ยุทธการที่วอเตอร์ลู
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่วอเตอร์ลู (อังกฤษ: Battle of Waterloo) เกิดขึ้นเมื่อ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1815 ที่หมู่บ้านวอเตอร์ลู ประเทศเบลเยียม (ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์) กองทัพฝรั่งเศสในบัญชาของจักรพรรดินโปเลียนพ่ายแพ้ต่อสองกองทัพฝ่ายสหสัมพันธมิตร กองทัพแรกคือทัพผสมระหว่างบริเตน, เนเธอร์แลนด์, ฮันโนเฟอร์, เบราน์ชไวค์ และนัสเซา ในบัญชาของจอมพลดยุกแห่งเวลลิงตัน กองทัพที่สองคือทัพปรัสเซียในบัญชาของจอมพลเก็พฮาร์ท ฟ็อน บลึชเชอร์ ยุทธการครั้งนี้เป็นจุดจบของสงครามนโปเลียน ยุทธการนี้มีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า ยุทธการที่มงแซ็ง-ฌ็อง (ฝรั่งเศส) หรือ พันธมิตรอันงดงาม (ปรัสเซีย)[11]
ยุทธการที่วอเตอร์ลู | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การทัพวอเตอร์ลู | |||||||
ยุทธการที่วอเตอร์ลู โดยวิลเลียม แซดเลอร์ที่ 2 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ฝรั่งเศส | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
นโปเลียนที่ 1 มีแชล แน ปีแยร์ ก็องบรอน |
ดยุกแห่งเวลลิงตัน บลึชเชอร์ | ||||||
กำลัง | |||||||
|
รวม: 118,000-120,000 นาย[1]
กองทัพบลึชเชอร์:
| ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
รวม: 41,000-42,000 นาย[1] |
รวม: 23,000[1]-24,000 นาย
กองทัพบลึชเชอร์: 7,000 นาย
| ||||||
ทั้งสองฝั่ง: ม้าถูกฆ่า 7,000 ตัว |
เมื่อนโปเลียนหนีออกจากเกาะเอลบาและคืนสู่อำนาจในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศทั้งหลายรีบตัวกันจัดตั้งกองทัพสหสัมพันธมิตรเพื่อต่อต้านนโปเลียน กองทัพเวลลิงตันและกองทัพบลึชเชอร์ตั้งค่ายอยู่ใกล้ชายแดนทางเหนือของฝรั่งเศส นโปเลียนวางแผนทั้งคู่ก่อนที่ทั้งคู่จะรวมตัวกับกองทัพพันธมิตรอื่นและบุกเข้าฝรั่งเศส ในวันที่ 16 มิถุนายน นโปเลียนประสบความสำเร็จในการรุกตีกองทัพปรัสเซียในยุทธการที่ลิงงี (Ligny) ด้วยกองหลัก ทำให้ปรัสเซียต้องถอยร่นขึ้นเหนือในวันต่อมา แต่ศึกด้านเวลลิงตันจบลงที่ผลเสมอ นโปเลียนส่งกำลังราวหนึ่งในสามเพื่อไล่ตีกองทัพปรัสเซียจนเกิดเป็นยุทธการที่วาฟ (Wavre) เมื่อวันที่ 18–19 มิถุนายน ทำให้ทหารฝรั่งเศสหน่วยดังกล่าวอยู่ในภาวะรบติดพันและมาที่วอเตอร์ลูไม่ได้
