คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
พอได้เกิดใหม่เป็นองค์ชายลําดับที่เจ็ด ก็เพื่อเรียนเวทให้สนุก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
พอได้เกิดใหม่เป็นองค์ชายลําดับที่เจ็ด ก็เพื่อเรียนเวทให้สนุก[a](ญี่ปุ่น: 転生したら第七王子だったので、気ままに魔術を極めます; โรมาจิ: Tensei Shitara Dai Nana Ōji Datta no de, Kimama ni Majutsu o Kiwamemasu)เป็นซีรีส์ไลต์โนเวลญี่ปุ่น ที่เขียนโดย เค็นเคียว นา เซอร์เคิล และวาดภาพโดย เมรู ได้รับการตีพิมพ์ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์จัดพิมพ์นวนิยายผู้ใช้ของสำนักพิมพ์โชเซ็ตสึกะ นิ นาโรตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ต่อมาถูกซื้อกิจการโดยสำนักพิมพ์โคดันชะซึ่งได้ออกเล่มเจ็ดเล่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 ภายใต้สำนักพิมพ์Kodansha Ranobe Bunko มังงะที่ดัดแปลงโดย เคอิริ อามามิยะ ได้รับการตีพิมพ์ในเว็บไซต์และแอป Magazine Pocket ของ สำนักพิมพ์โคดันชะ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 โดเมื่อเดือนเมษายนรวมเล่ม(ทังโกบง) ทั้งหมด 15 เล่ม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ซีรีส์โทรทัศน์ อนิเมะที่ดัดแปลงโดยสตูดิโอ สึมูงิ อากิตะ แอนิเมชันแล็บ มีกำหนดฉายรอบปฐมทัศน์ใน เมษายน พ.ศ. 2567
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
Remove ads
Remove ads
เรื่องย่อ
เขาเป็นพลเมืองธรรมดาสามัญผู้ยากจนในอาณาจักรซาลูม แม้ว่าเขาจะไม่มีความสามารถหรือมานามากนัก แต่เขาก็รักเวทมนตร์ และทุ่มเทให้กับการเรียนรู้เวทมนตร์สิ่งที่เขาทุกอย่างเกือบไปได้สวยแต่เขาโดนเหล่าชนชั้นสูงจัดการเมื่อเขาตื่นขึ้นมา เขาก็กลับชาติมาเกิดใหม่เป็นลอยด์ เจ้าชายคนที่เจ็ดแห่งอาณาจักรซาลูม ในสภาพแวดล้อมอันแสนสุขนี้ ตอนนี้เขาสามารถเรียนรู้และเชี่ยวชาญเวทมนตร์ใดก็ได้ตามต้องการ พร้อมด้วยความรู้และความทรงจำจากชาติที่แล้วของเขา ผลก็คือ ตอนนี้เขาสามารถเพลิดเพลินไปกับชีวิตที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านเวทมนตร์ที่ไม่มีใครเทียบได้ โดยไม่ต้องสนใจว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับเขา
Remove ads
ตัวละคร[2]
- ลอยด์ เดอ ซาลูม (องค์ชายลำดับที่ 7) (ロイド=ディ=サルーム Roido di Sarūmu)
- ให้เสียงโดย: มาโกโตะ โคอิจิ[3],จุง ฟูกูยามะ (ชาติก่อน) (ญี่ปุ่น); ศันสนีย์ ติณห์กีรดีศ[4],ไชยยงค์ กนกคุณ[4](ชาติก่อน) (ไทย)
- กรีมัวร์เวิรล์/กรีมัวร์ (グリモ Gurimo)
- ให้เสียงโดย: ฟัยรูซ ไอ (ญี่ปุ่น); บุญราศรี ฉายะวรรณ[4],ประภัฒน์ สินธพวรกุล[4](ร่างเดิม) (ไทย)
- ซิลฟา แลงลิส (シルファ Shirufa)
- ให้เสียงโดย: ลินน์ (ญี่ปุ่น); เพ็ญนีติ์ ศศิธนาโสภณ[4] (ไทย)
