Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระนางชอริน (27 เมษายน ค.ศ. 1837 - 12 มิถุนายน ค.ศ. 1878[5]) รู้จักกันในพระนาม พระพันปีมย็องซุน (명순대비) สมเด็จพระราชินีแห่งอาณาจักรโชซ็อน พระมเหสีของพระเจ้าช็อลจง กษัตริย์ลำดับที่ 25 ของโชซ็อน
พระนางชอริน 철인왕후 哲仁王后 | |||||
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีแห่งโชซ็อน (วังบี) | |||||
ดำรงตำแหน่ง | 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1851 – 16 มกราคม ค.ศ. 1864 | ||||
ก่อนหน้า | พระนางฮโยจ็อง | ||||
ถัดไป | สมเด็จพระราชินีมย็องซ็อง | ||||
วังแทบี พระพันปีหลวงแห่งโชซ็อน | |||||
ดำรงตำแหน่ง | 16 มกราคม ค.ศ. 1864 – 12 มิถุนายน ค.ศ. 1878 | ||||
ก่อนหน้า | พระพันปีหลวงมย็องฮ็อน | ||||
ถัดไป | ไม่มี | ||||
พระราชสมภพ | 27 เมษายน ค.ศ. 1837 อำเภอ Sunhwa-bang,[1][2] ฮันซ็อง อาณาจักรโชซ็อน | ||||
สวรรคต | 12 มิถุนายน ค.ศ. 1878 ปี) พระตำหนักยังฮวาดัง,[3] พระราชวังชังกย็อง อาณาจักรโชซ็อน | (41||||
ฝังพระศพ | พระราชสุสานเยลึง, หมู่พระราชสุสานซอซัมลึง, โกยาง, จังหวัดคย็องกี | ||||
พระราชสวามี | พระเจ้าช็อลจง (สมรส ค.ศ. 1851–1864) | ||||
พระราชบุตร | Yi Yung-jun[4] | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | คิมแห่งอันดง | ||||
พระราชบิดา | คิม มุน-กึน | ||||
พระราชมารดา | ท่านผู้หญิงฮึงยัง จากตระกูลมินแห่งยอฮึง |
บทความนี้อักษรเกาหลีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถามหรือสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลอักษรฮันกึลและอักษรฮันจาได้อย่างถูกต้อง |
พระนางชอริน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ.1837 เป็นธิดาคนโตสุดของ คิม มุน-กึน (ฮันกึล: 김문근, ฮันจา: 金汶根) และท่านผู้หญิงฮึงยัง จากตระกูลมินแห่งยอฮึง ภริยาคนที่สองของ คิม มุน-กึน
พระนางชอรินได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าช็อลจง ในวันที่ 17 พฤษจิกายน ค.ศ. 1851 เมื่อพระชนมายุ 24 พรรษา ในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1858 พระนางชอรินได้ให้ประสูติพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวของพระเจ้าช็อลจงนามว่า ลี ยุง-จุน ที่พระราชวังชังด็อก พระราชโอรสเกิดมาดูแข็งแรงไม่เจ็บปวด แต่พระราชโอรสกลับสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันไปในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ด้วยพระชันษาเพียง 6 เดือนเท่านั้น วันต่อมา พระราชาได้ประกาศว่าพระราชโอรสสิ้นพระชนม์แล้ว และได้สั่งเหล่าทหารให้ไปร่วมงานพระศพพระราชโอรส
ในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1864 พระเจ้าช็อลจงเสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท ซึ่งในขณะดังกล่าวกลุ่มอันดง คิม เป็นกลุ่มที่ทรงอำนาจทางการเมืองมากที่สุด ซึ่งได้มาจากการสมรสกับราชวงศ์ลี การเลือกกษัตริย์พระองค์ต่อไปอยู้ในอำนาจของพระมเหสีหม้ายสามพระองค์ คือ พระนางซินจ็อง พระพันปีหลวง พระราชมารดาของพระเจ้าฮ็อนจง, พระนางฮโยจ็อง พระพันปีหลวง พระมเหสีของพระเจ้าฮ็อนจง และพระราชินีซอริน พระมเหสีของพระเจ้าช็อลจง แต่ผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตามธรรมเนียมที่แท้จริงคือ พระนางซินจ็อง พระพันปีหลวง เนื่องจากเป็นพระพันปีหลวงที่มีอาวุโสสูงสุด ซึ่งมาจากกลุ่มพุงยัง โจ และเป็นกลุ่มที่เป็นศัตรูทางการเมืองของพระนางชอริน ที่อยู่ในกลุ่มอันดง คิม
ในขณะที่พระราชินีชอริน เป็นพระมเหสีของพระเจ้าช็อลจง และเป็นสมาชิกของกลุ่มอันดง คิม ก็ได้กล่าวอ้างสิทธิที่จะเลือกกษัตริย์พระองค์ต่อไป ถึงแม้ธรรมเนียม พระพันปีหลวงที่มีอาวุโสสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวที่จะมีสิทธิเลือกกษัตริย์พระองค์ต่อไป ซึ่งพระนางซินจ็อง พระพันปีหลวง ถือสิทธิดังกล่าวอยู่
ในขณะที่พระเจ้าช็อลจงประชวรหนัก ลี ฮา-อึง ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก พระเจ้าอินโจ ซึ่งพระบิดาของเขาเป็นบุตรบุญธรรมขององค์ชายอึนซิน พระราชนัดดาของพระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อน ได้เข้าหาทางพระนางซินจ็อง ซึ่งสาขาสกุลของ ลี ฮา-ฮึง ก็ได้อยู่ในสายที่จะสืบราชสมบัติได้ และเป็นสายที่อยู่รอดจากวิกฤติทางการเมืองในขณะนั้น และไม่ได้สร้างความขัดแย้งกับผู้ใด แต่ตัว ลี ฮา-อึง ก็ไม่มีสิทธิขึ้นครองราชสมบัติตามกฎมณเฑียรบาล ซึ่งกำหนดไว้ว่า ผู้ที่จะเป็นรัชทายาทสืบต่อราชสมบัติจากกษัตริย์พระองค์ก่อนต้องเป็นบุคคลรุ่นหลังจากกษัตริย์พระองค์ก่อน ทำให้ ลี อย็อง-บ๊ก โอรสของ ลี ฮา-อึง ซึ่งเป็นบุคคลรุ่นหลังพระเจ้าช็อลจง มีสิทธิที่จะสืบราชสมบัติ
พระนางซินจ็อง แห่งกลุ่มพุงยัง โจ มองเห็นว่าอี มย็อง-บก ซึ่งขณะนั้นอายุ 12 พรรษา ไม่สามารถที่จะบริหารราชการด้วยพระองค์เองจนกระทั่งถึงอายุที่เหมาะสม และกลุ่มพุงยัง โจ หวังว่าจะใช้อิทธิพลของตนผ่าน ลี ฮา-อึง ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อ ลี ม็อง-บก ขึ้นครองราชย์ ในไม่ช้าข่าวการสวรรคตของพระเจ้าช็อลจง ก็มาถึงหู ลี ฮา-อึง จากสายลับของตนอยู่ในวัง จากนั้น ลี ฮา-อึง และกลุ่มพุงยัง โจ ก็ได้เข้าครอบครองตราประทับของราชวงศ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตามกฎหมายโดยชอบธรรม ถ้าผู้มีไว้ในครอบครองจะได้รับความชอบธรรมและการยอมรับจากกลุ่มชนชั้นสูง ซึ่งมีอำนาจอย่างเด็กขาดที่จะเลือกกษัตริย์พระองค์ต่อไป ในเวลาที่พระเจ้าช็อลจงสวรรคต ตราประทับอยู่กับพระนางซินจ็อง ทำให้อำนาจโดยชอบธรรมที่จะเลือกกษัตริย์องค์ต่อไปของพระนางซอริน และกลุ่มอันดง คิม หมดลง
ในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1864 ลี มย็อง-บก ได้รับการสถาปนาเป็นองค์ชายอิ๊กซ็อง โดยพระนางซินจ็อง วันต่อมา ลี ฮา-อึง ได้รับการสถาปนาเป็น แทว็อนกุนฮึงซ็อน ต่อมาในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1864 องค์ชายอิ๊กซ็อง ได้ขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าโกจง และพระนางซินจ็อง ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดย ลี มย็อง-บก ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์ด้วยเหตุผลว่า "เป็นทายาทสืบหลายโลหิตของสกุลลี ที่ยังมีชีวิตอยู่และเหมาะสม ประกอบกับมีสายโลหิตใกล้ชิดกับราชวงศ์"
ในขณะที่พระเจ้าโกจงยังทรงพระเยาว์ พระนางซินจ็องได้เชิญให้แดว็อนกุนมาเป็นผู้ช่วยเหลือพระเจ้าโกจงบริหารราชการแผ่นดิน ต่อมาพระนางซินจ็องได้สละสิทธิที่จะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คงเหลือไว้แต่เพียงตำแหน่งเท่านั้น
พระนางชอริน สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1878 ที่พระราชวังคย็องบก อาณาจักรโชซ็อน ทรงมีพระชนมายุเพียง 41 พรรษา พระศพถูกนำไปฝังที่สุสานหลวงราชวงศ์โชซ็อน สุสานซอซัมนัง พระราชสุสานเยลึง เคียงคู่กับพระเจ้าช็อลจง
2001; Empress Myeongseong (เมียงซอง จักรพรรดินีที่โลกลืม) แสดงโดย ยู ฮเย-ย็อง
2020; Mr.Queen (รักวุ่นวาย นายมเหสีหลงยุค) แสดงโดย ชิน ฮเย-ซ็อน
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.