ดยุกแห่งเวลลิงตันทราบเรื่องดังกล่าวและมองเห็นเป็นโอกาสดี เขาตัดสินใจตั้งทัพที่เนินมงแซ็งฌ็อง (Mont-Saint-Jean)[12] บนทางหลวงเชื่อมบรัสเซลส์ ใกล้หมู่บ้านวอเตอร์ลู เวลลิงตันรับการโจมตีอย่างต่อเนื่องของฝรั่งเศสตลอดบ่าย 18 มิถุนายน เมื่อทหารปรัสเซียมาถึง กองทัพปรัสเซียเข้าตีปีกข้างของกองทัพฝรั่งเศสและสร้างความเสียหายอย่างมาก เมื่อตกค่ำ นโปเลียนสั่งทหารราบรักษาพระองค์ (Garde Impériale) ซึ่งเป็นกองหนุนหน่วยสุดท้ายที่เหลืออยู่เข้าโจมตีแถวทหารอังกฤษ อีกด้านหนึ่ง ทหารปรัสเซียรุกฝ่าเข้ามาทางปีกขวาของกองทัพฝรั่งเศส ทหารอังกฤษสามารถยันกองพันทหารราบฝรั่งเศสไว้ได้ กองทัพฝรั่งเศสแพ้ราบคาบ
วอเตอร์ลูเป็นการสู้รบที่เด็ดขาดในการทัพวอเตอร์ลูและเป็นการสู้รบครั้งสุดท้ายของนโปเลียน นโปเลียนสละราชสมบัติในอีกสี่วันให้หลัง กองทัพผสมเคลื่อนพลเข้าสู่กรุงปารีสในวันที่ 7 กรกฎาคม ความพ่ายแพ้ที่วอเตอร์ลูปิดฉากการปกครองของนโปเลียนในฐานะจักรพรรดิฝรั่งเศส เป็นจุดจบของสมัยร้อยวัน และเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 สนามรบตั้งอยู่ในเทศบาลเบรนลาเลอ (Braine-l'Alleud) และลาน (Lasne) ของประเทศเบลเยียม[13] ตั้งอยู่ทางใต้ของบรัสเซลล์ประมาณ 15 กิโลเมตร (9.3 ไมล์) และจากเมืองวอเตอร์ลูประมาณ 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) บริเวณที่เป็นอดีตสนามรบ ปัจจุบันกลายเป็นอนุสรณ์เนินดินเทียมที่สร้างขึ้นจากดินในยุทธบริเวณ ส่วนภูมิประเทศของสนามรบใกล้เนินดินไม่ได้รับการอนุรักษ์ไว้
นโปเลียนหลบหนีออกจากเกาะเอลบาเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1815 ขณะนั้น ประเทศมหาอำนาจอยู่ระหว่างการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาเพื่อจัดระเบียบทวีปยุโรป เมื่อที่ประชุมรับทราบข่าวการหลบหนีของนโปเลียน จึงประกาศให้นโปเลียนเป็นบุคคลนอกกฎหมายในวันที่ 13 มีนาคม และในอีกสี่วันต่อมา กองทัพของสหราชอาณาจักร, รัสเซีย, ออสเตรีย และปรัสเซีย เริ่มเคลื่อนกำลังเพื่อล้มล้างนโปเลียน[14] และเนื่องจากกองทัพข้าศึกมีจำนวนในภาพรวมเหนือกว่าอย่างขาดลอย นโปเลียนจึงทราบดีว่าโอกาสเดียวของเขาคือการชิงโจมตีก่อนที่กองทัพข้าศึกจะสนธิกำลังเป็นกองทัพขนาดใหญ่[15]
