Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาโบโด[2] หรือ ภาษาโบโร[3] (बर'/बड़ो, แม่แบบ:IPA-bo) จัดอยู่ในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า พูดโดยชาวโบโดที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียและเนปาล เคยเขียนด้วยอักษรละติน ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรเทวนาครี
ภาษาโบโร | |
---|---|
ภาษาโบโด | |
बर'/बड़ो | |
ศัพท์ Boro Rao (ภาษาโบโร) ในอักษรเทวนาครี | |
ประเทศที่มีการพูด | อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ |
ภูมิภาค | โบโดแลนด์ (รัฐอัสสัม) |
ชาติพันธุ์ | ชาวโบโร |
จำนวนผู้พูด | 1.4 ล้านคน (2011 census)[1] |
ตระกูลภาษา | จีน-ทิเบต
|
ระบบการเขียน | อักษรเทวนาครี (ทางการ)
อักษรเบงกอล-อัสสัม (ร่วมสมัย) อักษรละติน (ร่วมสมัย) |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | อินเดีย |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | brx |
ภาษาโบโดเป็นภาษาในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต มีความใกล้เคียงกับภาษาดีมาซาในอัสสัม และภาษากาโรในรัฐเมฆาลัย และใกล้เคียงกับภาษากอกบอรอกในรัฐตรีปุระ
หลังจากมีการจัดตั้งองค์กรโบโดขึ้นใน พ.ศ. 2456 ได้มีการนำภาษานี้ไปเป็นสื่อในระดับมัธยมศึกษา และเป็นภาษาราชการร่วมของรัฐอัสสัม และมีการเปิดสอนรายวิชาด้วยภาษาโบโดในมหาวิทยาลัยคุวนตีใน พ.ศ. 2539 ภาษาโบโดยังมีหนังสือเกี่ยวกับกวีนิพนธ์ ละคร เรื่องสั้น นิยาย ชีวประวัติ หนังสือนำเที่ยว และหนังสือสำหรับเด็ก ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันจะได้รับอิทธิพลจากภาษาข้างเคียงเช่น ภาษาเบงกอล
การเขียนภาษาโบโดอย่างเป็นทางการใช้อักษรเทวนาครี แม้ว่าจะเคยใช้อักษรละตินและอักษรอัสสัมเป็นเวลานาน [4] นักวิจัยบางคนกล่าวว่าภาษานี้เคยมีอักษรเป็นของตนเองแต่สูญหายไปแล้ว เรียกอักษรเดโอได
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.