Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟีฟ่าคองเกรส (อังกฤษ: FIFA Congress) เป็นองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฝรั่งเศส: Fédération Internationale de Football Association) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ฟีฟ่า ซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแลกีฬาฟุตบอล ฟุตซอล และฟุตบอลชายหาดในระดับนานาชาติ การประชุมมีทั้ง สมัยสามัญ และ สมัยวิสามัญ
การประชุมสามัญจะจัดขึ้นทุกปี สภาฟีฟ่า (เดิมคือคณะกรรมการบริหาร) อาจเรียกประชุมสภาวิสามัญเมื่อใดก็ได้ หากได้รับความเห็นชอบด้วยมติ 1 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมดของฟีฟ่า[1]
สมาชิกฟีฟ่า จำนวน 211 ประเทศ แต่ละประเทศมีหนึ่งเสียงในสภา สมาชิกฟีฟ่าสามารถเสนอชื่อประเทศที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก และผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานฟีฟ่าได้ การเลือกตั้งประธานฟีฟ่า และการเลือกตั้งประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลก จะมีขึ้นในการประชุมในปีถัดจากปีที่แข่งขันฟุตบอลโลก และการเลือกตั้งประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลกหญิง จะมีขึ้นในการประชุมในปีถัดจากปีที่แข่งขันฟุตบอลโลกหญิง[2]
ฟีฟ่าคองเกรสจัดขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 1998 ก่อนหน้านี้จัดขึ้นทุกสองปี การประชุมใหญ่ไม่ได้จัดขึ้นระหว่างปี 1915 ถึง 1922 และ 1939 ถึง 1945 เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองตามลำดับ การเลือกตั้งประธานฟีฟ่าเกิดขึ้นในการประชุมคองเกรสครั้งที่ 1, 3, 12, 29, 30, 39, 51, 53, 61, 65, 69 และ 73
ฟีฟ่าครองเกรสสมัยวิสามัญเมื่อปี 1961 ในลอนดอน ได้เลือกสแตนลีย์ เราส์ เป็นประธาน [3] ฟีฟ่าคองเกรส สมัยวิสามัญประจำปี 2016 ที่ซือริช ได้เลือก จันนี อินฟันตีโน เป็นประธานคนใหม่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2016[4] มีการเลือกตั้งเพียง 5 ครั้งเท่านั้นที่มีผู้สมัคร 2 คนขึ้นไป คือ ครั้งที่ 39 (1974), ครั้งที่ 51 (1988), ครั้งที่ 53 (2002), ครั้งที่ 65 (2015) และสมัยวิสามัญปี 2016
การประชุมครั้งที่[5] | ปี | เมือง | สมาคมสมาชิกที่เข้าร่วม |
---|---|---|---|
1 | 1904 | ปารีส | 5 |
2 | 1905 | 5 | |
3 | 1906 | แบร์น | 7 |
4 | 1907 | อัมสเตอร์ดัม | 12 |
5 | 1908 | เวียนนา | 16 |
* | 1908 | บรัสเซลส์ | 7 |
6 | 1909 | บูดาเปสต์ | 13 |
7 | 1910 | มิลาน | 12 |
8 | 1911 | เดรสเดิน | 11 |
9 | 1912 | สตอกโฮล์ม | 17 |
10 | 1913 | โคเปนเฮเกน | 12 |
11 | 1914 | คริสเตียเนีย (ออสโล) | 17 |
12 | 1923 | เจนีวา | 17 |
13 | 1924 | ปารีส | 27 |
14 | 1925 | ปราก | 22 |
15 | 1926 | โรม | 23 |
16 | 1927 | เฮลซิงกิ | 21 |
17 | 1928 | อัมสเตอร์ดัม | 29 |
18 | 1929 | บาร์เซโลนา | 23 |