- เต๋า ยวี่ฟา (タオ・ユイファ Tao Yuifa)
- ให้เสียงโดย: อากิระ เซกิเนะ (ญี่ปุ่น); กุลธิดา ประทุมทิพย์[4] (ไทย)
- เร็น (レン Ren)
- ให้เสียงโดย: ริเอะ ทากาฮาชิ (ญี่ปุ่น); ปภัชญา เทพสงเคราะห์[4] (ไทย)
- อัลเบิร์ต เดอ ซาลูม (องค์ชายลำดับที่ 2) (アルベルト・ディ・サルーム Aruberuto Di Sarūmu)
- ให้เสียงโดย: ชุง โฮริเอะ (ญี่ปุ่น); นนท์ ศรีโพธิ์[4] (ไทย)
- ดิอัน เดอ ซาลูม (องค์ชายลำดับที่ 4) (ディアン・ディ・サルーム Dian Di Sarūmu)
- ให้เสียงโดย: ยูยะ ฮิโรเซะ (ญี่ปุ่น); ไชยยงค์ กนกคุณ[4] (ไทย)
- อารีเซ่ เดอ ซาลูม (องค์หญิงลำดับที่ 6) (アリーゼ・ディ・サルーム Arīze Di Sarūmu)
- ให้เสียงโดย: อากาเนะ คูมาดะ (ญี่ปุ่น); นาราริน รัตนปราณี[4] (ไทย)
- ชิโระ (シロ Shiro)
- ให้เสียงโดย: เอริโกะ มัตสึอิ (ญี่ปุ่น) (ญี่ปุ่น); สุกัญญา แย้มเกตุ[4] (ไทย)
- เจด โลร์โดสต์ (ジェイド・ロードスト Jeido Rōdosuto)
- ให้เสียงโดย: โนบูนางะ ชิมาซากิ[5] (ญี่ปุ่น); ณัชสพล โชติช่วงมั่นคง[4] (ไทย)
- กาลิเลียร์ (ガリレア Garirea)
- ให้เสียงโดย: โทโมกาซุ ซูงิตะ[5] (ญี่ปุ่น); คมสรร รัตนากรบดี[4] (ไทย)
- ทาเรีย (タリア Taria)
- ให้เสียงโดย: ซาโตมิ อาเกซากะ[5] (ญี่ปุ่น) (ญี่ปุ่น); กุลธิดา ประทุมทิพย์[4] (ไทย)
- บาบิโลน (バビロン Babiron)
- ให้เสียงโดย: ชุนอิจิ โทกิ[5] (ญี่ปุ่น); ชัยนวัตร ศิริเวช[4] (ไทย)
- โครว์ (クロウ Kurō)
- ให้เสียงโดย: ทาคุมะ นากาสึกะ[5](ญี่ปุ่น) (ญี่ปุ่น); ไชยยงค์ กนกคุณ[4] (ไทย)
- กุยซาร์เม ราเอล วัลเฮนวัช (กีชาร์ม) (Gizarumu Rēiru Varuhenvahha)
- ให้เสียงโดย: โนบูนางะ ชิมาซากิ (ญี่ปุ่น); ประภัฒน์ สินธพวรกุล[4] (ไทย)
- ปาซูซู (パズズ Pazuzu)
- ให้เสียงโดย: เซทสึจิ ซาโตะ
- อิชา (イーシャ Īsha)
- ให้เสียงโดย: มานากะ อิวามิ[6]
- ซาเรีย เดอ ซาลูม (サリア・ディ・サルーム Saria Di Sarūmu)
- ให้เสียงโดย: มินามิ สึดะ[6]
- องค์หญิงลำดับที่ 4
- จิริเอล (ジエル Jirieru)
- ให้เสียงโดย: โชตาโร โมริกูโบะ[7]
- Mysterious Priest (謎神父 Nazo Shinpu)
- ให้เสียงโดย: มิตสึรุ มิยาโมโตะ[7]
- ชไนเซล เดอ ซาลูม (シュナイゼル・ディ・サルーム Shunaizeru Di Sarūmu)
- องค์ชายลำดับที่ 1
- ครูเซต เดอ ซาลูม (クルーゼ・ディ・サルーム Kurūze Di Sarūmu)
- องค์หญิงลำดับที่ 1
- บิร์กิต เดอ ซาลูม (ビルギット・ディ・サルーム Birugitto Di Sarūmu)
- องค์หญิงลำดับที่ 2
- ชาร์ล เดอ ซาลูม (チャールズ・ディ・サルーム Chāruzu Di Sarūmu)
- ราชาแห่งอาณาจักรซาลูม
- เซโรฟ เดอ ซาลูม (ゼロフ・ディ・サルーム Zerofu Di Sarūmu)
- องค์ชายลำดับที่ 3
- เฉิน ยวี่ฟา (チェン・ユイファ Chen Yuifa)
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
Remove ads
สื่ออื่นๆ
สรุป
มุมมอง
ไลต์โนเวล
