จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเฮอร์เตวิน เป็นภาษาแอราเมอิกใหม่สำเนียงตะวันออกใช้พูดในหลายหมู่บ้านในจังหวัดซิอิรห์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่อพยพไปทางตะวันตก เหลือผู้พูดในตุรกีไม่มากนัก วิธภาษาที่ใกล้ชิดกับภาษานี้ที่สุดคือภาษาแอราเมอิกใหม่โบห์ตัน[2] ภาษานี้ยังมีลักษณะร่วมกับภาษาตูโรโยหลายแห่ง
ภาษาเฮอร์เตวิน | |
---|---|
ܣܘܪܬ Sôreth | |
ออกเสียง | [ˈhɛrtəvən], [ˈsorɛθ] |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศตุรกี |
ภูมิภาค | จังหวัดซีอีร์ท |
จำนวนผู้พูด | 4 คน (2012)[1] |
ตระกูลภาษา | แอโฟรเอชีแอติก
|
ระบบการเขียน | อักษรซีรีแอก (แบบ Madnhāyâ) |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | hrt |
ผู้พูดภาษานี้เป็นชาวคริสต์นิกายคาทอลิกคัลเดีย บ้านเดิมของพวกเขาอยู่ในหมู่บ้านในเฮอร์เตวิน ใกล้เมืองเปอร์วารี ในจังหวัดซิอิรท์ซึ่งถือว่าอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของบริเวณที่มีผู้พูดภาษาแอราเมอิกใหม่สำเนียงตะวันออก ก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ภาษาเฮอร์เตวินเป็นสำเนียงที่พัฒนาขึ้นต่างจากภาษาใกล้เคียงอื่นๆ
ภาษาเฮอร์เตวินถูกจัดเป็นภาษาหนึ่งต่างหากโดย Otto Jastrow เมื่อ พ.ศ. 2513 และเขาได้อธิบายเกี่ยวกับภาษานี้ในอักสองปีต่อมา ลักษณะเด่นของภาษานี้ที่ต่างจากภาษาแอราเมอิกใหม่สำเนียงตะวันออกด้วยกันคือ ไม่มีการแยกสรรพนามชี้เฉพาะ “นี่” กับ “นั่น” แต่ใช้กลุ่มของสรรพนามที่ครอบคลุมทั้งสองความหมายคือ awa aya และ ani มีการสร้างคำสรรพนามสำหรับคำว่า “สิ่งนี้ที่นี่” คือ oha eha และ anhi ผู้พูดภาษาเฮอร์เตวินจะพูดภาษาเคิร์ดได้ด้วย และอาจจะพูดภาษาอื่นๆได้อีก ภาษานี้เขียนด้วยอักษรซีเรียค แต่เกือบจะไม่มีวรรณกรรมใดๆเหลืออยู่เลย ผู้พูดภาษานี้ใช้ภาษาซีเรียคเป็นภาษาทางศาสนา
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.