Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พันตำรวจเอก พระยาอนุสสรธุระการ นามเดิม จ่าง เกิดเมื่อวันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2423 ที่บ้านในตำบลหัวรอ อำเภอรอบกรุง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของ นายเขียว และ นางเพ็ง โดยปู่ของท่าน ชื่อ นายพุก ซึ่งสืบสายลงมาจาก นายคำ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามสกุลให้ท่านว่า "วัจนะพุกกะ"
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
พระยาอนุสสรธุระการ | |
---|---|
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 กุมภาพันธ์ 2476 – 1 เมษายน 2479 | |
ก่อนหน้า | พันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ |
ถัดไป | พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2423 ตำบลหัวรอ อำเภอรอบกรุง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
เสียชีวิต | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 (73 ปี) |
บุตร | 11 คน |
บุพการี |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | พันตำรวจเอก |
ในวัยเยาว์ ท่านได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนสำเหร่บอยคริสเตียนไฮสคูล (กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ในปัจจุบัน) จนสำเร็จการศึกษาได้ประกาศนียบัตร ชั้น 7 จากนั้นจึงรับราชการในกระทรวงนครบาล เริ่มที่ตำแหน่งผู้ช่วยนายเวรสรรพากร ในกรมกองตระเวน เมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 และได้รับความเจริญในราชการเรื่อยมา คือ เป็นผู้กำกับการโรงพักสามแยก เมื่อ พ.ศ. 2464 ปฏิบัติงานอยู่ 5 ปี จึงย้ายไปรั้งตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจภูธรมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2469[1]และได้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2470[2]ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 กลับเข้ามากรุงเทพฯ เป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาล บางรัก [3]
จนหลังเปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475 แล้ว ท่านจึงได้เป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ ในสมัย พันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ เป็นอธิบดี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 [4] และในที่สุด ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมตำรวจ เมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476[5]
ได้รับยศเป็นนายพันตำรวจเอกเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471[6]และอีก 2 ปีต่อมา คือ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอนุสสรธุระการ ถือศักดินา 1000 [7]
นอกจากนี้ ในระหว่างที่รับราชการ ได้มีโอกาสปฏิบัติราชการพิเศษหลายคราว ที่สำคัญ คือ
ฯลฯ
ท่านออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2479[8]รวมอายุราชการ 34 ปี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก และ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย กับทั้งเหรียญจักรมาลา และ เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นเกียรติยศ
พระยาอนุสสรธุระการ มีบุตร-ธิดา รวม 11 คน คือ
หลังออกจากราชการแล้ว ท่านก็ได้ชีวิตอย่างสงบ ณ บ้านของท่านที่ถนนสาธร จนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.