พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 (อังกฤษ: Nebuchadnezzar II, /nɛbjʊkədˈnɛzər/; อักษรรูปลิ่มบาบิโลน: Nabû-kudurri-uṣur,[6][7][c] หมายถึง "นาบู คุ้มครองผู้สืบทอดของข้า";[8] ฮีบรูไบเบิล: נְבוּכַדְנֶאצַּר[d] Nəḇūḵaḏneʾṣṣar) หรือสะกดเป็น เนบูคัดเรซซาร์ที่ 2 (Nebuchadrezzar II)[8] เป็นกษัตริย์องค์ที่สองแห่งจักรวรรดิบาบิโลนใหม่ผู้ครองราชย์ตั้งแต่การสวรรคตของแนโบโพแลสซาร์ พระราชบิดา ใน 605 ปีก่อน ค.ศ. จนกระทั่งสวรรคตใน 562 ปีก่อน ค.ศ. ตามประวัติศาสตร์รู้จักกันในพระนาม เนบูคัดเนสซาร์มหาราช[9][10] เนื่องโดยทั่วไปถือเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรวรรดิ[8][11][12] เนบูคัดเนสซาร์ยังคงมีชื่อเสียงจากการทัพในลิแวนต์ โครงการก่อสร้างในบาบิโลน เมืองหลวงของพระองค์ รวมถึงสวนลอยบาบิโลน และมีบทบาทในประวัติศาสตร์ชาวยิว[8] เนบูคัดเนสซาร์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดในราชวงศ์บาบิโลน โดยปกครองไป 43 ปี ในช่วงที่สวรรคต พระองค์กลายเป็นหนึ่งในผู้ปกครองที่ทรงอำนาจที่สุดในโลก[11]
พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 | |
---|---|
| |
![]() ส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า "ศิลาจารึกหอคอยบาเบล" แสดงพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 ที่ด้านขวาและมหาซิกกูแรตแห่งบาบิโลน (เอเตเมนอันกิ) ด้านซ้าย[a] | |
กษัตริย์แห่งจักรวรรดิบาบิโลนใหม่ | |
ครองราชย์ | สิงหาคม 605 ปีก่อน ค.ศ. – 7 ตุลาคม 562 ปีก่อน ค.ศ. |
ก่อนหน้า | แนโบโพแลสซาร์ |
ถัดไป | อาเมล-มาร์ดุก |
ประสูติ | ป. 642 ปีก่อน ค.ศ.[b] อูรุก (?) |
สวรรคต | 7 ตุลาคม 562 ปีก่อน ค.ศ. (ป. 80 พรรษา) บาบิโลน |
คู่อภิเษก | อามีติสแห่งบาบิโลน (?) |
พระราชบุตร กับพระองค์ อื่น ๆ |
|
แอกแคด | Nabû-kudurri-uṣur |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์บาบิโลน |
พระราชบิดา | แนโบโพแลสซาร์ |
แหล่งข้อมูล
สรุป
มุมมอง
ข้อมูลอักษรรูปลิ่มในช่วงระหว่าง 594 ถึง 557 ปีก่อน ค.ศ. ที่ครอบคลุมรัชสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 และผู้ครองราชย์ถัดจากพระองค์อีก 3 พระองค์ ได้แก่ อาเมล-มาร์ดุก, เนริกลิสซาร์ และลาบาชี-มาร์ดุก มีน้อยมาก[13] การขาดแหล่งข้อมูลดังกล่าวส่งผลอันน่าเสียดายตรงที่แม้ว่าเนบูคัดเนสซาร์ครองราชย์ยาวนานที่สุด แต่กลับเป็นที่รู้จักอย่างแน่ชัดน้อยกว่ารัชสมัยของกษัตริย์บาบิโลนใหม่เกือบทั้งหมด แม้ว่าสามารถกู้คืนแหล่งที่มาอักษรรูปลิ่มจำนวนหยิบมือ โดยเฉพาะพงศาวดารบาบิโลน ที่ยืนยันเหตุการณ์บางส่วนในรัชสมัยของพระองค์ เช่น ความขัดแย้งกับราชอาณาจักรยูดาห์ ส่วนเหตุการณ์อื่น ๆ อย่างการทำลายล้างพระวิหารของซาโลมอนเมื่อ 586 ปีก่อน ค.ศ. และการทัพอื่น ๆ ที่เนบูคัดเนสซาร์อาจควบคุม ไม่ปรากฏในเอกสารอักษรรูปลิ่มเท่าที่มีอยู่[14]
ดังนั้น การบูรณะประวัติศาสตร์ในช่วงนี้จึงมักยึดตามแหล่งข้อมูลทุติยภูมิในภาษาฮีบรู กรีก และละตินเพื่อตรวจสอบว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นในขณะนั้น นอกจากนี้ยังมีแผ่นจารึกจากบาบิโลนด้วย[13] แม้ว่าจะใช้แหล่งข้อมูลที่เขียนโดยผู้เขียนในภายหลัง แต่ข้อมูลหลายแหล่งเขียนขึ้นหลังสมัยเนบูคัดเนสซาร์ไปหลายศตวรรษ และมักสะท้อนทัศนคติทางวัฒนธรรมของตนเองต่อเหตุการณ์และบุคคลที่กล่าวถึง[15] ทำให้เกิดปัญหาในตัวมันเอง โดยทำให้เส้นแบ่งระหว่างประวัติศาสตร์และจารีตประเพณีจางลง แต่นั่นเป็นเพียงแนวทางเดียวที่เป็นไปได้ในการรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรัชสมัยของเนบูคัดเนสซาร์[14]
ภูมิหลัง
พระนาม

พระนามของพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 ในภาษาแอกแคดคือ Nabû-kudurri-uṣur[6] หมายถึง "นาบู คุ้มครองผู้สืบทอดของข้า"[8] ทางวิชาการสมัยก่อนมักตีความพระนามนี้เป็น "นาบู ผู้ปกป้องเขตแดน" เนื่องจากคำว่า kudurru สามารถหมายถึง 'ของเขต' หรือ 'เส้น' นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่สนับสนุนการตีความเป็น 'ผู้สืบทอด' มากกว่า 'ขอบเขต' ไม่มีเหตุผลใดที่เชื่อว่าชาวบาบิโลนตั้งใจให้พระนามนี้ตีความยากหรือมีความหมายสองนัย[16]
บรรพบุรุษและพระชนม์ชีพช่วงต้น
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รัชสมัย
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สิ่งสืบทอด
สรุป
มุมมอง
การประเมินโดยนักประวัติศาสตร์
เนื่องจากแหล่งข้อมูลมีไม่เพียงพอ ทำให้การประเมินลักษณะนิสัยและสภาพในรัชสมัยของเนบูคัดเนสซาร์โดยนักประวัติศาสตร์มีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละช่วงเวลา[17] โดยทั่วไปถือว่าพระองค์ได้รับการยกย่องเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่และมีเกียรติที่สุดของจักรวรรดิบาบิโลนใหม่[8][11][12]
ในธรรมเนียมยิวและพระคัมภีร์

คัมภีร์ไบเบิลมักจดจำพระองค์ในฐานะผู้ทำลายพระวิหารซาโลมอนในกรุงเยรูซาเลมและเป็นผู้เริ่มต้นยุคเชลย (ยุคที่ชาวยิวตกเป็นเชลยของบาบิโลน) หนังสือเยเรมีย์เรียกพระองค์ว่า "ผู้ทำลายประชาชาติ"[18] พระองค์ยังเป็นบุคคลสำคัญที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือดาเนียล
ตามบันทึกที่ปรากฏในหนังสือดาเนียลระบุว่า วันหนึ่ง ขณะที่พระองค์ทอดพระเนตรกรุงบาบิโลนจากบนดาดฟ้าของวัง พระองค์ก็ตรัสว่า "ดูเมืองที่เราสร้างสิ สวยงามอะไรอย่างนี้ เราคือผู้ยิ่งใหญ่!" ทันใดนั้นก็มีเสียงดังขึ้นว่า "เนบูคัดเนสซาร์! เจ้าไม่ได้ปกครองอาณาจักรนี้แล้ว" พระเจ้าได้ริบรอนอำนาจและสติปัญญาของเนบูคัดเนสซาร์ เนบูคัดเนสซาร์ทำตัวเหมือนสัตว์และถูกเนรเทศจากวังไปอยู่กับสัตว์ในป่า ผมของเนบูคัดเนสซาร์ยาวเหมือนขนนกอินทรีและเล็บของเขายาวเหมือนกรงเล็บของนก เมื่อครบเวลาเจ็ดกาล (มักถูกตีความเป็นเจ็ดปี) เนบูคัดเนสซาร์ก็กลับมาเป็นปกติ พระเจ้าให้เขากลับมาครองบัลลังก์บาบิโลนอีกครั้ง (เชื่อว่าเรื่องนี้มาจากความแค้นของชาวยิวที่ถูกพระองค์ทำลายอาณาจักรยูดาร์และลดขั้นให้เป็นทาส)
หมายเหตุ
- เนื่องจากจารึกบนแผ่นศิลาสลักโดยเนบูคัดเนสซาร์ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าพระองค์คือกษัตริย์ที่ได้รับการพรรณนาไว้ ศิลาจารึกนี้เป็นหนึ่งในสี่ภาพเขียนร่วมสมัยที่เป็นที่รู้จักของเนบูคัดเนซซาร์ โดยอีก 3 ภาพเป็นภาพแกะสลักบนหน้าผาในเลบานอน ซึ่งมีสภาพแย่กว่าภาพบนศิลาจารึกมาก ซิกกูแรตเอเตเมนอันกิคาดว่าเป็นแรงบันดาลใจต่อหอคอยบาเบลในพระคัมภีร์ จึงเป็นที่มาของชื่อ 'ศิลาจารึกหอคอยบาเบล'[1]
- พระราชบิดาทรงแต่งตั้งเนบูคัดเนสซาร์ให้เป็นนักบวชชั้นสูงแห่งวิหารเออันนาที่อูรุกเมื่อ 626/625 ปีก่อน ค.ศ.[2][3] สันนิษฐานว่าพระองค์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนักบวชชั้นสูงเมื่อทรงพระเยาว์มาก โดยพิจารณาว่าพระองค์สวรรคตในเวลากว่า 60 ปีต่อมา[4] ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าชาวบาบิโลนมีสิทธิ์บวชเป็นนักบวชได้เมื่อใด แต่มีบันทึกว่านักบวชชาวบาบิโลนที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งมีอายุ 15 หรือ 16 ปี[5]
- This is the Hebrew spelling in 13 cases; in 13 other cases, the Hebrew spelling is one of the following:
נְבֻכַדְנֶאצַּר Nəḇuḵaḏneʾṣṣar − with בֻ ḇu instead of בוּ ḇū.
In 2 Kings 24:1&10 and 25:1&8, 1 Chronicles 5:41 (a.k.a. 6:15), and Jeremiah 28:11&14.
נְבוּכַדְנֶצַּר Nəḇūḵaḏneṣṣar – without א ʾ, like the usual Aramaic spelling.
In Ezra 1:7 and Nehemiah 7:6.
נְבֻכַדְנֶצַּר Nəḇuḵaḏneṣṣar – with בֻ instead of בוּ and without א, like the Aramaic spelling used in Daniel 3:14, 5:11, and 5:18.
In Daniel 1:18 and 2:1.
נְבוּכַדְנֶצּוֹר Nəḇūḵaḏneṣṣōr – without א and with צּוֹ (ṣ)ṣō instead of צַּ (ṣ)ṣa, cf. note d.
In Ezra 2:1.
נְבוּכַדנֶאצַּר Nəḇūḵaḏneʾṣṣar – without the shva quiescens.
In Jeremiah 28:3, and Ester 2:6.
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.