Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พัณนิดา เศวตาสัย (ชื่อเล่น: เอ๋; เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2508) นักร้องหญิงชาวไทย มีพี่น้อง 4 คนโดยเธอเป็นคนที่ 2 เข้าศึกษาที่โรงเรียนราชินี รุ่นเดียวกับ แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร ต่อมาได้สอบเทียบเข้าคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนจบปริญญาตรีและจบปริญญาโท สาขาบริหารงานบุคคล ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ [1]
เริ่มสนใจการร้องเพลงตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาตอนต้น ได้เคยร้องเพลงหน้าชั้น และได้ประกวดร้องเพลงชั้น ป.4 ร่วมกับ แอม เสาวลักษณ์ รวมทั้งชื่นชอบการเล่นกีตาร์ โดยเริ่มเรียนเล่นกีตาร์ขณะเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ซึ่งได้เล่นและร้องขณะก่อตั้งวงโฟล์คซองประจำโรงเรียนเพื่อหาทุนสร้างตึก โดยเธอและแอมเสาวลักษณ์ได้ร่วมกันร้องเพลง เดียวดาย ที่แต่งโดยอาจารย์ลดาวัลย์ โสมศรี เพื่อสมทบทุนสร้าง สวนขวัญ ในโรงเรียนราชินี และวงนี้ได้ออกชุดที่สองเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ เพื่อหาทุนสร้างหอสมุดวชิราวุธานุสรณ์ของรัชกาลที่ 6 ขณะที่โฟล์คซองชุดแรกออกอัลบั้มเป็นเทปคาสเซ็ทและได้ถูกโปรโมทตามสถานีวิทยุ ทำให้คุณระย้า ประเสริฐ พงษ์ธนานิกร ดีเจรายการมิวสิคเทรนและผู้ก่อตั้งค่ายเพลงรถไฟดนตรีสนใจในน้ำเสียงของเธอ จึงได้ติดต่ออาจารย์ลดาวัลย์ให้พัณนิดาเป็นผู้ขับร้องเพลงนี้ใหม่ แต่ต้องพับโครงการนี้ในช่วงแรกเพราะคุณพ่อของเธอยังไม่อนุญาต [2] มาทำต่อสำเร็จในปี พ.ศ. 2527 ขณะที่เธอกำลังศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยใช้ชื่ออัลบั้มว่า เดียวดาย ปีต่อมาเธอได้มีผลงานชุดที่ 2 ชื่อ หลงรักเธอ ซึ่งได้ร้องเพลงเก่าที่กลับมาบันทึกเสียงใหม่ ส่วนผลงานชุดที่ 3 คิดถึงจัง ได้วางแผงหลังจากที่เธอได้ไปเรียนต่อปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกา โดยผลงานเพลงที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ฉากสุดท้าย ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จากนั้นเธอจึงมีผลงานออกมาเป็นระยะๆ ทั้งเพลงไทยและเพลงสากลออกมาอย่างต่อเนื่องซึ่งขายได้เรื่อยๆ แม้จะไม่เปรี้ยงปร้างนัก
ในระยะแรกพัณนิดาไม่เคยออกคอนเสิร์ตที่ไหน และไม่เคยออกรายการใดๆ เลย จนเมื่อประมาณ 25 ปีต่อมาจึงได้ออกคอนเสิร์ตครั้งแรก ชื่อ กรีนคอนเสิร์ตหมายเลข 10 The Lost Love Songs เมื่อปี พ.ศ. 2550 และ The Memory Night Concert ในปี พ.ศ. 2552 [3]
ปัจจุบันทำงานที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แผนกบริหารสัญญา การจัดหาการขนส่งต่างประเทศ [4]
เดียวดาย (พ.ศ. 2527)
หลงรักเธอ (พ.ศ. 2528)
คิดถึงจัง (พ.ศ. 2529)
ข้ามฟ้า มาฝาก (พ.ศ. 2531)
Back To The Old Day (พ.ศ. 2532) In The Mood I & II (พ.ศ. 2533) ใจสองดวง (พ.ศ. 2534)
เติมเชื้อไฟ (พ.ศ. 2536)
ฟ้าเดียวกัน (พ.ศ. 2544)
ทำตามหัวใจ (พ.ศ. 2546)
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.