คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

ยุงก้นปล่อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยุงก้นปล่อง
Remove ads

Anopheles หรือยุงก้นปล่อง เป็นสกุลของยุงที่มีบทบาทเป็นพาหะของโรคมาลาเรีย, โรคเท้าช้าง และอีกหลายโรค

ข้อมูลเบื้องต้น ยุงก้นปล่อง, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...
Remove ads

โยฮันน์ วิลเฮล์ม เมเกน นักกีฏวิทยาชาวเยอรมัน พรรณนาและตั้งชื่อสกุลครั้งแรกในปี ค.ศ. 1818 โดยมาจากภาษากรีกโบราณ ἀνωφελής (anōphelḗs) แปลว่า 'ไร้ประโยชน์' [1]

ทั่วโลกมีสกุลยุงก้นปล่องมากกว่า 460 สปีชีส์ โดยมากกว่า 100 สปีชีส์ที่เป็นพาหะแพร่ระบาด ของโปรโตซัวปรสิตสกุล พลาสโมเดียม สาเหตุของโรคมาลาเรียในมนุษย์ แต่มีเพียง 30–40 ชนิดที่เป็นพาหะหลักที่พบได้บ่อยที่สุด [2]

ในประเทศไทย มีรายงานพบยุงก้นปล่อง 72 สปีชีส์ เป็นพาหะหลัก 3 สปีชีส์ ได้แก่ Anopheles minimus, Anopheles dirus และ Anopheles maculatus [3] ขณะที่ Anopheles gambiae เป็นสปีชีส์ที่รู้จักกันดีที่สุดของโลก ในฐานะพาหะของพลาสโมเดียมสปีชีส์ที่อันตรายที่สุด Plasmodium falciparum ที่แพร่ระบาดในทวีปแอฟริกา ยุงก้นปล่องบางสปีชีส์ เป็นพาหะแพร่ระบาดปรสิต Wuchereria bancrofti และ Brugia malayi สาเหตุของโรคเท้าช้าง (filariasis)[4]

แม้ยุงในสกุลอื่น (Aedes, Culex, Culiseta, Haemagogus และ Ochlerotatus) เป็นพาหะของโรคร่วมกัน แต่ไม่มีสกุลใดเป็นพาหะของมาลาเรีย

Remove ads

อ้างอิง

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads