Loading AI tools
พระเครื่อง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระสมเด็จวัดระฆัง คือ พระศักรพุทธปฏิมา (พระพิมพ์ หรือ พระเครื่องฯ) ซึ่งสร้างขึ้นโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) แห่ง วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร โดยมีพุทธศิลป์และพุทธลักษณะโดยทั่วไปเป็นประติมากรรมแบบแบน (Bas Relief) รูปพระพุทธปฏิมาประทับนั่ง ปางสมาธิ ซึ่งปรากฏการขัดสมาธิทั้งแบบขัดราบ และแบบขัดเพชร มีการห่มจีวรแบบห่มดองโดยไม่มีเครื่องทรงใดๆ ประทับนั่งอยู่บนพระอาสนะแบบฐานสิงห์ 3 ชั้น ภายใต้ซุ้มประภามณฑล ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นลวดเกลี้ยง (หรือเป็นเส้นหวายผ่าซีก) โดยเป็นขอบเขตปริมณฑลอันจำกัด และมีผนังกรอบขององค์พระเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งบ่งบอกถึงสกุลช่างศิลป์ยุคใหม่[1] นอกจากนี้ พระสมเด็จวัดระฆังฯ ยังเป็นหนึ่งในพระเครื่องชุดเบญจภาคี (ซึ่งประกอบด้วย พระสมเด็จ พระนางพญา พระกำแพงซุ้มกอ พระผงสุพรรณ และพระรอดลำพูน) ซึ่งได้รับความนิยมและการประเมินค่าอย่างสูงยิ่งในวงการพระเครื่องฯ และสาธารณชน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ และทั้งในด้านพุทธคุณและกฤตยานุภาพ ด้านพุทธศิลป์ และด้านมูลค่าเชิงพาณิชย์ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง"[2][3]
พระสมเด็จวัดระฆังฯ มีหลากหลายพิมพ์ทรงด้วยกัน แต่ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี ได้แก่ พิมพ์ทรงพระประธาน (หรือพิมพ์ใหญ่) พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ทรงฐานแซม พิมพ์ทรงเกศบัวตูม พิมพ์ทรงปรกโพธิ์ และพิมพ์ทรงเศียรบาตรอกครุฑ ดังมีรายละเอียดของแต่ละพิมพ์ทรงดังนี้[4]
วัสดุหรือมวลสารที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ วัสดุเชิงปริมาณ วัสดุเชิงอิทธิ และมงคลวัสดุ ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้[8]
หมายถึงส่วนผสมที่ก่อให้เกิดปริมาณมากน้อยตามความต้องการในการสร้างพระ รวมถึงส่วนผสมเพื่อก่อให้เกิดความแข็งแกร่งในโครงสร้างของเนื้อพระอีกด้วย ซึ่งวัสดุเชิงปริมาณที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จประกอบด้วย[9]
วัสดุเชิงอิทธิหรืออิทธิวัสดุคือมวลสารที่อำนวยผลทางพุทธกฤตยาคมหรือพุทธคุณโดยตรง ซึ่งในพระสมเด็จประกอบไปด้วยวัสดุดังต่อไปนี้[15]
คือวัสดุที่เสริมความเป็นสิริมงคล และมีผลช่วยส่งเสริมพุทธกฤตยาคมให้มีความศักดิ์สิทธิ์และเข้มขลังยิ่งขึ้น ซึ่งในการสร้างพระสมเด็จมีดังนี้[16]
ตรียัมปวาย[17] ได้จัดแบ่งประเภทของเนื้อมาตรฐานของพระสมเด็จในเบื้องต้นไว้ดังนี้
เมื่อพิจารณาลักษณะของผิวพระสมเด็จโดยทั่วไปแล้ว จะพบว่ามีความสัมพันธ์กับเนื้อ โดยอาจจำแนกผิวของพระสมเด็จออกเป็น 4 ประเภท คือ[18]
เนื่องจากการสร้างพระสมเด็จใช้วัสดุหลักในการสร้างคือปูนขาวซึ่งทำมาจากเปลือกหอยเผา โดยนำมาผสมกับน้ำและวัสดุอื่นๆ[19] ดังนั้น เนื้อพระสมเด็จจึงมีกระบวนการเกิดปฏิกริยาและวิวัฒนาการเช่นเดียวกันกับการเกิดปฏิกริยาของปูนโดยทั่วไป ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดของขั้นตอนการเกิดปฏิกริยาดังต่อไปนี้[20]
ตามทฤษฎีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป กระบวนการแข็งตัวของคอนกรีตปูนขาวและปูนชนิดอื่นๆ เกิดขึ้นหลายขั้นตอน โดยขั้นตอนแรก ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณหนึ่งเดือน มีลักษณะเฉพาะคือการก่อตัวของผลึกแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (หรือ ปอร์ตแลนไดต์) ตามปฏิกิริยาดังมีรายละเอียดตามสมการที่ (1)
CaO + H2O → Ca(OH)2 (1)
ซึ่งมีการสะสมของผลึกที่ก่อตัวขึ้นเพิ่มเติม ขั้นตอนที่สองมีลักษณะเฉพาะคือการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของผลึกแคลเซียมไฮดรอกไซด์จากการทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่ในอากาศดังมีรายละเอียดตามสมการที่ (2)
Ca(OH)2 + CO2 + H2O → CaCO3 + 2H2O (2)
ซึ่งในกระบวนการที่เรียกว่าการเกิดคาร์บอเนต (carbonation) นี้ น้ำที่เป็นส่วนประกอบของสารตั้งต้นจะถูกปล่อยออกมา โดยเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ ดังนั้น ในช่วง 1-2 ปีแรกภายหลังจากการสร้าง เนื้อปูนขาวขององค์พระจึงดูชุ่มชื้นตลอดเวลา (หรือที่เรียกกันว่าเนื้อเปียก) ซึ่งในระหว่างการเกิดปฏิกิริยานี้ ในขั้นตอนแรก แคลเซียมคาร์บอเนต (ในรูปของผลึกแคลไซต์ (Calcite) อะราโกไนต์ (Aragonite) และ วาเทอร์ไรต์ (Vaterite) โดยที่แคลไซต์เป็นผลึกของแคลเซียมคาร์บอเนตที่เสถียรที่สุด) ซึ่งมีอยู่หนาแน่นในชั้นนอกสุดจะก่อตัวขึ้น ซึ่งทำให้คาร์บอนไดออกไซด์เจาะลึกเข้าไปทำปฏิกริยาในเนื้อพระได้ยาก ซึ่งจะทำให้กระบวนการเกิดปฏิกิริยาช้าลงอย่างมากแต่ยังคงดำเนินต่อไป เนื่องจากเนื้อปูนขาวมีความพรุนสูงพอสมควร โดยเนื้อปูนทั้งหมดจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแคลไซต์ซึ่งทำให้เนื้อปูนมีเสถียรภาพและความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น ซึ่งกระบวนการการเกิดคาร์บอเนตเป็นที่รู้จักกันดีและมีการศึกษาอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการเกิดคาร์บอเนตตามธรรมชาติของคอนกรีตในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และการผลิตคอนกรีตซิลิเกตที่มีการเร่งกระบวนการเกิดคาร์บอเนต[21][22][23] โดยที่กระบวนการการก่อตัวของปอร์ตแลนไดต์ และการเกิดคาร์บอเนตในลำดับถัดมาเพื่อตกตะกอนโพลีมอร์ฟของแคลเซียมคาร์บอเนต ได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างดีในเอกสารวิจัย[24]