เขียนโดย เค็นเคียว นา เซอร์เคิล เริ่มตีพิมพ์ในเว็บไซต์สำนักพิมพ์โชเซ็ตสึกะ นิ นาโรเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562[3] ซีรีส์นี้ต่อมาถูกซื้อกิจการโดย และสำนักพิมพ์โคดันชะ เริ่มตีพิมพ์นวนิยายพร้อมภาพประกอบโดย เมรู เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ภายใต้สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์โคดันชะ ซึ่งเริ่มตีพิมพ์นวนิยายพร้อมภาพประกอบโดย เมรู เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ภายใต้สำนักพิมพ์ Kodansha Ranobe Bunko [8] ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 มีการออกเล่มทั้งหมดเจ็ดเล่ม[9]
มังงะ
มังงะดัดแปลงที่วาดโดยโยสุเกะ โคคุซาวะเริ่มตีพิมพ์ในเว็บไซต์และแอปMagazine Pocket ของ สำนักพิมพ์โคดันชะ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 มีการออกเล่มทังโกบง[15] [16] อเมริกาเหนือKodansha USAได้อนุญาตมังงะให้ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษแบบดิจิทัล ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 Kodansha USAประกาศว่าซีรีส์นี้จะออกพิมพ์ในฤดูใบไม้ร่วงปี พ.ศ. 2565[17][18]
มังงะแยกเรื่องซึ่งวาดโดยเคอิริ อามามิยะ เริ่มตีพิมพ์ในเว็บไซต์และแอปMagazine Pocket เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567[19][20]
อนิเมะโทรทัศน์
ซีรีส์โทรทัศน์ อนิเมะที่ดัดแปลงได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[35] ผลิตโดยสตูดิโอTsumugi Akita Animation Lab และกำกับโดยจิน ทามามูระ พร้อมบทที่เขียนโดย นาโอกิ โทซึกะ ออกแบบตัวละครโดย Shigeru Nishigori และเพลงที่แต่งโดย RON[36] ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน ถึงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ทางช่องทีวีโตเกียวและบริษัทในเครือ[37][38]คาเอเดะ ฮิกุจิ จะร้องเพลงเปิด "Kyunrious" (キュンラス)ในขณะที่อากาเนะ คุมาดะ จะร้องเพลงปิด "Happy no Hiketsu" (ハッピーの秘訣)[39]
หลังจากออกอากาศตอนสุดท้ายของฤดูกาลแรก ก็มีการประกาศฤดูกาลที่สอง[40] โดยมีกำหนดออกอากาศในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 ทางทีวีโตเกียวและเครือข่ายอื่น ๆ[7]
ที่งาน Anime Expo 2023 ครันชีโรลได้ประกาศว่าพวกเขาได้รับลิขสิทธิ์ซีรีส์นี้นอกเอเชีย[41] มิวส์ คอมมิวนิเคชันได้รับลิขสิทธิ์ซีรีส์นี้ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[42]
รายชื่อตอน
ฤดูกาลที่ 1 (พ.ศ. 2567)
ฤดูกาลที่ 2 (พ.ศ. 2568)
Remove ads
การตอบรับ
ในปี 2021 มังงะที่ดัดแปลงมาติดอันดับที่ 8 ในงานNext Manga Awards ครั้งที่ 7 ในหมวดมังงะบนเว็บ ภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565[43]ซีรีส์นี้มียอดจำหน่ายมากกว่า 2.5 ล้านเล่ม[44]
หมายเหตุ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads