Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาตาลิซ (زبان تالشی, Tolışə Zıvon, Tолышә зывон)[3][4] เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือที่ใช้พูดในจังหวัดกีลอนและจังหวัดแอร์แดบีลของประเทศอิหร่าน กับภูมิภาคทางตอนใต้ของประเทศอาเซอร์ไบจาน ภาษาตาลิชมีความใกล้ชิดกับภาษาตอตี ภาษาตาลิชมีหลายสำเนียง ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่: ตอนเหนือ (ในอาเซอร์ไบจานและอิหร่าน), ตอนกลาง (อิหร่าน) และตอนใต้ (อิหร่าน) ผู้พูดภาษาตาลิชสามารถเข้าใจภาษาเปอร์เซียได้ส่วนหนึ่ง แผนที่โลกว่าด้วยภาษาใกล้สูญของยูเนสโกจัดให้ภาษาตาลิชเป็นภาษาที่มีภาวะเสี่ยงใกล้สูญ[5]
ภาษาตาลิซ | |
---|---|
Tolışə zıvon Tолышә зывон زبان تالشی | |
ศัพท์ ตาลิช ในอักษรแนสแทอ์ลีก (زبان تالشی), อักษรละติน (Tolışə zıvon) และอักษรซีริลลิก (Tолышә зывон) | |
ประเทศที่มีการพูด | อิหร่าน อาเซอร์ไบจาน |
ภูมิภาค | แถบชายฝั่งทะเลแคสเปียนตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ |
ชาติพันธุ์ | ชาวตาลิช |
จำนวนผู้พูด | 912,000 (ไม่พบวันที่)[1] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรอาหรับ (ชุดตัวอักษรเปอร์เซีย) ในประเทศอิหร่าน อักษรละติน ในประเทศอาเซอร์ไบจาน อักษรซีริลลิกในประเทศรัสเซีย |
สถานภาพทางการ | |
ผู้วางระเบียบ | Academy of Persian Language and Literature[ต้องการอ้างอิง] |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | tly |
Linguasphere | 58-AAC-ed |
บริเวณที่เป็นแหล่งกำเนิดของภาษาตาลิซอยู่ทางด้านเหนือของจังหวัดกีลอนและจังหวัดแอร์แดบีลในอิหร่านและทางใต้ของมาซิลลี เลนโกราย เลริกและและอัสตาราในสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ภาษาตาลิซอยู่ในภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ ในทางประวัติศาสตร์ อาจติดตามย้อนไปได้จากยุคอิหร่านตอนกลางไปจนถึงยุคเมเดสในสมัยโบราณ ชาวตาลิซเรียกตนเองและภาษาของตนว่าโตลลิซซึ่งจุดกำเนิดของคำนี้ไม่แน่นอน แต่เก่ามาก น่าจะก่อนการอพยพของผู้พูดภาษากลุ่มอิหร่านเข้าสู่บริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลสาบแคสเปียน วรรณคดีทางตะวันตกเรียกตาลิซหรือตาเลซ
ภาษาตาลิซมีสามสำเนียงคือ เหนือ (ในอาเซอร์ไบจานและอิหร่าน) กลาง (ในอิหร่าน) และใต้ (ในอิหร่าน)ภาษาตาลิซเหนือได้แยกตัวเองออกจากภาษาตาลิซกลางและใต้ไม่เฉพาะแต่ทางภูมิศาสตร์ แต่รวมถึงทางวัฒนธรรมและภาษาศาสตร์ด้วย ผู้พูดภาษาตาลิซเหนือมักพบในสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานแต่ก็ยังมีในอิหร่านตามแนวชายแดน ในบริเวณทะเลสาบแคสเปียนของจังหวัดกิลัน ความหลากหลายของผู้พูดภาษาตาลิซในสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานเกิดจากความหลากหลายของการพูดมากกว่าความหลากหลายของสำเนียง
ภาษาตาเลชิหรือภาษาตาเลียชิ ภาษาโตลาชิ เป็นภาษาของชนชาติโบราณทางเหนือของอิหร่านที่เรียกตาเลซ ภาษานี้เคยใช้พูดทางใต้ของอาเซอร์ไบจานซึ่งแยกออกจากอิหร่านเพราะความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัสเซียกับอิหร่าน ซึ่งเรียกสนธิสัญญาเตอร์กามันชี ทางเหนือของอิหร่านพบผู้พูดภาษาตาเลชิ 7 จังหวัด ในอาเซอร์ไบจานพบผู้พูดภาษาตาเลชิในบริเวณที่มีผู้พูดภาษาตูร์กี การศึกษาเกี่ยวกับภาษาตาเลชิมีน้อยมาก
สัทอักษรสากล | ค.ศ. 1929–1938 | ISO 9 | อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ | KNAB (199x(2.0)) | อักษรซีริลลิก | อักษรโรมันอื่น ๆ | ตัวอย่าง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ɑː | a | a | آ, ا | a | а | â | âv |
a ~ æ | a | a̋ | َ, اَ | ǝ | ә | a, ä | asta |
ə | ә | - | ِ, اِ หรือ َ, اَ | ə | ə | e, a | esa |
eː | e | e | ِ, اِ | e | е | e | nemek |
o ~ ɔ | o | o | ا, ُ, و | o | о | o | šalvo |
u | u | u | او, و | u | у | u | udmi |
ʏ | u | - | او, و | ü | у | ü | salü, kü, düri, Imrü |
ɪ ~ i | ъ | y | ای, ی | ı | ы | i | bila |
iː | i | i | ای, ی | i | и | i, ị | neči, xist |
หมายเหตุ: แบบมาตรฐาน ISO 9 เผยแพร่ใน ค.ศ. 1995 รูปอักษรโรมัน 2.0 KNAB มีพื้นฐานมาจากอักษรละตินอาเซอร์ไบจาน[6] | |||||||
สัทอักษรสากล | อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ | อักษรโรมัน | ตัวอย่าง |
---|---|---|---|
ɑːɪ | آی, ای | âi, ây | bâyl, dây |
au | اَو | aw | dawlat |
æɪ | اَی | ai, ay | ayvona, ayr |
ou | اُو | ow, au | kow |
eɪ | اِی | ey, ei, ay, ai | keybânu |
æːə | اَ | ah | zuah, soahvona, buah, yuahnd, kuah, kuahj |
eːə | اِ | eh | âdueh, sueh, danue'eh |
ɔʏ | اُی | oy | doym, doymlavar |
สัทอักษรสากล | ค.ศ. 1929–1938 | ISO 9 | อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ | KNAB (199x(2.0)) | อักษรซีริลลิก | อักษรโรมันอื่น ๆ | ตัวอย่าง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
p | p | p | پ | p | п | p | pitâr |
b | в | b | ب | b | б | b | bejâr |
t | t | t | ت, ط | t | т | t | tiž |
d | d | d | د | d | д | d | debla |
k | k | k | ک | k | к | k | kel |
ɡ | g | g | گ | g | г | g | gaf |
ɣ | ƣ | ġ | غ | ğ | ғ | gh | ghuša |
q | q | k̂ | ق | q | ҝ | q | qarz |
tʃ | c, ç | č | چ | ç | ч | ch, č, c | čâki |
dʒ | j | ĉ | ج | c | ҹ | j, ĵ | jâr |
f | f | f | ف | f | ф | f | fel |
v | v | v | و | v | в | v | vaj |
s | s | s | س, ص, ث | s | с | s | savz |
z | z | z | ز, ذ, ض, ظ | z | з | z | zeng |
ʃ | ş | š | ش | ş | ш | sh | šav |
ʒ | ƶ | ž | ژ | j | ж | zh | ža |
x | x | h | خ | x | x | kh | xâsta |
h | h | ḥ | ه, ح | h | һ | h | haka |
m | m | m | م | m | м | m | muža |
n | n | n | ن | n | н | n | nân |
l | l | l | ل | l | л | l | lar |
lʲ | - | - | - | - | - | - | xâlâ, avâla, dalâ, domlavar, dalaza |
ɾ | r | r | ر | r | р | r | raz |
j | y | j | ی | y | ј | y, j | yânza |
หมายเหตุ: แบบมาตรฐาน ISO 9 เผยแพร่ใน ค.ศ. 1995 รูปอักษรโรมัน 2.0 KNAB มีพื้นฐานจากอักษรละตินอาเซอร์ไบจาน[6] | |||||||
ความแตกต่างโดยทั่วไปทางสัทวิทยาของสำเนียงภาษาตาลิชกับภาษาเปอร์เซียมาตรฐาน มีดังนี้:[7]
เสียงภาษาตาลิช | ตัวอย่างศัพท์ภาษาตาลิช | เทียบเสียงภาษาเปอร์เซีย | ตัวอย่างศัพท์ภาษาเปอร์เซีย | แปล |
---|---|---|---|---|
u | duna | â | dâne | เมล็ด |
i | insân | e ต้น | ensân | มนุษย์ |
e | tarâze | u | terâzu | ตราชู |
e | xerâk | o | xorâk | อาหาร |
a ในคำประสม | mâng-a-tâv | ∅ | mah-tâb | แสงจันทร์ |
v | âv | b | âb | น้ำ |
f | sif | b | sib | แอปเปิล |
x | xâsta | h | âheste | ช้า |
t | tert | d | tord | เปราะ |
j | mija | ž | može | ขนตา |
m | šamba | n | šanbe | วันเสาร์ |
∅ | mēra | h กลาง | mohre | ลูกปัด |
∅ | ku | h ท้าย | kuh | ภูเขา |
ภาษาอังกฤษ | | สำเนียงเหนือ (Lavandavili / Lankaroni) | สำเนียงกลาง (Taleshdulabi) | สำเนียงใต้ (Khushabari / Shandermani) | ภาษาตาตี (Kelori / Geluzani) | ภาษาเปอร์เซีย |
---|---|---|---|---|---|---|
big | | yul | yâl | yâl | pilla | bozorg, gat, (yal, pil) |
boy, son | | zoa, zua | zôa , zue | zu'a, zoa | zâ | Pesar |
bride | | vayü | vayu | gēša, veyb | vayu, vēi | arus |
cat | | kete, pišik, piš | peču | peču, pešu, piši | pešu | gorbe, piši |
cry (v) | | bamē | beramestē | beramē | beramesan | geristan |
daughter, girl (little) | | kina, kela | kilu, kela | kina, kel(l)a | kille, kilik | doxtar |
day | | rüž, ruj | ruz | ruz, roz | ruz | ruz |
eat (v) | | hardē | hardē | hardē | hardan | xordan |
egg | | uva, muqna, uya | âgla | merqona | xâ, merqowna | toxme morq |
eye | | čâš | čaš, čam | čēm | čašm | čašm |
father | | dada, piya, biya | dada | ? | pē | pedar |
fear (v) | | purnē, târsē | târsinē, tarsestē | tarsē | tarsesan | tarsidan |
flag | | filak | parčam | ? | ? | parčam, derafš |
food | | xerâk | xerâk | xerâk | xuruk | xorâk |
go (v) | | šē | šē | šē | šiyan | raftan (šodan) |
house/room | | ka | ka | ka | ka | xâne |
language; tongue | | zivon | zun | zavon | zuân | zabân |
moon | | mâng, uvešim | mâng | mang | mung, meng | mâh |
mother | | mua, mu, nana | nana | ? | mâ, dēdē, nana | mâdar, nane |
mouth | | qav, gav | ga, gav, ga(f) | qar | gar | dahân, kak |
night | | šav | šaw | šav | šav | šab |
north | | kubasu | šimâl | ? | ? | šemâl |
rice | | berz | berz | berj | berenj | berenj |
say (v) | | votē | vâtē | vâtē | vâtan | goftan |
sister | | huva, hova, ho | xâlâ, xolo | xâ | xâv, xâ | xâhar |
small | | ruk, gada | ruk | ruk | velle, xš | kučak |
sunset | | šânga | maqrib | ? | ? | maqreb |
sunshine | | haši | âftâv | ? | ? | âftâb |
water | | uv, ôv | âv | âv | âv | âb |
woman, wife | | žēn | žēn, žen | yen, žen | zanle, zan | zan |
yesterday | | zina | zir, izer | zir, zer | zir | diruz, di |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.