19 | 1930 | บูดาเปสต์ | 27 |
20 | 1931 | เบอร์ลิน | 25 |
21 | 1932 | สตอกโฮล์ม | 29 |
22 | 1934 | โรม | 27 |
23 | 1936 | เบอร์ลิน | 37 |
24 | 1938 | ปารีส | 30 |
25 | 1946 | ลักเซมเบิร์ก | 34 |
26 | 1948 | ลอนดอน | 48 |
27 | 1950 | รีโอเดจาเนโร | 35 |
28 | 1952 | เฮลซิงกิ | 56 |
* | 1953 | ปารีส | 48 |
29 | 1954 | แบร์น | 52 |
30 | 1956 | ลิสบอน | 57 |
31 | 1958 | สตอกโฮล์ม | 62 |
32 | 1960 | โรม | 69 |
* | 1961 | ลอนดอน | 67 |
33 | 1962 | ซันติอาโก | 59 |
34 | 1964 | โตเกียว | 99 |
35 | 1966 | ลอนดอน | 94 |
36 | 1968 | กัวดาลาฮารา | 78 |
37 | 1970 | เม็กซิโกซิตี | 86 |
38 | 1972 | ปารีส | 102 |
39 | 1974 | แฟรงก์เฟิร์ต | 122 |
40 | 1976 | มอนทรีออล | 108 |
41 | 1978 | บัวโนสไอเรส | 107 |
42 | 1980 | ซือริช | 103 |
43 | 1982 | มาดริด | 127 |
44 | 1984 | ซือริช | 112 |
45 | 1986 | เม็กซิโกซิตี | 111 |
46 | 1988 | ซือริช | 111 |
47 | 1990 | โรม | 130 |
48 | 1992 | ซือริช | 118 |
49 | 1994 | ชิคาโก | 164 |
50 | 1996 | ซือริช | 182 |
51 (รายละเอียด) | 1998 | ปารีส | 196 |
* | 1999 | ลอสแอนเจลิส | 195 |
52 | 2000 | ซือริช | 200 |
* | 2001 | บัวโนสไอเรส | 202 |
* | 2002 | โซล | 202 |
53 (รายละเอียด) | 2002 | 202 | |
* | 2003 | โดฮา | 204 |
54 | 2004 | ปารีส | 203 |
55 | 2005 | มาร์ราคิช | 203 |
56 | 2006 | มิวนิก | 207 |
57 | 2007 | ซือริช | 206 |
58 | 2008 | ซิดนีย์ | 200 |
59 | 2009 | แนสซอ | 205 |
60 | 2010 | โจฮันเนสเบิร์ก | 207 |
61 (รายละเอียด) | 2011 | ซือริช | 208 |
62 | 2012 | บูดาเปสต์ | 209 |
63 | 2013 | พอร์ตลูอิส | 208 |
64 | 2014 | เซาเปาลู | 209 |
65 (รายละเอียด) | 2015 | ซือริช | 210 |
* (รายละเอียด) | 2016 | 207 | |
66 | 2016 | เม็กซิโก | 209 |
67 | 2017 | มานามา[6] | 211 |
68 (รายละเอียด) | 2018 | มอสโก | 210 |
69 (รายละเอียด) | 2019 | ปารีส | 211 |
70 | 2020 | ซือริช[note 1] | 211 |
71 | 2021 | ซือริช[note 2] | 211 |
72 | 2022 | โดฮา | 210 |
73 (รายละเอียด) | 2023 | คิกาลี | 208 |
74 (รายละเอียด) | 2024 | กรุงเทพมหานคร | 211 |
* | 2024 | ซือริช[note 3] | TBC |
75 | 2025 | อาซุนซิออน | TBC |
76 | 2026 | หรือ หรือ | TBC |
มีการประชุมวิสามัญเกิดขึ้นทั้งหมด 8 ครั้ง เมื่อปี 1908 (บรัสเซลส์), 1953 (ปารีส), 1961 (ลอนดอน), 1999 (ลอสแอนเจลิส), 2001 (บัวโนสไอเรส), 2002 (โซล), 2003 (โดฮา) และ 2016 (ซูริค) [12] ในการประชุมสมัยวิสามัญปี 2016 เซ็พ บลัทเทอร์ ประธานฟีฟ่าในขณะนั้นจะยังคงอยู่ในตำแหน่งของเขาจนกว่าผู้สืบทอดตำแหน่งของเขาจะได้รับเลือก[13] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเขาถูกแบน รักษาการประธานฟีฟ่า อีซา ฮายาตู จึงรับหน้าที่ดูแลฟีฟ่าแทน[14]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.