Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัมลูก (อาหรับ: مملوك, "ทรัพย์สิน") เป็นสมาชิกของกลุ่มทหารที่เป็นอดีตทาสที่ได้รับอิสระ โดยมีบทบาทรับใช้ผู้ปกครองมุสลิมมาหลายยุคหลายสมัย
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การก้าวขึ้นมามีอำนาจของมัมลูก คือ การเกิดขึ้นของชนชั้นทหารอัศวินมัมลูกในอียิปต์สมัยยุคกลาง ซึ่งพัฒนามาจากกลุ่มทหารทาส อัศวินมัมลูกเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นทาสชาวตุรกี, ชาวคอปต์จากอียิปต์, ชาวเซอร์แคชเชีย (Circassians), ชาวอับคาเซีย (Abkhazians) และชาวจอร์เจีย นอกจากนี้ มัมลูกจำนวนมากมีแหล่งต้นกำเนิดจากบอลข่าน (แอลเบเนีย, กรีก และยูโกสลาฟ) "ปรากฏการณ์มัมลูก" หรือการเกิดขึ้นของชนชั้นนักรบมุสลิมนี้มีความสำคัญทางการเมืองมาก ในช่วง 1,000 ปี นับจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19[1]
เมื่อเวลาผ่านไปมัมลูกก็กลายเป็นชนชั้นทหารอัศวินที่มีอิทธิพลทางการทหารในหลาย ๆ ประเทศที่ถูกปกครองโดยผู้ปกครองชาวมุสลิม โดยเฉพาะในอียิปต์ แต่ในแถบตะวันออกกลาง เมโสโปเตเมีย และอินเดีย พวกมัมลูกถืออำนาจทั้งในทางการเมืองและการทหาร และในบางกรณีพวกเขาบรรลุถึงระดับได้ครองตำแหน่งสุลต่าน หรือได้ถืออำนาจในระดับภูมิภาคเป็นอะมีร (emir) หรือเบย์ (beys) ที่โดดเด่นที่สุด คือ การที่กลุ่มมัมลูกสามารถครองตำแหน่งสุลต่านโดยมีศูนย์กลางที่อียิปต์และซีเรีย และปกครองดินแดนเหล่านั้นภายใต้ระบอบสุลต่านมัมลูก (ค.ศ. 1250–1517) รัฐบาลสุลต่านมัมลูกมีชัยชนะเหนือจักรวรรดิข่านอิลในยุทธการที่อัยน์ญาลูต ก่อนหน้านี้พวกเขาต่อสู้กับนักรบครูเสดคริสเตียนจากยุโรปตะวันตกในปี ค.ศ. 1154–1712 และ ค.ศ. 1213–1221 ซึ่งทำให้พวกมัมลูกต้องถูกขับออกจากอียิปต์และตะวันออกกลาง ใน ค.ศ. 1302 พวกมัมลูกสามารถการขับไล่พวกครูเสดกลุ่มสุดท้ายออกจากลิแวนต์ได้อย่างเป็นทางการ และนำไปสู่การสิ้นสุดยุคสงครามครูเสด[2]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.