ถ้าหากนโปเลียนทำลายกองทัพข้าศึกที่อยู่ทางใต้ของกรุงบรัสเซลล์ก่อนที่ข้าศึกจะได้รับกำลังเสริม เขาก็อาจจะสามารถผลักดันกองทัพอังกฤษกลับไปยังชายฝั่งมหาสมุทร และเอาชนะกองทัพปรัสเซีย สถานการณ์นี้จะช่วยให้เขามีเวลาฝึกฝนกำลังพลและจัดเตรียมกองทัพให้พร้อมรบกับกองทัพผสมของออสเตรีย-รัสเซีย[16][17] นอกจากนี้ ถ้าหากนโปเลียนได้รับชัยชนะในศึกนี้ ก็อาจจะเป็นแรงผลักดันให้ประชากรเบลเยียมที่พูดภาษาฝรั่งเศส ก่อการปฏิวัติขึ้นในประเทศเบลเยียม ซึ่งก็จะส่งผลดีต่อเขาเช่นกัน ไม่เท่านั้น กำลังทหารข้าศึกในเบลเยียมก็ไม่ใช่ทหารชั้นดี เนื่องจากหน่วยทหารชั้นดีมากประสบการณ์ถูกส่งไปทวีปอเมริกาเหนือเพื่อร่วมรบในสงคราม ค.ศ. 1812[15]
ทางด้านแม่ทัพอังกฤษอย่างจอมพลดยุกแห่งเวลลิงตัน ในตอนแรกวางแผนจะรับมือภัยคุกคามจากนโปเลียนโดยการเคลื่อนกำลังผ่านเมืองมงส์ (Mons) ไปยังตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงบรัสเซลล์[18] การกระทำนี้มีข้อดีคือจะทำให้กองทัพของเวลลิงตันอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับกองทัพปรัสเซียในบัญชาของจอมพลบลึชเชอร์ แต่ก็มีข้อเสียคืออาจจะทำให้สูญเสียการติดต่อกับฐานทัพอังกฤษที่เมืองโอสต็องด์ (Ostend) ซึ่งตั้งอยู่ติดชายฝั่งช่องแคบอังกฤษ นโปเลียนชะลอการเคลื่อนกำลังของจอมพลเวลลิงตัน โดยการปล่อยข่าวเท็จเพื่อลวงว่าฝรั่งเศสตัดสายส่งกำลังจากช่องแคบอังกฤษถึงกองทัพของเวลลิงตัน[19]
นโปเลียนเคยมีสรรพกำลังถึงประมาณสามแสนนายในเดือนมิถุนายน แต่บัดนี้เขามีกำลังที่วอเตอร์ลูมีไม่ถึงหนึ่งในสามของจำนวนที่ว่า กระนั้น กำลังพลเกือบทั้งหมดก็เป็นทหารชาญศึกที่มีความจงรักภักดียิ่ง[20] นโปเลียนแบ่งกำลังออกเป็นสามส่วน ได้แก่ปีกซ้ายในบัญชาของจอมพลมีแชล แน, ปีกขวาในบัญชาของจอมพลแอมานุแอล เดอ กรูชี และกำลังสำรองซึ่งบัญชาโดยตัวพระองค์เอง กองทัพฝรั่งเศสข้ามเส้นเขตแดนใกล้กลับเมืองชาร์เลอรัว (Charleroi) ภายในเช้าวันที่ 15 มิถุนายน และรีบบุกครองชัยภูมิสำคัญ ทำให้นโปเลียนอยู่ในตำแหน่งตรงกลางระหว่างกองทัพเวลลิงตันกับกองทัพบลึชเชอร์ เพื่อยับยั้งไม่ให้สองทัพข้าศึกทำการสนธิกำลัง นโปเลียนตั้งใจจะทำลายกองทัพบลึชเชอร์เสียก่อน แล้วจึงทำลายกองทัพเวลลิงตัน[21][22][23][24]
ในคืนวันที่ 15 มิถุนายน ดยุกแห่งเวลลิงตันแน่ใจแล้วว่าหน่วยทหารที่รุกขึ้นเหนือมายังชาเลอรัวเป็นกำลังหลักข้าศึก ในเช้าของวันที่ 15 มิถุนายน จอมพลเจ้าชายแห่งออเรนจ์ทำการส่งกำลังส่วนแยกมาให้แก่ดยุกแห่งเวลลิงตัน แต่แล้วเวลลิงตันก็ต้องตกใจกับความเร็วการรุกของนโปเลียน ดยุกแห่งเวลลิงตันจึงรีบสั่งการให้รวมกำลังไว้ที่หมู่บ้านกาทร์บรา (Quatre Bras) สิบเก้ากิโลเมตรทางเหนือของชาเลอรัว อันเป็นตำแหน่งที่เจ้าชายแห่งออเรนจ์และเจ้าชายแบร์นฮาร์ดแห่งซัคเซิน-ไวมาร์ตั้งทัพอยู่ ตำแหน่งดังกล่าวแทบไม่มีผลดีในการต่อต้านปีกซ้ายของจอมพลแน[25]
จอมพลดยุกแห่งเวลลิงตันตื่นในเวลา 02:00 ถึง 03:00 ของวันที่ 18 มิถุนายน และเขียนเอกสารจนถึงรุ่งเช้า ก่อนหน้านี้เขาได้เขียนถึงจอมพลบลึชเชอร์ของปรัสเซียเพื่อยืนยันว่าเขาจะสู้รบที่มงต์-แซงต์-ฌอง ถ้าหากบลึชเชอร์สามารถส่งกำลังทหารมาช่วยได้อย่างน้อยหนึ่งกอง; มิฉะนั้นเขาจะถอยทัพไปยังบรัสเซลส์ ในการประชุมยามดึก นายพลกไนเซอเนา เสนาธิการของบลึชเชอร์ สงสัยในกลยุทธ์ของเวลลิงตัน แต่บลึชเชอร์ก็โน้มน้าวเห็นควรให้เดินทัพไปสนธิกำลังกับเวลลิงตัน ต่อมาในตอนเช้า เวลลิงตันได้รับจดหมายจากบลึชเชอร์ สัญญาว่าจะสนับสนุนเขาด้วยกำลังสามกอง
ตั้งแต่ 06:00 น. เวลลิงตันอยู่ในสนามรบควบคุมการจัดวางกำลังพล ส่วนที่วาฟร์ กองทัพปรัสเซียที่สี่ภายใต้การนำของนายพลบือโล ถูกกำหนดให้นำขบวนไปยังวอเตอร์ลูเนื่องจากมีสภาพดีที่สุด เพราะไม่ได้มีส่วนร่วมในยุทธการที่ลินญี แม้จะไม่มีการบาดเจ็บ กองทัพน้อยที่ 4 ได้เดินทัพมาเป็นเวลาสองวัน ครอบคลุมการถอยของอีกสามกองทัพน้อยปรัสเซียจากสนามรบลินญี พวกเขาถูกจัดให้อยู่ไกลที่สุดจากสนามรบ และการเคลื่อนทัพเป็นไปอย่างช้า ๆ
ถนนอยู่ในสภาพแย่หลังฝนตกหนักในคืนที่ผ่านมา ทหารของนายพลบือโลต้องผ่านถนนที่แออัดในวาฟร์และย้ายปืนใหญ่ 88 กระบอก สถานการณ์แย่ลงเมื่อเกิดไฟไหม้ในวาฟร์ ขัดขวางถนนหลายสายที่บือโลวางแผนจะใช้ในการเดินทัพ ส่งผลให้ส่วนสุดท้ายของกองทัพออกเดินทางในเวลา 10:00 หกชั่วโมงหลังจากที่กลุ่มแรกได้เคลื่อนทัพไปยังวอเตอร์ลู ทหารของบือโลตามไปยังวอเตอร์ลูโดยกองทัพน้อยที่หนึ่งและที่สอง
นโปเลียนเสวยอาหารเช้าที่บ้านเลอแกยู (Le Caillou) บ้านพักและกองบัญชาการสนามของนโปเลียน เมื่อจอมพลซูลต์แนะนำว่าควรเรียกตัวจอมพลกรูชีกลับมาสนธิกำลังกับกองกำลังส่วนหลัก นโปเลียนตอบว่า “แค่เพราะพวกเจ้าถูกเวลลิงตันเล่นงาน เจ้าเลยคิดว่าเขาเป็นแม่ทัพที่เก่ง ข้าบอกเจ้าแล้วไงว่าเวลลิงตันเป็นแม่ทัพที่ห่วย พวกอังกฤษเป็นทหารห่วย และเรื่องนี้ก็เป็นแค่มื้อเช้า” คำพูดของนโปเลียนที่ดูเหมือนไม่เก็บมาใส่ใจนี้ อาจเป็นการแสดงออกทางยุทธศาสตร์ตามภาษิตของพระองค์ที่ว่า “ในสงคราม จิตวิญญาณคือทุกสิ่ง” ดังที่ตัวพระองค์เคยทำมาก่อน
ต่อมาเมื่อเฌอโรม น้องชายของเขาเล่าว่าได้ยินข่าวลือจากพนักงานเสิร์ฟระหว่างทหารอังกฤษขณะรับประทานอาหารกลางวันที่โรงแรมคิงออฟสเปนในเกอนัปป์ ว่าทหารปรัสเซียกำลังจะเดินทัพมาจากวาฟร์ นโปเลียนกล่าวว่าทหารปรัสเซียจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยสองวันในการฟื้นกำลังและจอมพลกรูชีจะจัดการกับพวกเขาเอง อย่างน่าประหลาดใจ นอกจากข่าวลือที่เฌอโรมได้ยินแล้ว แม่ทัพฝรั่งเศสที่เข้าร่วมการประชุมก่อนการรบที่บ้านเลอแกยู ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความใกล้ชิดที่น่ากังวลของทหารปรัสเซียและไม่สงสัยว่าทหารของบลึชเชอร์จะเริ่มเข้าสู่สนามรบในอีกเพียงห้าชั่วโมงต่อมา
นโปเลียนเลื่อนการเปิดศึกออกไปเนื่องจากพื้นดินเปียกชื้น ซึ่งจะทำให้การเคลื่อนย้ายทหารม้าและปืนใหญ่ทำได้ยาก นอกจากนี้ กองกำลังหลายส่วนของเขาได้ตั้งค่ายพักแรมอยู่ไกลออกไปทางใต้ของลาเบลอลิยองซ์ (La Belle Alliance) เวลาประมาณ 10:00 เพื่อตอบสนองต่อข้อความที่เขาได้รับจากกรูชีเมื่อหกชั่วโมงก่อนหน้า เขาส่งใบบอกกรูชีให้ “มุ่งหน้าไปยังวาฟร์ [ทางเหนือของกรูชี] เพื่อจะได้มาตั้งอยู่ใกล้ข้า” และให้ “ผลักดันพวกปรัสเซีย” เพื่อที่จะมาถึงวอเตอร์ลูโดยเร็วที่สุด
เวลา 11:00 นโปเลียนได้จัดทำคำสั่งทั่วทัพ: กองทัพของเรย์ล์ทางซ้ายและกองทัพของเดอเออร์ลองทางขวาจะโจมตีหมู่บ้านมงต์-แซงต์-ฌอง และรักษาการเคลื่อนไหวไปพร้อมกัน คำสั่งนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่ากองทัพของเวลลิงตันอยู่ในหมู่บ้านนั้น แทนที่จะอยู่ที่ตำแหน่งล่วงหน้าบนเนินเขา
เพื่อให้การโจมตีนี้เป็นไปได้ กำลังของเฌอโรมจะประเดิมทำการโจมตีที่อูโกมองต์ ซึ่งนโปเลียนคาดว่าจะดึงกองหนุนของเวลลิงตันเข้ามา เนื่องจากการสูญเสียจะเป็นภัยต่อการติดต่อสื่อสารของเขากับทะเล ปืนใหญ่ขนาดใหญ่ของปืนใหญ่สำรองจากกองทัพน้อยที่ 1, 2, และ 6 จะเริ่มระดมยิงศูนย์กลางของตำแหน่งของเวลลิงตันในเวลาประมาณ 13:00 จากนั้นกองทัพของเดอเออร์ลองจะโจมตีทางซ้ายของเวลลิงตัน ทะลวงผ่าน และม้วนแนวรบจากทิศตะวันออกไปตะวันตก ในบันทึกความทรงจำของเขา นโปเลียนเขียนว่าจุดประสงค์ของเขาคือเพื่อแยกกองทัพของเวลลิงตันออกจากทหารปรัสเซียและผลักดันให้กลับไปทางทะเล
สมรภูมิวอเตอร์ลูมีแนวสันเขาตามทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก มีถนนไปบรัสเซล์ตัดผ่านตรงกลางในแนวตั้งฉาก ทางยอดเขามีถนนโออังและหุบเหวตื้น ที่จุดตัดของถนนไปบรัสเซล์มีต้นเอม ซึ่งเวลลิงตันได้ควบคุมการรบที่นั่น โดยใช้การรบบนเนินเขา[26]ความยาวของกองทัพนั้นประมาณ 2.5 ไมล์ (4.0 กิโลเมตร) เวลลิงตันจึงสามารถนำกองทัพของเขารุกขึ้นมาได้ ซึ่งเขาทำในช่วงตอนกลางและฝั่งขวาไปยังหมู่บ้านแบรน์-ลาลเลอดโดยหวังใช้กองทัพปรัสเซียมาถึงให้ทันเวลา[27] ด้านหน้าสันเขามีจุดสำตัญที่สามารถใช้ป้องกันการโจมตีได้ ฝั่งขวาสุดมีชาโต สวน และสวมผลไม้ที่อูโกมองต์มีบ้านที่ซ่อนอยู่ท่ามกลางต้นไม้ซึ่งหันไปทางทิศเหนือ ตามแนวร่องเหว ฝั่งซ้ายสุดมีหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อปาปล็อต(Papelotte) ซึ่งอูโกมองต์และปาปล็อตได้มีทหารประจำการ ซึ่งทำให้การโจมตีตามแนวขอบใช้ไม่ได้ และปาปล็อตยังยึดถนนไปวาเวรอ ซึ่งทหารปรัสเซียใช้เดินทางมา ทิศตะวันตกของถนนไปบรัสเซล์มีฟาร์มชื่อว่าลาแอย์แซงต์มีทหารเบาแห่งกองทหารแห่งกษัตริย์เยอรมัน 400 นายประจำการอยู่.[28] ด้านตรงข้ามของถนนมีเหมืองทราย ที่หน่วยไรเฟิลที่ 95ประจำการเป็นพลแม่นปืน[29] ตำแหน่งของกองทัพเช่นนี้เป็นสิ่งที่ลำบากใจในการโจมตี การโจมตีต้องโจมตีที่อูโกมง ถ้าโจมตีตรงกลางจะถูงยิงทั้งสองด้าน คือทางอูโกมงและลาแอย์แซงต์ ฝั่งซ้ายจะถูกโจมตีที่ลาแอย์แซงต์ และเมืองปาปล็อต [30] กองทัพฝรั่งเศสอยู่ทางใต้ของสันเขา นโปเลียนไม่เห็นตำแหน่งของเวลลิงตัน จึงเดินทัพไปทางถนนบรัสเซล ปีกขวามีกองที่ 1 นำทัพโดยเดอลงมีทหารราบ 1,600 นาย ทหารม้า 1,500 นาย และสำรองอีก 4,700 ปีกซ้ายนำโดยรายยี มีทหารราบ 1,300 นาย ทหารม้า 1,300 นายและสำรองอีก 4,600 นาย ตรงกลางถนนไปยังลา แบล อาลายยังมีกำลังเสริมของโลโบ ประกอบด้วยทหารราบ 6,000 ทหารรักษาพระองค์ 1,300 นาย และทหารท้าอีก 1,200 นาย[31]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.