คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

พระพิราพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระพิราพ
Remove ads

พระพิราพ เป็นอสูร มีลักษณะหน้ากางคางออก เรียกว่าหน้าจาวตาล สีม่วงแก่ หรือสีน้ำรัก หรือสีทอง ปากแสยะ ตาจระเข้ เขี้ยวทู่หรือเขี้ยวตัด หัวโล้น สวมกะบังหน้า ตอนทรงเครื่องสวมมงกุฎยอดเดินหน กายสีม่วงแก่ 51 พักตร์ 100 กร มีกายเป็นวงทักขิณาวัฏ

Thumb
Thumb
‘รำหน้าพาทย์องค์พระพิราพเต็มองค์’ ครูรงภักดี (เจียร จารุจรณ) รำหน้าพระที่นั่ง ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2504 (ภาพจากหนังสือ พระพิราพ ของประพันธ์ สุคนธะชาติ)
Remove ads

ความเชื่อ

พระพิราพ ในคติเดิมเรียกว่าพระไภรวะ เป็นอวตารปางดุร้ายปางหนึ่งของพระศิวะ เมื่อชาวไทยรับดุริยางคศิลป์มาจากประเทศอินเดีย คติการนับถือพระอิศวรนารายณ์ทวยเทพทั้งหลายรวมไปถึงพระไภรวะจึงติดตามมาด้วย แต่เมื่อเข้ามาในไทยแล้วมีการเรียกนามพระองค์เพี้ยนไปจากเดิมเป็นพระพิราพ แล้วนับถือว่าเป็นครูสูงสุดทั้งฝ่ายนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ ปรากฏหลักฐานมาแต่สมัยกรุงสุโขทัย และมีการบันทึกหลักฐานเป็นที่แน่ชัดราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระพิราพถือเป็นครูยักษ์ เป็นเทพอสูร และเป็นมหาเทพ (ศิวะอวตาร) แต่เนื่องจากนามของพระองค์คล้ายคลึงกับตัวละครตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ซึ่งมีลักษณะเป็นยักษ์เช่นกันคือยักษ์วิราธ และนิยมเรียกเพี้ยนเป็นยักษ์พิราพ ทำให้บรมครูสูงสุดกับตัวละครตัวนี้เกิดความสับสนปนเปกัน

ในปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้มีการชำระประวัติของพระพิราพ โดยนักวิชาการ และมีการเผยแพร่สร้างความเข้าใจให้แก่บุคคลทั่วไป แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย

Remove ads

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads