พระพรหมวชิรโสภณ นามเดิม ศรีจันทร์ ลาวะลี ฉายา ปุญฺญรโต เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย [1]ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค10 (ธรรมยุต) ประธานกรรมการบริหารศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเจ้าอาวาสวัดบึงพระลานชัย (ธ.) (พระอารามหลวง)
พระพรหมวชิรโสภณ (ศรีจันทร์ ปุญฺญรโต) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | พระเดชพระคุณ |
ชื่ออื่น | พระอุปัชฌาย์ศรีจันทร์ ปุญฺญรโต |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 มีนาคม พ.ศ. 2480 (85 ปี) |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | ศน.ด.(กิตติ์) นักธรรมชั้นเอก |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดบึงพระลานชัย (ธ.) (พระอารามหลวง) ร้อยเอ็ด |
บรรพชา | 15 มีนาคม พ.ศ. 2495 |
อุปสมบท | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 |
พรรษา | 65 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดบึงพระลานชัย (ธ.) (พระอารามหลวง),ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค10 (ธ.) |
ประวัติ
- พระพรหมวชิรโสภณ (ศรีจันทร์ ปุญฺญรโต) เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2480 ณ บ้านหนองหน่อง ตำบลอีง่อง อำเภอจตุรพักตร์พิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
- บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2495 ณ วัดสว่างอารมณ์ อำเภอจตุรพักตร์พิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี เจ้าอธิการอำ (พระครูจันทรังษีสุกิจ) วัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพระอุปัชฌาย์
- อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ณ พัทธสีมาอุโบสถวัดบึงพระลานชัย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี พระครูคุณสารพินิจ (แก้ว อุปติสฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า ปุญฺญรโต[2]
การศึกษา/วิทยฐานะ
- แผนกนักธรรม-บาลี
- พ.ศ. 2499 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก จากสำนักศาสนศึกษา สำนักเรียนคณะจังหวัดร้อยเอ็ด
- แผนกสามัญ
- พ.ศ. 2500 สำเร็จการศึกษาวุฒิบัตรวาทศิลป์ เอกภาษาอักฤษ จากโรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด
- พ.ศ. 2501 สำเร็จการศึกษาวุฒิบัตรสารบรรณ จากโรงเรียนอำเภอเมืองร้อยเอ็ด
- พ.ศ. 2505 สำเร็จการศึกษาวุฒิบัตรการสอน จากโรงเรียนพระสังฆาธิการ คณะธรรมยุตชั้นเจ้าคณะอำเภอ
- พ.ศ. 2509 สำเร็จการศึกษาวุฒิบัตรครูพิเศษ จากสภาการศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย[3]
ด้านการปกครองคณะสงฆ์
- พ.ศ. 2513 เป็นเจ้าอาวาสวัดเหนือ
- พ.ศ. 2545-2561 เป็นเจ้าคณะภาค 10 (ธ.)[4]
- เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 (ธ.)
- เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดบึงพระลานชัย (พระอารามหลวง)
- เป็นประธานกรรมการบริหารศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ศ.ธ.ภ)
งานการศึกษา
- พ.ศ. 2537-ปัจจุบัน เป็นปฐมาจารย์ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด[5]
- พ.ศ. 2537-ปัจจุบัน เป็นอาจารย์พิเศษ ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
- พ.ศ. 2538-ปัจจุบัน เป็นผู้จัดการโรงเรียนเทพบัณฑิตวิทยาลัย (โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา) สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ[6]
- พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน เป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
งานสาธารณูปการ
- พ.ศ. 2545 ได้จัดตั้งกองทุนนิธิธรรมฐิติญาณอนุสรณ์ เป็นกองทุนการศึกษาให้แก่คณะสงฆ์ในการศึกษาพระธรรมวินัย[7]
รางวัลเกียรติคุณ
- พ.ศ. 2510 ได้รับเกียรติบัตรในด้านเผยแผ่ธรรมดีเด่น จากนายกยุวพุทธิกสมาคมร้อยเอ็ด[8]
- พ.ศ. 2527 ได้รับพัดการพัฒนาด้านการพัฒนาวัด จากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
- พ.ศ. 2533 ได้รับพระราชทานเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะบุคคลผู้ทำประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาการจัดการพระปริยัติธรรมดีเด่น
- พ.ศ. 2533 ได้รับเกียรติบัตร "การส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศ" จากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
- พ.ศ. 2534 ได้รับเกียรติบัตร "การแผยแพร่ธรรมดี" จากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
- พ.ศ. 2534 ได้รับเกียรติบัตร "ช่วยเหลือการศึกษา" จากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด
- พ.ศ. 2534 ได้รับคัดเลือกประกาศเกียรติคุณบัตรเป็น "ผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือการศึกษาดีเด่น" จากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด
- พ.ศ. 2537 คุรุสภามหาวิทยาลัยมหาสารคามมีมติถวายประกาศเกียรติคุณบัตรเชิดชูเกียรติคุณ ครูดีของสังคม
- พ.ศ. 2538 ได้รับเกียรติบัตร "ปฏิบัติศานกิจมีมากในด้านการศึกษา" จากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
- พ.ศ. 2538 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มีมติให้ถวายปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา
- พ.ศ. 2539-2544 ได้รับเกียรติบัตร "ปฏิบัติศานกิจมีมากในด้านกการเผยแผ่พระพุทธศาสนา" จากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
- พ.ศ. 2545 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมีมติให้ถวายปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสตร์[9]
- พ.ศ. 2565 ได้รับพระราชทานรางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ ประเภทบุคคลดีเด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาขาบำเพ็ญประโยชน์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี 2565 จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[10]
ลำดับสมณศักดิ์
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2511 เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูสิริธรรมโสภิต
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก เจ้าคณะจังหวัด ที่ พระศีลวิสุทธาจารย์ ศาสนภารวิศิษฏ์ ธรรมิกคณิสสร[11]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2533 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสารสุธี ศรีธรรมสุนทรภาษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[12]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพบัณฑิต วิจิตรธรรมภาณี ศรีปริยัติวราภรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[13]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมฐิติญาณ ปฏิภาณธรรมวาที ศรีปริยัติโสภณ โกศลวิหารกิจ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[14]
- 29 มีนาคม พ.ศ. 2564 สถาปนาขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวชิรโสภณ วิมลศีลาจารนิวิฐ วิจิตรธรรมปฏิภาณ โกศลศาสนกิจบริหาร ปริยัติภารธุราทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[15]
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.