดี จุณณานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
- นายยุวัฒน์ วุฒิเมธี ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
|
- นายวิฑูร แสงสิงแก้ว อธิบดีกรมการแพทย์
- นายสุดจิต นิมิตกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
- นายไสว พราหมณี ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- นางอรนุช โอสถานนท์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
|
พ.ศ. 2538
- ดร.กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน
- นายคำรณ บุญเชิด ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
- รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นายบรรจง กันตวิรุฒ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- นายประดัง ปรีชญางกูร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
|
- นายปรีดี บุญยัง อธิบดีกรมบัญชีกลาง
- นายศิววงศ์ จังคศิริ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
- นางสาวสุจิตรา หิรัญพฤกษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก
- ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ สพศ.
|
พ.ศ. 2540
|
- นายสมชัย ฤชุพันธ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต
- นายสุจินต์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร
- นายสุชาญ พงษ์เหนือ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
- นายอักขราทร จุฬารัตน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
|
พ.ศ. 2542
|
- นายสมใจนึก เองตระกูล อธิบดีกรมศุลกากร
- นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์
- รศ.ดร.สุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น อธิบดีกรมศิลปากร
|
พ.ศ. 2545
- นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ เลขาธิการ ปปส.
- นายโกเมศ แดงทองดี ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
- นายกษิต ภิรมย์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
- นายชัยรัตน์ มาประณีต ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์
- นายพงศ์โพยม วาศภูติ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
|
|
พ.ศ. 2550
|
- นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร
- นายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี
- นายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง
- รศ.สุมนต์ สกลไชย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- นายดอน ปรมัตถ์วินัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน
|
[2]
พ.ศ. 2553
|
- วิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
- วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก
|
[3]