Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟังก์ (อังกฤษ: funk) เป็นแนวเพลงชนิดหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษที่ 1960 เมื่อนักดนตรีชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ได้รวมเพลงแนวโซล เข้ากับโซลแจ๊ส และอาร์แอนด์บี ให้มีจังหวะ สามารถเต้นรำได้ เกิดแนวเพลงชนิดใหม่ ฟังก์ได้ลดความเด่นของเมโลดี้และความกลมกลืนลง และนำจังหวะสนุกสนานเพิ่มขึ้นด้วยเบสอิเล็กทรอนิกและกลองให้ชัดขึ้น ไม่เหมือนกับเพลงอาร์แอนด์บีหรือโซล ที่มีการเปลี่ยนคอร์ดหลายครั้ง เพลงฟังก์มักจะมีคอร์ดเดียว
ฟังก์ | |
---|---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ | ดนตรีโซล และได้รับอิทธิพลจาก อาร์แอนด์บี, แจ๊ส, ร็อกแอนด์โรล และ ไซเคเดลิกร็อก |
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | กลางถึงปลายทศวรรษที่ 1960 ในสหรัฐอเมริกา |
เครื่องบรรเลงสามัญ | กีตาร์ - กีตาร์เบส - กลอง - เครื่องเป่า |
แนวย่อย | |
โก-โก - พี-ฟังก์ | |
แนวประสาน | |
แอฟโฟรบีท - ฟังก์ร็อก - จี-ฟังก์ |
ฟังก์ประกอบด้วยจังหวะของเครื่องดนตรีอย่าง กีตาร์ไฟฟ้า เบสไฟฟ้า แฮมมอนด์ออร์แกน และกลอง เล่นในจังหวะที่เกาะเกี่ยวกัน วงฟังก์มักจะมีเครื่องเป่าอยู่ด้วย อย่าง แซกโซโฟน ทรัมเป็ต หรือในบางครั้งก็มี ทรอมโบน
ผู้มีอิทธิพลต่อดนตรีฟังก์ เช่น เจมส์ บราวน์, ชากา คาน (Queen of Funk), สลาย แอนด์ เดอะ แฟมิลี สโตน, จอร์จ คลินตัน แอนด์ พาร์ไลเมน-ฟังก์คาเดลิก, เคอร์ติส เมฟิลด์, เดอะ เมเตอร์ส, เดอะ ฟังก์ บราเตอร์ส, บูทซี คอลลินส์ และ พรินซ์ วงดนตรีที่เป็นที่รู้จักในทศวรรษที่ 1970 อย่าง เอิร์ธ, วินด์แอนด์ไฟร์, ทาวเวอร์ ออฟ พาวเวอร์, คอมโมดอร์ส และคูลแอนด์เดอะแก๊ง ที่โด่งดังหลาย ๆ วง ก็เล่นเพลงในแนวดิสโก้และโซลด้วย
ดนตรีฟังก์ได้มีการพัฒนาอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1970 ในช่วงที่ดนตรีดิสโก้โด่งดัง มีความนิยมในการใช้ท่อมแซมเปิ้ลของดนตรีฟังก์ในดนตรีฮิปฮอป และฟังก์ยังมีอิทธิพลต่อแนวดนตรี โก-โก ฟังก์อย่างมีอิทธิพลต่อเพลงแนวนิวเวฟและโพสต์พังก์บ้าง
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.