Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาวะพิษจากเมทานอล[4] (อังกฤษ: Methanol toxicity หรือ methanol poisoning) เป็นพิษจากการได้รับเมทานอล เริ่มแรกจะมีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ และปวดท้อง อาจเกิดตาพร่ามัวร่วมด้วย[2] ในระยะยาวอาจส่งผลให้การมองเห็นบกพร่องจากเส้นประสาทตาถูกทำลายโดยกรดฟอร์มิกและไตวาย[1] หากได้รับในปริมาณมากอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิต
ภาวะพิษจากเมทานอล | |
---|---|
ชื่ออื่น | Methanol poisoning |
โครงสร้างโมเลกุลของเมทานอล | |
สาขาวิชา | เวชศาสตร์ฉุกเฉิน |
อาการ | ความรู้สึกตัวลดลง, การทำงานประสานของร่างกายลดลง, อาเจียน, ปวดท้อง, ลมหายใจมีกลิ่นเฉพาะ[1][2] |
ภาวะแทรกซ้อน | ความบกพร่องทางการมองเห็น, ไตวาย[1] |
สาเหตุ | เมทานอล[1][2] |
วิธีวินิจฉัย | ภาวะเลือดเป็นกรด, ออสโมลาลิตีของพลาสมาเพิ่มสูงขึ้น, ระดับเมทานอลในเลือด[1][2] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | การติดเชื้อ, การได้รับแอลกอฮอล์พิษอื่น ๆ, กลุ่มอาการเซโรโทนิน, ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน[2] |
การรักษา | ยาต้านพิษ, การชำระเลือดผ่านเยื่อ[2] |
ยา | โฟมีพิโซล, เอทานอล[2] |
พยากรณ์โรค | ดีหากได้รับการรักษาทันท่วงที[1] |
ความชุก | 1,700 รายต่อปี (สหรัฐ)[3] |
เมทานอลเป็นแอลกอฮอล์ที่มีสูตรเคมีคือ CH3OH หรือ CH4O ลักษณะเป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยง่ายและติดไฟ[5] การเป็นพิษส่วนใหญ่เกิดจากความสับสนกับเอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ที่ดื่มได้ และการดื่มน้ำยาเช็ดกระจกรถด้วยความไม่ตั้งใจหรือพยายามฆ่าตัวตาย[2] เมื่อมนุษย์รับเมทานอลเข้าไปจะสลายกลายเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ด้วยเอนไซม์แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนสที่ตับ ก่อนจะแปรสภาพเป็นกรดฟอร์มิกด้วยเอนไซม์แอลดีไฮด์ดีไฮโดรจีเนส[6][7] กลไกความเป็นพิษเกิดได้กับ 2 ระบบได้แก่ ลดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางเช่นเดียวกับภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ และเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในระดับเซลล์จากกรดฟอร์มิก ส่งผลให้เกิดกรดแล็กติกเพิ่มขึ้นในเลือด นำไปสู่ภาวะเลือดเป็นกรด[8][9] การวินิจฉัยจะใช้วิธีตรวจร่างกายเพื่อดูการหายใจและม่านตา และตรวจเลือดเพื่อหาภาวะเลือดเป็นกรดและระดับออสโมลาลิตีของพลาสมา[1][2] การรักษาจะใช้ยาต้านพิษได้แก่โฟมีพิโซล (fomepizole) หรือเอทานอล[2][10] นอกจากนี้อาจใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต กรดโฟลิก และไทอามีนร่วมด้วย[2]
มีการรายงานการเป็นพิษจากเมทานอลครั้งแรก ๆ ในปี ค.ศ. 1856[11] การเป็นพิษพบได้ทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนาจากการดื่มแอลกอฮอล์ปนเปื้อน[2] โดยพบมากในเพศชายวัยผู้ใหญ่[3] ในปี ค.ศ. 2013 มีรายงานการเป็นพิษจากเมทานอลประมาณ 1,700 รายในสหรัฐ[3]
ภายะพิษสามารถรักษาด้วยการใช้ยา fomepizole หรือการดื่มเอทานอล[6][12][13] ทั้งคู่มีผลให้เกิดการลดลงของแอกอฮอลดีไฮโดรจีเนสในวิถีของเมทานอลผ่านการยับยั้งแบบแข่งขัน เอทานอลซึ่งเป็นองค์ประกอบออกฤทธิ์ในเครื่องดื่มแอลกอฮลจะทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งแข่งขัน (competitive inhibitor) ที่สามารถจับและเพิ่มความเข้มข้นของเอนไซม์ดีไฮโดรจีเนสในตับได้ดีกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่า จึงส่งผลไม่ให้เมทานอลถูกเมตาบอไลส์ต่อ เมทานอลที่ไม่ถูกเมตาบอไลส์จะถูกขับออกทางไตโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นสารเมตาไบไลต์ที่เป็นพิษ (ฟอร์มอลดีไฮด์ และ กรดฟอร์มิก) เสียก่อน ในขณะที่แอลกอฮลดีไฮโดรจีเนสจะเเปลี่ยนเอทานอลเป็นอะซีทอลดีไฮด์ที่เป็นพิษต่ำกว่าแทน[6][14] นอกจากนี้อาจมีการรักษาเพิ่มเติมด้วยการใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตเพื่อรักษาอาการเมตาบอลิกเอซิดอซิสและการใช้เฮโมไดอะไลซิส หรือ เฮโมไดอะฟิลเตรชั่นเพื่อขับเมทานอลและฟอร์เมตออกจากเลือด[6]นอกจากนี้อาจใช้ กรดฟอลินิก หรือ กรดฟอลิกเพื่อเพิ่มการเมตาบอไลส์กรดฟอร์มิกในร่างกาย[6]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.