Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พยาธิปากขอ (อังกฤษ: hookworm) เป็นพยาธิในลำไส้ กินเลือดเป็นอาหาร เป็นหนอนตัวกลมที่ทำให้เกิดการติดเชื้อชนิดที่เรียกว่า helminthiasis ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่พบได้บ่อยในสถานที่ที่มีระบบประปาไม่สะอาด การสุขาภิบาลและสุขอนามัยไม่เพียงพอ[1] ในมนุษย์ โรคติดเชื้อจากพยาธิปากขอเกิดจากพยาธิตัวกลมสองชนิดหลักซึ่งอยู่ในสกุล Ancylostoma และ Necator ในสัตว์อื่น ๆ สปีชีส์ที่เป็นปรสิตอยู่ในสกุล Ancylostoma
พยาธิปากขอที่ก่อโรคในมนุษย์ที่พบบ่อยสุดคือ Ancylostoma duodenale และ Necator americanus
พยาธิปากขอชนิดพบได้บ่อยในแมวบ้าน ได้แก่ Ancylostoma braziliense และ Ancylostoma tubaeforme สำหรับในแมวป่าคือ Ancylostoma pluridentatum
สุนัขมักติดเชื้อจาก Ancylostoma caninum
พยาธิปากขอสองชนิดที่ก่อโรคในมนุษย์มีสัณฐานที่คล้ายคลึงกัน A. duodenale มีสีเทาซีดหรือไปทางชมพู ส่วนหัวงอเล็กน้อยเมื่อเทียบกับส่วนที่เหลือของลำตัว ทำให้มีรูปร่างคล้ายตะขอ ส่วนหัวมีปากที่พัฒนามาเป็นอย่างดีและมีฟันสองคู่ ตัวผู้มีขนาดตั้งแต่ประมาณ 1 เซนติเมตรถึง 0.5 มิลลิเมตร ส่วนตัวเมียมักจะยาวและหนากว่า ตัวผู้ยังมี copulatory bursa ที่โดดเด่นทางส่วนท้ายของลำตัว[2]
N. Americanus โดยทั่วไปมีขนาดเล็กกว่า A. duodenale โดยตัวผู้ยาว 5 ถึง 9 มม. และตัวเมียยาวประมาณ 1 ซม. ปากของ N. Americanus มีวิวัฒนาการสูงกว่าและมีแผ่นตัดหนึ่งคู่ใน buccal capsule แทนที่จะเป็นฟันสองคู่เช่นใน A. duodenale[2]
โฮสต์ติดเชื้อจากตัวอ่อนทางผิวหนัง ตัวอ่อนของพยาธิปากขอต้องการดินที่อบอุ่น (สูงกว่า 18 ° C ในการฟักตัว) และมีความชื้น พยาธิปากขอตายได้ถ้าโดนแสงแดดโดยตรงหรือตัวแห้ง ตัวอ่อนของ Necator สามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิที่สูงกว่าตัวอ่อนของ Ancylostoma
ตัวอ่อนระยะแรก (First stage larvae, L1) ไม่สามารถก่อโรคได้ เมื่อฟักเป็นตัวจากในอุจจาระที่ถูกขับออกจะกินจุลินทรีย์ในดินจนกว่าจะลอกคราบเป็นตัวอ่อนระยะที่สอง (L2)[3] ตัวอ่อนระยะแรกและระยะที่สองจัดอยู่ในระยะ rhabditiform หลังจากอยู่ในระยะที่สองประมาณ 7 วันจะลอกคราบเป็นตัวอ่อนระยะที่สาม (L3) เรียกว่าระยะฟิลาริฟอร์ม (filariform stage) ซึ่งเป็นระยะติดต่อ (infective stage) ที่พยาธิจะไม่กินอาหาร ตัวอ่อนระยะฟิลาริฟอร์มสามารถอยู่รอดได้นานถึงสองสัปดาห์ มีการเคลื่อนไหวดีมากและจะย้ายไปอยู่บนที่สูง (เช่นใบหญ้า) เพื่อเพิ่มโอกาสในการหาโฮสต์ ตัวอ่อนของ N. Americanus สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางผิวหนังเท่านั้น แต่ A. duodenale สามารถเข้าสู่ร่างกายทางปากได้ เส้นทาง (route) ทั่วไปที่ตัวอ่อนเข้าสู่ร่างกายคือผิวหนังของผู้ที่เดินเท้าเปล่า เมื่อตัวอ่อนเข้าสู่โฮสต์แล้วจะเดินทางจาก ระบบไหลเวียนไปยังปอดที่ซึ่งพยาธิจะออกจากเวนูลและเข้าสู่อัลวิโอไล จากนั้นจึงเดินทางไปที่หลอดลม เมื่อเกิดการไอ พยาธิจะเดินทางผ่านสู่หลอดอาหารและเข้าสู่ลำไส้เล็ก ที่ซึ่งตัวอ่อนลอกคราบเข้าสู่ระยะที่สี่ (L4) ใช้เวลาประมาณห้าถึงเก้าสัปดาห์นับตั้งแต่เข้าสู่ร่างกาย[4][5]
Necator americanus สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อยาวนาน (prolonged infection) ตั้งแต่หนึ่งถึงห้าปี โดยหนอนจำนวนมากตายตั้งแต่ปีแรกหรือปีที่สอง มีบันทึกว่าหนอนบางตัวมีชีวิตอยู่เป็นเวลาสิบห้าปีหรือมากกว่า Ancyclostoma duodenale มีอายุขัยประมาณหกเดือน อย่างไรก็ตามตัวอ่อนสามารถอยู่ในระยะพักตัวในเนื้อเยื่อและมีการฟื้นฟูตัวเองตลอดช่วงหลายปีเพื่อทดแทนพยาธิที่ตายไป
พยาธิปากขอผสมพันธุ์ภายในโฮสต์และตัวเมียจะวางไข่เพื่อส่งออกไปในอุจจาระของโฮสต์ซึ่งจะถูกขับออกสู่สิ่งแวดล้อมเพื่อเริ่มวงจรชีวิตอีกครั้ง N. Americanus สามารถวางไข่ได้ระหว่างเก้าพันถึงหนึ่งหมื่นฟองต่อวัน และ A. duodenale ระหว่างสองหมื่นห้าพันถึงสามหมื่นฟองต่อวัน ไข่ของทั้งสองสปีชีส์มีลักษณะคล้ายกันมากจนไม่สามารถจำแนกได้
พยาธิปากขอใช้เวลาห้าถึงเจ็ดสัปดาห์ในการเจริญเติบโต อาการของการติดเชื้อจึงปรากฏ จากนั้นจะพบไข่ของพยาธิในอุจจาระ ระยะเวลาและอาการที่ค่อย ๆ ปรากฏทำให้วินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิปากขอได้ยาก
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.