การเกิดคาร์บอเนตของปอร์ตแลนไดต์ (Ca(OH)2) ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านเทคนิคหลายประการ ซึ่งได้แก่ การกระจายตัวของอนุภาคปูนขาว ปริมาณน้ำในปูน ความผันผวนของอุณหภูมิ ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงการมีอยู่ของสารที่มีส่วนทำให้เกิดการเพิ่มความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ภายในมวลสารที่ตกผลึก เช่น การใส่วัสดุอินทรีย์บางชนิด เช่น มวลสารที่เป็นสารอินทรีย์ต่างๆ และวัสดุประสาน เช่น กล้วย ข้าวสุก น้ำอ้อยเคี่ยว หรือน้ำมันตังอิ๊ว เป็นต้น ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญในขั้นตอนการตกผลึกซ้ำ (recrystallization) ในพระสมเด็จวัดระฆังฯ ซึ่งมีส่วนผสมของมวลสารซึ่งเป็นสารอินทรีย์อยู่ในอัตราส่วนที่สูง เมื่อพารามิเตอร์ด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าค่อนข้างสม่ำเสมอจึงทำให้เราสามารถตัดปัจจัยบางประการออกจากการพิจารณาได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ และความผันผวนของอุณหภูมิตามฤดูกาล เนื่องจากระดับของการประมาณการมีระยะเวลาที่ยาวนานคืออยู่ในช่วงหลายทศวรรษ ซึ่งจะมีเพียงการเพิ่มความชื้นในระยะยาวเท่านั้นที่มีผล ซึ่งจะเพิ่มการแยกตัวของคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตโดยกรดคาร์บอนิก และการกระตุ้นโดยปฏิกิริยาการแลกเปลี่ยนไอออนในสถานะของเหลว[25]
ควบคู่ไปกับกระบวนการเกิดคาร์บอเนต โครงสร้างของปูนสามารถแข็งแรงขึ้นได้จากปฏิกิริยาของแคลเซียมไฮดรอกไซด์กับซิลิกาซึ่งมีอยู่ในหินต่างๆและเซรามิกส์ – ปอยภูเขาไฟ และเถ้าภูเขาไฟ หินโอปอล - คริสโตบาไลต์ซิลิกา หินกรดภูเขาไฟ เซรามิกแบทเทิล และอื่นๆ[26][27] ซึ่งหินและวัสดุเหล่านี้สามารถทำหน้าที่เป็นมวลรวมที่ละเอียดและเป็นส่วนประกอบของสารยึดเกาะ ซึ่งเป็นผลมาจากไฮโดรซิลิเกตของแคลเซียมที่เกิดขึ้นโดยมีปริมาณน้ำที่แปรผันตามปฏิกิริยา ดังนั้น การใช้ทรายซึ่งประกอบด้วยซิลิกาเป็นส่วนผสมของมวลสารจึงมีผลโดยตรงต่อการสร้างความแข็งแกร่งให้กับเนื้อพระ ดังมีรายละเอียดการทำปฏิกริยาแสดงในสมการที่ (3)
Ca(OH)2 + SiO2 → CaO × SiO2 × nH2O. (3)
ขั้นตอนสุดท้ายซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยาวนานที่สุดของ "ชีวิต" ของปูนขาว คือ ขั้นตอนที่เรียกว่าขั้นตอนการตกผลึกซ้ำของแคลไซต์ ซึ่งเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการเติบโตของผลึกขนาดเล็กของแคลไซต์ และการเพิ่มขึ้นของระดับของการจัดระเบียบโครงสร้างที่เป็นโครงผลึก
นอกจากนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าหลังจากการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิก รวมถึงอิฐเซรามิก จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีกายภาพ เฟส และแร่วิทยา ที่สามารถช่วยกำหนดอายุของวัสดุได้ แต่สำหรับปูนขาวแล้ว ย่อมจะมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและแร่วิทยาอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งทำให้เราสามารถใช้คุณสมบัตินี้ในการกำหนดอายุของวัตถุโบราณโดยทางอ้อมได้[28]
