Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวัชรญาณวิศิษฏ์ (ภูสิต ขันติธโร) วัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน หมู่ 5 บ้านพุไม้แดง ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี นามเดิมคือ ภูสิต แต่มักจะคุ้นหูในชื่อ หลวงตาจันทร์ ท่านเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดและเคยอุปัฎฐาก พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) มาเป็นเวลานานและชื่อ"จันทร์" ก็เป็นชื่อที่หลวงตาตั้งให้ใหม่ หลังจากบวชที่วัดป่าบ้านตาด
พระราชวัชรญาณวิศิษฏ์ (ภูสิต ขันติธโร) | |
---|---|
ชื่ออื่น | ภูสิต , พระอาจารย์จันทร์ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มกราคม พ.ศ. 2494 (73 ปี) |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน จังหวัดกาญจนบุรี |
พรรษา | 43 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาส วัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน , เจ้าคณะอำเภอเมืองกาญจนบุรี |
อุปสมบท
พระอาจารย์ภูสิต (จันทร์) ขันติธโร เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2494 ภูมิหลังก่อนที่จะบวช ท่านได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือด จึงรู้สึกสิ้นหวังในชีวิต และขณะนั้นได้มีโอกาสอ่านหนังสือ"ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ" ซึ่งหลวงตามหาบัว เป็นผู้เขียน จึงเกิดศรัทธาอันแรงกล้าที่จะขอบวชในพระพุทธศาสนา แต่ในขณะนั้นได้ทราบว่าหลวงปู่มั่นได้มรณภาพแล้ว และเหลือแต่ศิษย์ของท่านคือหลวงตามหาบัว
พ.ศ. 2524: อุปสมบทสายพระธรรมยุตที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพ เนื่องจากเป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือดในขั้นสุดท้าย จึงตัดสินใจบวชเพื่อเตรียมตัวตายในเพศบรรพชิต
พ.ศ. 2524 - 2531: หลังจากได้รับการอุปสมบทเป็นที่เรียบร้อย จึงได้เดินทางมาอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ได้รับการอบรมอย่างใกล้ชิดโดยพ่อแม่ครูอาจารย์ที่เคร่งครัดตามแนวทางปฏิบัติของพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต คือ ท่านพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) และได้เป็นพระอุปัฏฐากหรือพระเลขาของท่านอาจารย์หลวงตาพระมหาบัวฯในเวลาต่อมา
เรียนรู้ธรรม
ในขณะที่อยู่ศึกษาธรรมะที่วัดป่าบ้านตาด ธรรมะข้อแรกได้จากการที่หลวงตามาเคาะที่ประตูแล้วพูดว่า
" คนเราตอนเกิด เราไม่รู้หรอกว่า เราหายใจเข้าหรือหายใจออก แต่ตอนเราจะตาย ดูสิว่า จะหายใจเข้าหรือหายใจออก" [1]
ท่านจึงเร่งความเพียร จนได้ความสงบระงับกับจิตใจ
พระอาจารย์จันทร์อุปัฎฐากและปฏิบัติธรรมกับหลวงตาอยู่ประมาณ 6 ปี ก็ได้ขออนุญาตออกธุดงค์ ซึ่งหลวงตาเมตตาแนะนำว่าแถวกาญจนบุรีวิเวกเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ซึ่งก็จริงอย่างที่ท่านว่าเพราะพระอาจารย์ในที่สุดก็ได้มาอยู่ที่นี่จริง ๆ และหลวงตาได้เมตตามอบหนังสือที่ท่านเขียนด้วยลายมือของท่านเอง 3 เล่ม เพื่อให้ท่านพระอาจารย์ นำติดตัวเพื่อไปศึกษาอีกด้วย
สร้างวัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน (วัดเสือ)
ในปี 2537 หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้รับถวายที่ดิน 100 ไร่เศษ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีราว 37 กิโลเมตร เพื่อสร้างเป็นวัดป่าสถานที่ปฏิบัติธรรม ต่อมาหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จึงได้มอบหมายให้พระอาจารย์ภูสิต (จันทร์) ขันติธโร เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างวัด และหลวงตาได้ตั้งชื่อวัดให้ว่า “วัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน” หลวงตามหาบัว ได้ปลูกต้นโพธิ์ไว้ที่วัด 1 ต้น เป็นปฐมฤกษ์ อีกด้วย
พระพุทธกาญจนาภิเษก [2]
วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นวันอุดมมงคลที่หลวงตาฯได้เมตตาเป็นประธานในพิธีเททองหล่อ "พระพุทธกาญจนาภิเษก" พระพุทธปฏิมาประธานแห่งวัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน ณ สำนักสงฆ์สวนแสงธรรม พุทธมณฑลสาย ๓ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ซึ่งที่มาแห่งองค์พระพุทธปฏิมาประธานนี้มาจาก ฯพณฯ ดร.เชาวน์ ณ ศีลวันต์ องคมนตรีได้แจ้งให้พระอาจารย์ภูสิต (จันทร์) ขันติธโร เจ้าอาวาสทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะสร้างพระพุทธรูปประธานขนาด ใหญ่พระราชทานแด่หลวงตาฯ เพื่อเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นการส่วนพระองค์ พร้อมกับพระราชทานนามว่า "พระพุทธกาญจนาภิเษก" การนี้มีพระกรุณาโปรดเล้าฯ ให้จัดหานายช่างออกแบบและควบคุมการหล่อเป็นพิเศษ เพื่อให้งานสร้างพระพุทธรูปเสร็จตรงตามพระราชประสงค์ทุกประการ ประชาชนจำนวนมากมาร่วมถวายทองคำอันเป็นเครื่องประดับเพื่อร่วมสร้างกว่า ๘๐ กิโลกรัม และ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หลวงพ่อพระอาจารย์จันทร์ ได้อัญเชิญพระพุทธกาญจนาภิเษก จากโรงหล่อไป ณ วัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน ประดิษฐานในศาลาเมตตาฯ
• ได้รับการแต่งตั้งเป็น "พระครูวินัยธร ภูสิต ขันติธโร" พ.ศ. 2536
• ได้รับฐานานุกรมที่ "พระครูปลัดสัมพิพัฒนวิริยาจารย์" พ.ศ. 2552
• ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองกาญจนบุรีและได้รับการแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาชย์ พ.ศ. 2553
• ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ "พระวิสุทธิสารเถร" เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554
• ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ ชั้นราช ที่ “พระราชวัชรญาณวิศิษฏ์” เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2566
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.