การสร้างพระของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีวิวัฒนาการจากจุดเริ่มต้นด้วยฝีมือชาวบ้านที่แกะแม่พิมพ์แบบง่ายๆ จนสุดท้ายเป็นงานฝีมือของช่างหลวงที่มีความปราณีต พิถีพิถัน และงดงาม และยังสร้างพระสมเด็จในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลายมากมาย โดยได้มีการประมาณช่วงระยะเวลาในการสร้างพระสมเด็จของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นสามช่วงหรือสามยุค คือ[29]
นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งยุคในการการสร้างพระสมเด็จออกเป็น 4 ยุค โดยมีเนื้อหาในการแบ่งยุคที่คล้ายคลึงกัน คือ[32]
จากประวัติการสร้างพระสมเด็จดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่ามีมาตั้งแต่สมัยปลายรัชกาลที่ ๒ จนถึงสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ พระสมเด็จจึงจัดเป็นโบราณวัตถุซึ่งนอกจากจะทรงคุณค่าทางด้านความงดงามทางพุทธศิลป์แล้ว ยังเป็นพระเครื่องฯ ที่ทรงคุณค่าทางด้านอิทธิพุทธกฤตยาคมอีกด้วย ดังนั้น การประเมินอายุและความเก่าของพระสมเด็จจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพิสูจน์อัตลักษณ์ของพระสมเด็จซึ่งเป็นของแท้ โดยสามารถประเมินอายุขององค์พระซึ่งเป็นของดั้งเดิมได้จาก
ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีการประเมินความเก่าและอายุของพระสมเด็จซึ่งใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย 2 วิธีคือ การประเมินอายุของพระสมเด็จโดยใช้เทคนิคการทำปฏิกริยากับสารละลายกรด และการประเมินอายุโดยใช้เทคนิค X-Ray Fluorescence Spectrometry (XRF)
การประเมินอายุพระสมเด็จโดยใช้เทคนิคการทำปฏิกริยากับสารละลายกรด เป็นการประเมินอายุของพระสมเด็จซึ่งถือเป็นโบราณวัตถุ โดยอาศัยการศึกษาธรรมชาติและกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีของปูนขาวหรือปูนเปลือกหอยซึ่งเป็นวัสดุหลักในการสร้าง ในรูปของการเกิดและวิวัฒนาการของแคลไซต์ จากนั้น จึงอาศัยการศึกษาคุณลักษณะของการเกิดฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกริยากับสารละลายกรดอินทรีย์ ก็จะสามารถประมาณการอายุขององค์พระได้ ซึ่งการใช้วิธีการนี้มีข้อได้เปรียบคือ ไม่ต้องทำลายตัวอย่าง มีต้นทุนในการทดสอบต่ำ ใช้ระยะเวลาในการทดสอบไม่มาก และมีหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับ
ที่ผ่านมาการประเมินอายุของพระสมเด็จต้องกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยการพิจารณาจากพิมพ์ทรงของพระว่าเป็นของยุคใด และการใช้กล้องขยายขนาดกำลังขยายประมาณ 10 เท่าในการตรวจสอบเนื้อหาและลักษณะทางกายภาพขององค์พระ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพระสมเด็จที่มีอายุเก่าแก่มักจะมีร่องรอยของการหดตัวและยุบตัวของเนื้อปูน ดังปรากฏเป็นร่องรอย ยุบ ย่น ย่อ[33] แต่ด้วยเหตุที่การประเมินอายุของพระสมเด็จจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้เฉพาะทางหลายด้าน และการสั่งสมประสบการณ์ในการพิจารณาพระ ซึ่งต้องอยู่ในระดับผู้เชี่ยวชาญ จึงทำให้ศาสตร์และองค์ความรู้ดังกล่าวจำกัดอยู่เฉพาะในระดับบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ไม่เป็นที่แพร่หลายในระดับสาธารณะ นอกจากนี้ ความหลากหลายในด้านเนื้อหาของพระสมเด็จซึ่งได้แก่พิมพ์ทรง เนื้อพระ ผิวพระ การใช้งาน และการเก็บรักษา ซึ่งตัวแปรเหล่านี้อาจเพิ่มความซับซ้อนในการพิจารณา และอาจอยู่นอกเหนือองค์ความรู้และประสบการณ์ของผู้พิจารณา ก็อาจทำให้การประเมินอายุ ความแท้ และความถูกต้องมีโอกาสคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงได้ ดังนั้น การพัฒนาเทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ในการตรวจสอบและประเมินอายุของพระสมเด็จจึงมีความสำคัญ[34][35]
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงของแคลเซียมในองค์พระสมเด็จนับตั้งแต่เมื่อเริ่มสร้างประกอบไปด้วย ปอร์ตแลนไดต์ การเกิดคาร์บอเนต และการตกผลึกซ้ำ ดังมีรายละเอียดของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมี ตลอดจนระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของพระสมเด็จดังปรากฏในตารางที่ 1[36]
กระบวนการ | ระยะเวลาที่ใช้ |
---|---|
ปอร์ตแลนไดต์ | 1 เดือน |
การเกิดคาร์บอเนต | 1 – 2 ปี |
การตกผลึกซ้ำ | มากกว่า 2 ปี |
จากตารางที่ 1 และประวัติการสร้างพระสมเด็จทำให้เราทราบว่าพระสมเด็จซึ่งเป็นของแท้และดั้งเดิมจะมีอายุประมาณ 150 ถึง 200 ปี[37] ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีของพระสมเด็จจะอยู่ในขั้นตอนของการตกผลึกซ้ำเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่ควรปรากฏองค์ประกอบทางเคมีในช่วงของกระบวนการปอร์ตแลนไดต์ และการเกิดคาร์บอเนตในระยะแรกในพระสมเด็จแท้ ในทางตรงกันข้าม พระสมเด็จซึ่งเป็นของดั้งเดิมควรจะประกอบไปด้วยผลึกของแคลเซียมคาร์บอเนตหรือแคลไซต์ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เสถียรซึ่งมีขนาดและเสถียรภาพในระดับที่แตกต่างกันปะปนกันอยู่ (และอาจหมายถึงการปรากฏของผลึกอะราโกไนต์ และวาเทอร์ไรต์ อยู่ในองค์พระที่ทำการวิเคราะห์ด้วยเช่นกัน)
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเมื่อแคลเซียมคาร์บอเนตทำปฏิกริยากับสารละลายกรดจะเกิดเกลือของแคลเซียม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ ดังมีรายละเอียดการทำปฏิกิริยาแสดงในสมการที่ (4) และ (5)[38]
2CH3COOH (aq) + CaCO3 (s) → Ca(CH3COO)2 (aq) CO2 (g) + H2O (l) (4)
หรือ CaCO3 + 2H+ → Ca2+ + H2O + CO2 (5)
จากสมการที่ (4) CH3COOH (aq) คือสารละลายกรดอะซีติก CaCO3 (s) คือแคลเซียมคาร์บอเนตในรูปของผลึกแคลไซต์ Ca(CH3COO)2 (aq) คือเกลือแคลเซียมอะซีเตต CO2 (g) คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ H2O (l) คือน้ำ ซึ่งจากระบบการทำปฏิกริยาดังกล่าวซึ่งประกอบด้วยสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ซึ่งมีอยู่ครบทั้ง 3 สถานะคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ โดยในส่วนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้น จะปรากฏเป็นฟองซึ่งอยู่ในหยดของเหลวที่ใช้ทดสอบ
จากหลักการดังที่ได้กล่าวมา จึงเป็นที่มาของการประเมินอายุพระสมเด็จโดยการใช้สารละลายกรดอินทรีย์เข้าทำปฏิกริยากับผลึกแคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งอยู่ในรูปของแคลไซต์ ซึ่งปฏิกริยาดังกล่าวก่อให้เกิดฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในหยดของของเหลวที่หยดลงบนองค์พระ โดยหยดของสารละลายกรดที่หยดลงบนผิวพระจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 - 2.0 มม. ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากปฏิกิริยานี้จะก่อให้เกิดฟองที่มีลักษณะเฉพาะ[39] ซึ่งฟองก๊าซที่เกิดขึ้นจะมีขนาดและอัตราการเกิดฟองก๊าซที่แตกต่างกัน ดังมีรายละเอียดของการเกิดฟองก๊าซแสดงในตารางที่ 2
ลักษณะของฟอง | ขนาดของฟองโดยประมาณ (มม.) | เกณฑ์ประเมินอายุ |
---|---|---|
ไม่มีฟอง | --- | พระไม่ได้สร้างด้วยปูน อาจสร้างจากเรซิ่นหรือวัสดุอื่น |
ฟองเล็ก เกาะติดที่ผิวพระ ไม่ขยับ | X ≤ 0.1 | เป็นพระใหม่ |
ฟองเล็ก ลอยขึ้นอย่างรวดเร็ว | X ≤ 0.1 | เป็นพระมีอายุหลายสิบปี |
ฟองเล็กและฟองใหญ่ สลับกันลอยขึ้น | 0.1 ≤ X ≤ 0.5 | เป็นพระมีอายุ อาจเป็นพระสมเด็จยุคปลายหรือยุคกลาง |
ฟองใหญ่ ลอยขึ้นช้า อยู่ในหยดสารละลายนาน | 0.3 ≤ X ≤ 0.5 | เป็นพระเก่ามีอายุ อาจเป็นพระสมเด็จยุคต้นหรือยุคกลาง |
จากข้อมูลที่แสดงในตารางที่ 2 สามารถนำมากำหนดข้อสมมุติฐานได้ดังนี้
1. ไม่มีฟองเกิดขึ้น เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการสร้างพระไม่ใช่ปูน อาจเป็นวัสดุประเภทอื่น เช่น เรซิ่น เป็นต้น
2. เกิดฟองขนาดเล็กเกาะติดที่ผิวพระและฟองไม่ขยับ (X ≤ 0.1 มม.) สันนิษฐานได้ว่าผิวพระที่ใช้ทดสอบผ่านกระบวนการการเกิดคาร์บอเนตโดยมีบางส่วนตกผลึกเป็นแคลไซต์ แต่ผลึกมีขนาดเล็กมากและอยู่อย่างกระจัดกระจายเนื่องจากการตกผลึกซ้ำของแคลไซต์ยังเกิดขึ้นไม่มาก ซึ่งตำแหน่งที่เกิดฟองคือตำแหน่งที่ผลึกแคลไซต์ทำปฏิกิริยากับสารละลายกรด เนื่องจากขนาดของผลึก ปริมาณของผลึก และเสถียรภาพของผลึกแคลไซต์มีความสัมพันธ์กับอายุของพระ ดังนั้น การเกิดฟองขนาดเล็กจึงมีความสัมพันธ์กับอายุขององค์พระซึ่งยังไม่มาก (ความเก่าระดับที่ 1)
3. เกิดฟองขนาดเล็กและลอยตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว (X ≤ 0.1 มม.) สันนิษฐานได้ว่าผิวพระที่ใช้ทดสอบผ่านกระบวนการการเกิดคาร์บอเนตโดยมีบางส่วนตกผลึกเป็นแคลไซต์ แต่ผลึกมีขนาดเล็กและกระจายตัวอยู่ทั่วไปในบริเวณผิวพระ ด้วยเหตุที่การตกผลึกซ้ำของแคลไซต์เริ่มเกิดขึ้นบ้างแต่ยังคงเป็นผลึกที่ยังไม่มีเสถียรภาพเพียงพอ ดังนั้น เมื่อทำปฏิกริยากับสารละลายกรดจึงเกิดเป็นฟองก๊าซขนาดเล็กและลอยตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากขนาดของผลึก ปริมาณของผลึก และเสถียรภาพของผลึกแคลไซต์มีความสัมพันธ์กับอายุของพระ ดังนั้น การเกิดฟองขนาดเล็กและลอยตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจึงมีความสัมพันธ์กับอายุขององค์พระซึ่งมีอายุในระดับสิบปีถึงหลายสิบปี (ความเก่าระดับที่ 2)
4. เกิดฟองขนาดเล็กและขนาดใหญ่สลับกันลอยขึ้น (0.1 ≤ X ≤ 0.5 มม.) สันนิษฐานได้ว่าผิวพระที่ใช้ทดสอบผ่านกระบวนการการเกิดคาร์บอเนตอย่างสมบูรณ์โดยมีการตกผลึกเป็นแคลไซต์ในผลึกส่วนใหญ่ ซึ่งนอกจากการตกผลึกของแคลไซต์ซึ่งเกิดขึ้นโดยทั่วไปแล้ว ยังเกิดการตกผลึกซ้ำขึ้นโดยทั่วไปอีกด้วย ซึ่งการตกผลึกซ้ำของแคลไซต์จะทำให้ผลึกมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับสารละลายกรดจึงทำให้เกิดฟองก๊าซขนาดใหญ่ซึ่งไม่ปรากฏในสมมุติฐานข้อ 2 และข้อ 3 โดยอาจมีอัตราการลอยตัวขึ้นไม่เท่ากัน ซึ่งแสดงถึงความมีเสถียรภาพของผลึกในระดับต่างๆ ดังนั้น เมื่อทำปฏิกริยากับสารละลายกรดจึงเกิดเป็นฟองก๊าซขนาดเล็กและขนาดใหญ่สลับกันลอยขึ้นในอัตราเร็วที่ต่างกัน หรืออาจจะใกล้เคียงกัน ด้วยเหตุที่ขนาดของผลึก ปริมาณของผลึก และเสถียรภาพของผลึกแคลไซต์มีความสัมพันธ์กับอายุของพระ ดังนั้น การเกิดฟองขนาดเล็กและขนาดใหญ่สลับกันลอยขึ้นจึงมีความสัมพันธ์กับอายุขององค์พระซึ่งมีอายุในระดับมากกว่า 100 ปีขึ้นไป ซึ่งอาจเป็นพระสมเด็จที่สร้างขึ้นในยุคกลางหรือยุคปลาย (ความเก่าระดับที่ 3)
5. เกิดฟองขนาดใหญ่ ลอยตัวขึ้นช้า และอยู่ในหยดของสารละลายกรดได้นาน (0.3 ≤ X ≤ 0.5 มม.) สันนิษฐานได้ว่าผิวของพระที่ใช้ทดสอบได้ผ่านกระบวนการการเกิดคาร์บอเนตอย่างสมบูรณ์และมีการตกผลึกซ้ำของแคลไซต์เกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่และเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ซึ่งการตกผลึกซ้ำของแคลไซต์จะทำให้ผลึกมีขนาดใหญ่ขึ้น มีจำนวนมากขึ้น และมีการจัดโครงสร้างของผลึกให้เป็นระเบียบมากขึ้น การที่ฟองขนาดใหญ่ลอยตัวขึ้นอย่างช้าๆ แสดงถึงความมีเสถียรภาพของผลึกซึ่งสารละลายกรดเข้าไปทำปฏิกริยา ด้วยเหตุที่ขนาดของผลึก ปริมาณของผลึก และเสถียรภาพของผลึกแคลไซต์มีความสัมพันธ์กับอายุของพระ ดังนั้น การเกิดฟองขนาดใหญ่ลอยตัวขึ้นอย่างช้าๆ จึงมีความสัมพันธ์กับอายุขององค์พระซึ่งมีอายุเก่าแก่ในระดับที่มากกว่า 150 ปีขึ้นไป ซึ่งอาจเป็นพระสมเด็จที่สร้างขึ้นในยุคต้นหรือยุคกลาง (ความเก่าระดับที่ 4)
จากหัวข้อการตั้งสมมุติฐานของธรรมชาติของการเกิดฟองก๊าซดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ฟองก๊าซที่เกิดขึ้นจากการทำปฏิกริยาระหว่างสารละลายกรดอินทรีย์และแคลเซียมคาร์บอเนตในรูปของผลึกแคลไซต์จะมีลักษณะไม่ต่อเนื่อง กล่าวคือ การเกิดขึ้นของฟองก๊าซแต่ละฟองจะมีลักษณะเชิงเดี่ยวและไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวสามารถอธิบายได้ว่าหากปริมาณ H+ ในสารละลายกรดมีปริมาณมากพอ การเกิดฟองก๊าซแต่ละฟองจะเกิดจากการทำปฏิกริยาระหว่างสารละลายกรดและผลึกแคลไซต์แต่ละผลึก หรือกลุ่มของผลึก ซึ่งมีขนาดและเสถียรภาพแตกต่างกัน จึงก่อให้เกิดฟองก๊าซที่มีขนาด ระยะเวลาการเกิด และอัตราเร็วในการลอยตัวที่แตกต่างกัน ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวของการเกิดฟองก๊าซอาจจะบ่งชี้ถึงการกระจายตัว ขนาด ประเภทของผลึก และความไม่ต่อเนื่องของผลึกแคลไซต์ในเนื้อพระ ซึ่งแม้ว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ แต่ก็สามารถใช้ประเมินอายุและความเก่าของพระสมเด็จโดยอนุมาน หรือโดยประมาณได้ อย่างไรก็ดี การระบุถึงอายุพระเป็นหน่วยปี หรือยุคในการสร้างเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น ซึ่งความสามารถเชิงประจักษ์ของเทคนิคนี้คือการระบุได้ว่า ความเก่าระดับที่ 1 มีอายุน้อยที่สุด และความเก่าระดับที่ 4 มีอายุมากที่สุด ดังนั้น ภายใต้ข้อจำกัดนี้ จึงควรใช้เทคนิคนี้เพื่อเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อประกอบการพิจารณาร่วมกับข้อมูลอื่นๆ
การประเมินอายุของพระสมเด็จโดยการทำปฏิกริยากับสารละลายกรดเป็นวิธีการเชิงคุณภาพที่มีประสิทธิผลในระดับหนึ่ง โดยมีต้นทุน และระยะเวลาในการดำเนินการต่ำ เมื่อเทียบกับการประเมินด้วยวิธีการอื่น เช่น การหาปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตในเนื้อพระโดยใช้เทคนิค X-Ray Fluorescence Spectrometry (XRF) หรือการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) นอกจากนี้ วิธีการดังกล่าวยังมีหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับในระดับหนึ่ง และสามารถให้คำอธิบายซึ่งมีความเป็นรูปธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้กล้องกำลังขยายขนาด 10 เท่า และการใช้ดุลย์พินิจของผู้พิจารณาตรวจสอบองค์พระแต่เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ดี เพื่อเพิ่มความเป็นรูปธรรมและความน่าเชื่อถือของวิธีการนี้ จึงควรมีการประเมินผลการตรวจสอบร่วมกับการใช้เทคนิคและวิธีการอื่น เช่น การหาปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตในเนื้อพระโดยใช้เทคนิค X-Ray Fluorescence Spectrometry เป็นต้น
องค์ประกอบสำคัญซึ่งเป็นที่มาของพระพุทธคุณและกฤตยานุภาพของพระสมเด็จ นอกจากการบริกรรมปลุกเสกและการอธิษฐานจิตโดยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ แล้ว คือ ผงวิเศษ 5 ประการ ซึ่งประกอบด้วย ผงปถมัง อิทธิเจ มหาราช พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว มิได้มีความหมายว่าเป็นผงแต่ละชนิด แล้วนำมารวมกัน หากแต่ว่าเป็นผงชุดเดียวกันแต่ผ่านกรรมวิธีการสร้างที่ซับซ้อนถึง 5 ขั้นตอน โดยในชั้นต้นทำผงปถมังก่อน แล้วนำผงปถมังนั้นมาทำเป็นผงอิทธิเจ และต่อๆ ไปตามลำดับจนถึงผงตรีนิสิงเห ด้วยเหตุนี้ ผงวิเศษ 5 ประการ จึงทรงกฤตยาคมเข้มขลังที่สุด โดยมีรายละเอียดของพระพุทธคุณและกฤตยานุภาพดังต่อไปนี้[40]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.